สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

โรคพิษไวนิลคลอไรด์โมโนเมอร์

โรคพิษไวนิลคลอไรด์โมโนเมอร์
(Vinyl Cide Monomer-VCMpoisoning)

โรคพิษไวนิลคลอไรด์โมโนเมอร์คืออะไร
โรคพิษไวนิลคลอไรด์โมโนเมอร์ เป็นโรคที่เกิดจากการที่ร่างกายได้รับสาร VCM หรือ Vinyl Chloride Monomer แล้วทำให้เกิดพิษตั้งแต่อาการป่วย ตั้งแต่เล็กน้อยได้แก่ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน เจ็บบริเวณท้องส่วนบน เจ็บที่ชายโครง หายใจติดขัด ตับอักเสบ ตับโตในบางรายกระดูกปลายนิ้วถูกทำลาย มีอาการเรโนด์ ซึ่งมีอาการชาที่นิ้ว กำไม่ค่อยได้ ปวดกระดูก เจ็บกล้ามเนื้อและรู้สึกเย็นที่เท้า อาการสเคอโรเดอม่า ซึ่งมีผิวหนังหนา มีเกร็ดเลือดต่ำ เลือดออกง่าย รู้สึกง่วงนอน กดประสาทส่วนกลาง ตามัว หูไม่ค่อยได้ยิน และในปริมาณมาก และการที่ได้รับในปริมาณน้อยแต่เป็นเวลานาน จะเกิดมะเร็งชนิดแองจิโอคาร์สิโนมาของตับ และเกิดมะเร็งปอด สมอง เนื้อเยื่อเกี่ยวพันสำหรับพิษเฉพาะที่ จะทำให้ผิวหนังอักเสบ และตาอักเสบ

ไวนิลคลอไรด์โมโนเมอร์คืออะไร
1. สูตรเคมี C H2 = CHCL

2. ชื่อสามัญ Chlorethene, Chlorethylene, Ethylene Monochloride Monochloroethene, Monochloroethylene.

3. คุณสมบัติทางกายภาพ  เป็นแกสไม่มีสี เป็นของเหลวเมื่อเก็บใต้ความกดดัน

4. ประโยชน์ใช้สอย  ใช้ในการผลิตใยสังเคราะห์ (Vinyl chloride resin) ใช้ในการผลิต Methyl chloroform ใช้ในการผลิตเรซิน ใช้เป็นส่วนผสมของสารไล่แมลง (Repellants) ใช้ผลิตพีวีซี

กลุ่มเสี่ยงต่อโรคพิษไวนิลคลอไรด์โมโนเมอร์
ได้แก่ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับการผลิต VCM หรือกระบวนการที่ให้ VCM ได้ เช่นผู้ทำงานล้างถังโพลีเมอไรเซชั่น เพื่อผลิตพีวีซี ผู้ทำงานเกี่ยวข้องกับพลาสติกบางกระบวนการ และอื่นๆ

ทางเข้าและออกของไวนิลคลอไรด์โมโนเมอร์
จะเข้าสู่ร่างรายโดยการหายใจเข้าไป และถูกกำจัดด้วยหายใจออกมาตามความสามารถของร่างกายบุคคลที่จะกำจัดวีซีเอ็มนั้นๆ

การป้องกันและควบคุมพิษไวนิลคลอไรด์โมโนเมอร์
ประกอบด้วยการมีแผนการผลิตที่ดี มีระบบกำจัดวีซีเอ็มที่ดี มีอุปกรณ์ป้องกันสุขภาพและให้มีการใช้อย่างถูกต้อง มีการให้ความรู้แก่ผู้ทำงานที่เกี่ยวข้องเรื่องพิษวีซีเอ็ม และการป้องกัน และมีการเฝ้าระวังปัญหาพิษวีซีเอ็มโดยต่อเนื่อง

ที่มา:แพทย์หญิงอรพรรณ์  เมธาดิลกกุล
ผู้อำนวยการหลักสูตรอบรมแพทย์อาชีวเวชศาสตร์

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า