สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

โรคอิไตอิไต

ประเทศญี่ปุ่นภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองได้ฟื้นฟูประเทศทางด้าน เศรษฐกิจอย่างเร่งรีบ มีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อเพิ่มผลผลิตต่างๆ โดยเฉพาะทางด้านอุตสาหกรรม มาตรการด้านความปลอดภัยและการใช้ทรัพยากรในประเทศ ไม่ได้มีการตระหนักคำนึงถึงการก่อให้เกิดโรคจากสารพิษทั้งในคนที่เกี่ยวข้องและประชาชนมากมายหลายชนิด

ในช่วงเวลาหลังสงครามโลกครั้งนี้ ในบริเวณตอนล่างของแม่นํ้า Jintsu ที่ Toyama พบว่ามีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งมีอาการปวดตามข้อมือ ข้อศอก ข้อไหล่ ปวดหลัง ปวดเอว ปวดตามขาและตามข้อต่างๆ ทั้งร่างกาย เมื่อปวดนานๆ เข้า ตามข้อต่างๆ เริ่มมีรูปร่างผิดปกติ และกระดูกหักง่าย เป็นมากในผู้หญิงวัยกลางคน

จากการศึกษาวิจัยพบว่าตามแหล่งนํ้าและผลิตภัณฑ์จากท้องนามีสารแคดเมี่ยมปนเปื้อนอยู่ ซึ่งเกิดจากนํ้าเสียที่ซึมรั่วจากโรงงาน Kamioka ที่ถลุงแร่ทองแดง สังกะสี แคดเมี่ยม ตะกั่ว และแร่ธาตุอื่นๆ โรงงานนี้ตั้งอยู่ส่วนต้นของแม่นํ้า Jintsu มีคนป่วยตายจากโรคนี้ 118 คน จากคนป่วยทั้งสิ้นเท่าที่รู้อย่างเป็นทางการจำนวน 143 คน กระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่นได้กล่าวอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1968 ว่าโรคอิไต-อิไต หรือเรียกว่า Ouch-Och Disease เป็นโรคกระดูกอ่อน เนื่องมาจากเกิดพิษเรื้อรังจากสารแคดเมียมที่เกิดพยาธิสภาพที่ไตของผู้ป่วย เป็นผลให้ร่างกายขาดแคลเซียม ภาวะโภชนาการการตั้งครรภ์ และภาวะสูงอายุทำให้ร่างกายขาดแคลเซียมด้วย นอกจากนี้แคดเมี่ยมยังเข้าแทนธาตุสังกะสีในเอ็นไซม์ต่างๆ ในร่างกายด้วย

มี 12 อำเภอ ในประเทศญี่ปุ่นที่เกิดเหตุการณ์แบบนี้ ทางรัฐบาลได้ทำการฟื้นฟูสภาพดินที่ปนเปื้อนสารแคดเมียม ซึ่งเป็นอุทาหรณ์อันหนึ่งที่ความเจริญทางด้านอุตสาหกรรมโดยปราศจากการควบคุมดูแลและมีมาตรการด้านความปลอดภัยและการใช้ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมแล้ว ผล เสียก็จะตกอยู่กับคนในชาตินั่นเอง เนื่องจากสารพิษนี้ออกมาจากโรงงานอุตสาหกรรมปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมและเข้าสู่คนและสัตว์ได้

ที่มา:นายแพทย์วิวัฒน์ เธียระวิบูลย์ M.D., MPH.
ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชกรรมป้องกัน
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า