สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

Acute poststreptococcal glomerulonephritis

Acute poststreptococcal glomerulonephritis
เป็น acute glomerulonephritis (AGN) ที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก เกิดจาก immune complex mechanism ของร่างกายต่อเชื้อ group A beta-hemolytic streptococcus ชนิดที่พบบ่อยในการติดเชื้อที่ pharynx คือ Type 12 และของการติดเชื้อที่ผิวหนังคือ Type 49 โดยมีระยะเวลาตั้งแต่รับเชื้อจนแสดงอาการ (latent period) ประมาณ 1-3 สัปดาห์ ถ้า latent period น้อยกว่า 4 วันหรือมากกว่า 4 สัปดาห์ควรคิดถึงโรคอื่น

อาการทางคลินิก
การเจ็บป่วยมักเกิดในเด็กอายุประมาณ 3-7 ปี โดยมีประวัติการเจ็บป่วยเป็นครั้งแรก ไม่มีประวัติทางกรรมพันธุ์ มี sudden onset ของอาการของ acute nephritic syndrome คือ บวมตึงทั่วตัวแบบกดไม่บุ๋ม ปัสสาวะเป็นเลือด หรือสีน้ำล้างเนื้อ ปริมาณปัสสาวะลดลง ความดันโลหิตสูง อาจตรวจพบอาการแทรกซ้อนคือ ไตวาย เฉียบพลัน หัวใจวายและปอดบวมน้ำ หรือความดันโลหิตสูงมาก อาการต่างๆ จะรุนแรง ภายใน 4-10 วัน และจะเป็นอยู่ไม่เกิน 1-2 สัปดาห์

สรุปอาการและอาการแสดงของ Poststreptococcal  AGN

Common
Hematuria (microscopic or macroscopic)
Edema
Hypertension
Oliguria

Freguent
Circulatory congestion : pulmonary edema, dyspnea, cough Pallor

Variable
Encephalopathy : confusion, headache, somnolence, convulsions

Systemic symptoms : mild fever, nausea, abdominal
pain
No symptoms

Uncommon
Anuria and renal failure

หลักในการวินิจฉัย Poststreptococcal  AGN
1. มีอาการและอาการแสดงของ Acute nephritic syndrome
2. มีหลักฐานของการติดเชื้อ group A beta-hemolytic strepto-coccus (nephritogenic strain) โดยการเพาะได้เชื้อในคอหรือแผลที่ผิวหนัง หรือการพบมีค่า Antibody titer ต่อ exoenzyme ของ streptococcus สูงขึ้นเช่น antistreptolysin (ASO), anti-streptokinase (ASK), anti-deoxyribonuclease B (anti-DNase B) เป็นต้น ร่วมกับมี latent period ที่เหมาะสม
3. มีหลักฐานแสดง immune complex mechanism โดยตรวจพบระดับ C3 ในเลือดต่ำ

การวินิจฉัยแยกโรค ต้องแยกจาก
1. Nephrotic syndrome
2. Acute glomerulonephritis จากการติดเชื้อชนิดอื่น จากยาหรือ
จาก toxins
3. Acute exacerbation ของ chronic glomerulonephritis
4. Henoch-Schonlein nephritis
5. Lupus nephritis
6. Rapidly progressive glomerulonephritis
7. สาเหตุของ hematuria อื่นๆ

การรักษา
เป็นโรคที่หายได้เองเป็นส่วนใหญ่ ให้การรักษาเฉพาะในช่วง acute phase เป็นสำคัญ โดยระวังอาการแทรกซ้อน โดยทั่วไปแพทย์ควรพิจารณารับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาลเมื่อ
1. มีภาวะ renal failure
2. ความดันโลหิตสูงมาก ตั้งแต่ระดับ moderate hypertension ขึ้น ไป หรือมีอาการของ hypertensive encephalopathy
3. มีอาการของภาวะหัวใจล้ม หรือ pulmonary edema
ซึ่งอาการที่รุนแรงต่างๆ เหล่านี้ มักตรวจพบในช่วงต้นของ acute phase (3-5 วันแรก)

การรักษาแบบผู้ป่วยนอก
ในช่วง acute phase แม้จะไม่มีอาการแทรกซ้อนที่รุนแรง ก็ควรนัด ผู้ป่วยมาตรวจดูทุก 1-2 วัน จนกว่าจะปกติ

1. การพักผ่อน ควรพักผ่อนจนกว่าอาการของ acute phase จะหายไป คือ อาการของการบวม, ปัสสาวะน้อย, ความดันโลหิตสูงและ gross hematuria เป็น เวลานานประมาณ 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้มีกิจกรรมได้เหมือนคนปกติ แต่ควรให้งดการออกกำลังกายหนักอย่างน้อย 1 ปี

2. อาหารและน้ำ ควรแนะนำให้ดื่มน้ำเพียงเล็กน้อย งดรับประทาน อาหารที่มีรสเค็ม และผลไม้ชั่วคราว ติดตามชั่งน้ำหนักทุกครั้งที่นัดมา

3. ยาปฏิชีวนะ ไม่มีผลต่อการดำเนินโรค ช่วยในการกำจัดเชื้อ strep¬tococcus ที่อาจคงเหลืออยู่ ยาที่แนะนำคือ เพนนิซิลลิน นาน 10 วัน

4. ลดภาวะความดันโลหิตสูง และภาวะ hypervolemia ใช้ยาขับ ปัสสาวะโดยใช้furosemide ในขนาด 1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม รับประทานวันละ 1-2 ครั้ง จนกว่าจะยุบบวมและความดันโลหิตเป็นปกติ มักไม่นานเกิน 1-2 สัปดาห์ ยาลดความดันโลหิตชนิดอื่นควรใช้เมื่อมีระดับความดันโลหิตในระดับตั้งแต่ moderate hyperten-sion ขึ้นไป ซึ่งต้องรับผู้ป่วยไว้ในโรงพยาบาล

หลังจากช่วง acute phase ควรนัดติดตามผู้ป่วยต่อไปทุก 1-3 เดือน เป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี

ที่มา:ศิริ  ขอประเสริฐ

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า