สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

Tics ลักษณะทางคลินิก

ชักกระตุก
ลักษณะทางคลินิก
อาการกระตุกซ้ำๆ ของกล้ามเนื้อใดกล้ามเนื้อหนึ่ง หรือหลายๆ กล้ามเนื้อที่บริเวณตา หน้า คอ ไหล่ หรือแขนขา ขณะมีอาการกระตุกเด็กสามารถบังคับให้อาการหยุดชั่วขณะได้ อาการเป็นมากขึ้นในเวลาที่เด็กตื่นเต้นหรือวิตกกังวล แต่เวลานอนหลับต้องไม่มีอาการ

ต้องแยกจากโรคกระตุกอื่นๆ เช่น focal seizure, chorea, myoclonic jerk, dystonia เป็นต้น แยกจากกันได้โดยที่โรคอื่นๆ เหล่านี้เด็กไม่ สามารถบังคับให้อาการหยุดชั่วขณะได้

สาเหตุ
1. ความวิตกกังวล หรือความเครียด
2. Dopaminergic supersensitivity

การรักษา
1. อธิบายให้พ่อแม่และเด็กรู้ว่าโรคนี้ไม่มีอันตรายต่อชีวิต และบางคนอาจหายเองได้

2. แนะนำให้พ่อแม่หรือคนใกล้ชิดอย่าเพ่งเล็งอาการกระตุกของเด็ก หรือตำหนิ หรือดุว่าเด็กเรื่องอาการกระตุก แต่ให้สนใจตัวเด็กหรือทุกข์สุขของเด็กเพิ่มขึ้น

3.พยายามค้นหาดูว่า มีเรื่องเครียดในตัวเด็ก หรือสภาพแวดล้อมหรือไม่ แล้วลองแก้ไขดู

4. ในรายที่มีอาการกระตุกมากอาจต้องใช้ยา haloperidol หรือ
clonidine และทำจิตบำบัดร่วมด้วย

ที่มา:ปิยาณี  ชัยวัฒนพงศ์
ชาญวิทย์  เงินศรีตระกูล

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า