สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

โลหิตจางจากภาวะขาดธาตุเหล็ก(Iron deficiency anemia)

การสร้างเม็ดเลือดแดงมีธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบสำคัญอันหนึ่ง ร่างกายจะสร้างเม็ดเลือดแดงได้น้อยกว่าที่มีความต้องการหากขาดธาตุเหล็ก และทำให้เกิดภาวะเลือดจาง เรียกว่า โลหิตจางจากภาวะขาดธาตุเหล็กโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก

ภาวะโลหิตจางเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของการเกิดโรคนี้ สามารถพบได้ในคนทุกวัย หรือหญิงวัยมีประจำเดือน หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ พบเป็นภาวะนี้มากในชาวชนบทและคนยากจน

สาเหตุ
1. ร่างกายขาดธาตุเหล็กจากการบริโภคอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ซึ่งในเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ นม ไข่ มีธาตุเหล็กมากกว่าในพืชผัก และลำไส้สามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่า หรืออาจได้รับธาตุเหล็กน้อยเกินไปจากการเจ็บป่วยเรื้อรังด้วยโรคอื่นๆ ทำให้เบื่ออาหาร หรือในผู้สูงอายุที่กินอาหารได้น้อยไม่ครบส่วน

อาจเกิดการขาดธาตุเหล็กได้ในผู้ที่บริโภคอาหารมังสวิรัติหรือแม็กโครไบโอติกส์อย่างเคร่งครัดและไม่ถูกหลักโภชนาการคือกินแต่พืชผักเป็นหลัก เนื่องจากลำไส้ดูดซึมธาตุเหล็กจากพืชผักเข้าสู่ร่างกายได้น้อย โดยเฉพาะจะมีสารไฟเทตที่ขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็กถ้ากินพร้อมๆ กับข้าว

มักจะเกิดภาวะโลหิตจางถ้าไม่ได้กินธาตุเหล็กเพิ่มขึ้นในเด็กวัย 2 ขวบแรก และเด็กวัยรุ่นที่อยู่ในช่วงกำลังเจริญเติบโต รวมทั้งหญิงตั้งครรภ์ที่ต้องการไปใช้ในการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

2. หญิงวัยรุ่นและวัยเจริญพันธุ์ที่มีประจำเดือนออกมาก เสียเลือดมากจากการแท้งบุตรหรือคลอดบุตร เลือดออกในกระเพาะอาหาร ริดสีดวงทวาร โรคพยาธิปากขอ อาจทำให้ร่างกายขาดธาตุเหล็กได้จากการเสียออกไปกับเลือด

อาการ
ผู้ป่วยมักจะมีอาการเบื่ออาหารซึ่งจะยิ่งทำให้ขาดธาตุเหล็กและทำให้ภาวะโลหิตจางยิ่งรุนแรงขึ้น มีอาการเหนื่อยง่าย ใจสั่น มึนงง หน้ามืด เวียนศีรษะ เป็นต้น

สิ่งตรวจพบ
มักพบผู้ป่วยมีใบหน้า เยื่อบุเปลือกตา ริมฝีปาก ลิ้น ฝ่ามือ และเล็บซีดขาว ถ้ามีอาการเรื้อรังจะทำให้เกิดอาการลิ้นเลี่ยน มุมปากเปื่อย เล็บอ่อนและแบน หรือเล็บเงยขึ้นมีแอ่งตรงกลางคล้ายช้อน เรียกว่า เล็บรูปช้อน หรือคอยโลนีเคีย

ภาวะแทรกซ้อน
นอกจากอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ทำงานได้ไม่เต็มที่ ความสามารถในการเรียนรู้ลดลงแล้ว ส่วนใหญ่จะไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง อาจทำให้ฟื้นตัวหายได้ช้าหากเกิดการเจ็บป่วยหรือมีบาดแผล ร่างกายอ่อนแอ เฉื่อยชา ภูมิคุ้มกันต่ำ ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจอยู่ก่อนหากมีภาวะโลหิตจางรุนแรงอาจทำให้โรคหัวใจขาดเลือด มีอาการกำเริบ หรือทำให้เกิดภาวะหัวใจวายได้

