สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

Hyperventilation syndrome

Hyperventilation syndrome
ลักษณะทางคลินิก
ผู้ป่วยรู้สึกเหนื่อย แน่น หายใจขัด เวียนศีรษะ ตาลาย ปวดเกร็งกล้ามเนื้อ ชาตามแขนขา และมีอาการหายใจลึกและเร็ว หรือมีอาการ เป็นลม หรือนิ้วมือนิ้วเท้าจีบเข้าหากัน

ในรายที่มาด้วยอาการเป็นลม แต่ผู้ป่วยปฏิเสธอาการหายใจลึกและเร็ว ถ้าสงสัยว่าเป็น Hyperventilation syndrome หรือไม่ อาจให้ผู้ป่วยหายใจลึกๆ เร็วๆ ประมาณ 2-3 นาที ถ้าเกิดความรู้สึกต่างๆ ข้างต้น และมีอาการเป็นลมด้วยแสดงว่าเป็น Hyperventilation syndrome

การวินิจฉัยแยกโรค   ต้องแยกจากโรคทางกายอื่นๆ ดังนี้

-โรคปอด เช่น หืด การฟังปอดขณะหอบจะช่วยแยกโรคได้ชัดเจน

-ในรายที่มาด้วยอาการเป็นลม ต้องแยกจากโรคชัก hypoglycemia, vasodepressor syncope, Adams-stokes syndrome และ paroxysmal arrhythmia การซักประวัติละเอียด หรือการให้ผู้ป่วย hyperventilate ดูหรือตรวจ EKG, EEG จะช่วยแยกโรคได้

-ในรายที่มาด้วยอาการชา ต้องแยกจากโรค hypoparathyroid หรือ peripheral neuropathy ซึ่งพวกนี้มักจะชาตลอดเวลาและไม่มีอาการ
อื่นๆ ของ Hyperventilation syndrome

สาเหตุ
ความวิตกกังวลหรือความกลัว ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกแน่น หายใจขัด พยายามหายใจแรงขึ้น มากขึ้น เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีระคือ respiratory alkalosis (เนื่องจากร่างกายขับคาร์บอนไดออกไซด์ออกทางการหายใจหอบ) ทำให้มี vasocon¬striction ที่สมอง เกิดอาการ เวียนศีรษะ ตาลายหรือเป็นลม และ ionized cal¬cium ในพลาสม่าลดลงเกิดอาการชา หรือนิ้วมือนิ้วเท้าจีบ

การรักษา

1. ขณะมีอาการ hyperventilate ให้ผู้ป่วยหายใจในถุงที่เจาะรูที่ก้นถุง เพื่อแก้ไขสภาพ respiratory alkalosis ก่อน ผู้ป่วยจะสงบลง และสมองเริ่มรับรู้ หรือรับฟังมากขึ้น

2. อธิบายให้ผู้ป่วยและผู้ใกล้ชิดเข้าใจว่า ความรู้สึกหรืออาการต่างๆ เกิดจากการหายใจลึกและเร็วของผู้ป่วย เพื่อยืนยันคำพูดของแพทย์อาจให้ผู้ป่วยหายใจลึกๆ เร็วๆ สัก 2-3 นาทีดู

3. แนะนำวิธีแก้ไขขณะเกิดอาการหอบ โดยพยายามหายใจช้าลงหรือหายใจในถุงดังข้อ 1 และให้ผู้ป่วยกระทำเช่นนี้ทุกครั้งที่มีอาการ ผู้ป่วยจะรู้สึกมั่นใจขึ้นที่ตนเองสามารถควบคุมสถานการณ์ได้

4. แก้ไขความวิตกกังวล หรือความขัดแย้งภายในจิตใจ โดยวิธีจิตบำบัด

5. ในรายที่มีอาการมาก การฉีด Diazepam IV ช้าๆ จะช่วยลดอาการ ลงได้ แต่น่าจะใช้วิธีการข้อ 1-4  มากกว่า เพื่อว่าผู้ป่วยจะได้ไม่พึ่งการฉีดยาทุกครั้งที่มีอาการ

ที่มา:ปิยาณี  ชัยวัฒนพงศ์
ชาญวิทย์  เงินศรีตระกูล

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า