สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

โรคพิษโทลูอีน และการป้องกัน

โรคพิษโทลูอีน คืออะไร
โรคพิษโทลูอีน เป็นโรคที่เกิดจากร่างกายได้รับโทลูอีน (Toluene) เข้าสู่ร่างกาย แล้วเกิดพิษในการกดสมอง มีอาการปวดหัว มึนงง วิงเวียน อ่อนเปลี้ย ไม่มีกำลัง ง่วง เดินเซ การทรงตัวไม่ได้ ถ้าได้รับไม่มากจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองตา ระบบทางเดินหายใจและผิวหนังทำให้ผิวหนังอักเสบได้ ถ้าได้รับไปนานๆ จะเกิดโรคสมองส่วนกลางเสื่อม เกิดการเสพติดได้ ทำให้เกิดอารมณ์เคลิบเคลิ้มและทำให้ไตอักเสบได้

โทลูอีนคืออะไร
โทลูอีนเป็นสารที่มีสูตรทางเคมี C6H6CH3 เป็นของเหลวใสไม่มีสี ไม่มีฤทธิ์กัดกร่อน มีกลิ่นหอมฉุนเล็กน้อย คล้ายกลิ่นของเบนซีน ระเหยง่าย และไวไฟ มีคุณสมบัติเป็นตัวทำละลายที่ดี

โทลูอีนมีที่ใช้อย่างไร
โทลูอีน เป็นสารอุตสาหกรรมต่างๆ มากได้แก่
-สารละลายสำหรับน้ำมัน
-ยางธรรมชาติ
-นํ้ามันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบิน
-ยางสังเคราะห์
-น้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์บางชนิด
-ผลิตฟีนอล
-ผลิตโทลูอีนไดไอโซไซยาเนท
-ผลิตกรด เบนโซอิค
-ใช้เป็นทินเนอร์
-ผลิตซัคคาริน
-ทาสี พ่นสี
-ผลิตสารประกอบทางเคมีอื่นๆ
-ใช้ผลิตเบนซีน
-ผลิตหัวน้ำหอม

กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคพิษโทลูอีน
ได้แก่ผู้ทำงานในอุตสาหกรรมที่ใช้โทลูอีน ได้แก่ ช่างสี ช่างเครื่องยนต์ของรถยนต์ หรือเครื่องบินที่มีการใช้โทลูอีน เป็นส่วนประกอบของน้ำมันเชื้อเพลิง ผู้ทำงานผลิตซัคคาริน ผู้ทำงานผลิตหัวนํ้าหอม ผู้ทำ
งานผลิตยาง และอื่นๆ ที่ใช้โทลูอีน

โทลูอีน เข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร
โทลูอีน เข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจ เอาไอระเหยและการซึมผ่านทางผิวหนัง

การควบคุมป้องกันโรคพิษโทลูอีน

1. มีการให้ความรู้หรือผู้ที่เกี่ยวข้องควรรู้เกี่ยวกับพิษของสารโทลูอีนและวิธีป้องกัน

2. แหล่ง เก็บโทลูอีนควรเป็นที่ปลอดภัย มีป้ายบอกชื่อและเตือนภัยชัด เจน

3. มีระบบกำจัดไอระเหยของโทลูอีนแบบเฉพาะที่หรือที่ถูกต้อง

4. มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันตัว เช่น หน้ากากที่รับรองแล้ว หรือชุดปฏิบัติงานที่เหมาะสม

5. มีอนามัยส่วนบุคคลที่ดี ได้แก่การเปลี่ยนชุดปฏิบัติงาน ล้างมือ อาบน้ำ สระผม กรณีทำงาน หรือสัมผัสกับโทลูอีน

6. การตรวจสุขภาพ เพื่อค้นพบโรคโทลูอีน ในผู้ทำงานที่สัมผัสกับ โทลูอีนเป็นประจำ

ที่มา:พญ.อรพรรณ์  เมธาดิลกกุล
สำนักงานอาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อม

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า