สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

โรคพิษอนิลีนและการป้องกัน

โรคพิษอนิลีนคืออะไร
เป็นโรคพิษจากการที่ร่างกายได้รับสารอนิลีนเข้าไปทำแล้วทำให้เกิด เมธฮีโมโกลบิน ซึ่งไม่สามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายได้ปกติ ทำให้ร่างกายเกิดภาวะขาดออกซิเจน

อนิลีนคืออะไร

Aniline มีสูตร C6H 5N H2 เป็นของเหลวไม่มีสีระเหยได้ ลักษณะคล้ายน้ำมัน และมีกลิ่น มีคุณสมบัติเป็นตัวทำละลายที่ดี

อนิลีนใช้ทำอะไร
อนิลีนถูกนำมาใช้ในการสังเคราะห์สี ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตยาง ยา หมึก น้ำยาล้างรูป เรซิน นํ้ามันวานิช นํ้าหอม ยาขัดรองเท้า สารเคมีสัง เคราะห์ ใช้เป็นตัวทำละลายสี และอื่นๆ

กลุ่มเสี่ยงต่อโรคพิษอนิลีน ได้แก่ ผู้ทำงานอุตสาหกรรมที่ใช้อนิลีน ดังนี้
-ผู้ผลิตสี
-ผู้ทำยาแก้ปวดชนิดอเซตานิลลิด
-ผู้ทำหมึก
-ผู้พิมพ์งาน ออฟเสท
-ผู้ทำน้ำหอม
-ผู้ทำน้ำยาล้างรูป
-ช่างพิมพ์
-ผู้ทำยาง
-ผู้ทำพลาสติก
-ผู้ทำยาฆ่าเชื้อโรค
-ผู้ผลิตเชื้อเพลิงใช้กับจรวด
-ผู้ทำน้ำมันวานิช
-อื่นๆ

อนิลีน เข้าสู่ร่างกายได้อย่างไร
อนิบีน เข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจ เอาไอระเหยของอนิลีน และการดูดซึมผ่านทางผิวหนัง

พิษอนิลีน
มีผลระคายเคืองต่อตา เมื่อเข้าสู่ร่างกายและดูดซึมสู่กระแสเลือดแล้วจะเปลี่ยนฮีโมโกลบิน เป็นเมธฮีโมโกลบิน (Methemagolbin) ทำให้ฮีโมโกลบินไม่สามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้เกิดภาวะขาดออกซิเจน มีอาการปวดหัว อ่อนเพลีย ง่วง กระสับกระส่าย หายใจลำบาก มีอาการเขียว หมดสติ และอาจเสียชีวิตได้

การป้องกันและควบคุม
1. มีการให้ความรู้หรือผู้ที่เกี่ยวข้องควรรู้ เกี่ยวกับพิษของอนิลีนและวิธีการป้องกัน

2. แหล่งเก็บอนิลีนควรเป็นที่ปลอดภัย มีป้ายบอกและเตือนภัยชัดเจน

3. มีระบบกำจัดไอระเหยของอนิลีนแบบเฉพาะที่หรือที่ถูกต้อง

4. มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันตัว เช่น หน้ากากที่รับรองแล้ว หรืชุดปฏิบัติงานที่เหมาะสม

5. มีอนามัยส่วนบุคคลที่ดี ได้แก่การเปลี่ยนชุดปฏิบัติงาน ล้างมือ อาบน้ำ สระผม และอื่นๆ

6. การตรวจสุขภาพเพื่อค้นพบโรคพิษอนิลีนในผู้ที่ทำงานสัมผัสกับอนิลีนเป็นประจำ

ที่มา:พญ.อรพรรณ์  เมธาดิลกกุล
สำนักงานอาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อม

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า