การรักษา
1. หากภาวะซีดไม่ได้เกิดจากสาเหตุที่ร้ายแรงอื่น ควรให้การรักษาด้วยยาบำรุงโลหิต เช่น เฟอร์รัสซัลเฟต หรือเฟอร์รัสฟูมาเรต ครั้งละ 1-2 เม็ด วันละ 2-3 ครั้ง นาน 1-2 สัปดาห์ เมื่อผู้ป่วยเริ่มดีขึ้นจะเบื่ออาหารน้อยลง ภาวะซีดน้อยลง มีเรี่ยวแรงมากขึ้น และควรให้ยาต่อไปอีก 1-2 เดือน จนกว่าระดับเฮโมโกลบินจะกลับสู่ภาวะปกติหายจากภาวะโลหิตจาง และควรกินยาต่อไปอีก 3-6 เดือน วันละ 1-2 เม็ด เพื่อให้ร่างกายมีธาตุเหล็กสะสมอย่างเพียงพอ ให้ทำการรักษาตามสาเหตุที่เกิดร่วมด้วยหากพบมีสาเหตุที่ชัดเจน เช่น รักษาโรคแผลเพ็ปติก ริดสีดวงทวาร หรือโรคพยาธิปากขอ

2. ควรไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจหาสาเหตุและให้การรักษาตามสาเหตุหากสงสัยว่าจะเกิดจากสาเหตุที่ร้ายแรง หรืออาการซีดไม่ดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์

ข้อแนะนำ
1. อาจให้การรักษาเบื้องต้นด้วยยาบำรุงโลหิตประมาณ 1-2 สัปดาห์ ในผู้ป่วยที่มีอาการซีด และไม่มีอาการตับโต ม้ามโต จุดแดงจ้ำเขียว ไม่มีประวัติซีดเหลืองมาตั้งแต่เกิดที่ชวนสงสัยว่าเป็นทาลัสซีเมีย โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีประจำเดือนออกมาก ผู้ที่กินเนื้อสัตว์ นม และไข่น้อย ซึ่งหลังได้รับยาตามกำหนดแล้วมีอาการดีขึ้นแสดงว่าเกิดจากการขาดธาตุเหล็ก

2. การตรวจร่างกายมักไม่พบอาการซีดชัดเจนในผู้ที่มีภาวะขาดธาตุเหล็กในระยะแรก บางรายอาจรู้สึกแข็งแรงดี หรือมีอาการเฉื่อยชา ไม่กระฉับกระเฉง มีความคิดอ่านช้าลง

ควรตรวจระดับเฮโมโกลบินในเลือด ถ้าพบว่าต่ำกว่า 12 กรัม/ดล
ควรให้กินยาบำรุงโลหิตเสริมและปรับการบริโภคอาหารให้เหมาะสมหากพบผู้ที่กินอาหารที่มีธาตุเหล็กน้อย หรือเมื่อตรวจเลือดแล้วพบว่าระดับเฟอร์ริทินต่ำ

การป้องกัน
สามารถป้องกันโรคโลหิตจางจากภาวะขาดธาตุเหล็กได้ด้วยการกินอาหารที่มีธาตุเหล็กให้มาก เช่น เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ เลือดหมู ไตหมู นม ไข่ และควรบำรุงอาหารเหล่านี้ให้มากในหญิงตั้งครรภ์ ทารก และวัยรุ่น

ภาวะซีดที่เกิดกับหญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีประจำเดือนออกมาก ในช่วงมีประจำเดือนควรให้กินยาบำรุงโลหิตวันละ 2-3 เม็ด นาน 1 สัปดาห์

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า