สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

โรคพิษตะกั่วเรื้อรังและเฉียบพลันในประเทศไทย

โรคพิษตะกั่ว เป็นปัญหาสุขภาพที่คุกคามมนุษย์มานานนับศตวรรษ พบได้มากในคนที่ทำงานสัมผัสกับตะกั่วโดยตรง เช่น การหลอมตะกั่ว เชื่อมตัดโลหะที่มีตะกั่วทาอยู่ในงานก่อสร้าง การรื้อเรือ การผลิตสีตะกั่ว การพ่นสี การซ่อมหม้อน้ำรถยนต์ การผลิตแบตเตอรี่ และอื่นๆ มีเพียงบางส่วนที่มีรายงานการเกิดโรคพิษตะกั่วในงานอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่นการทำเหมืองแร่ตะกั่ว การทำลูกปืน การทำท่อ และการหล่อโลหะชนิดอื่น สำหรับประเทศไทยซึ่งมีโรงงานทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กประมาณหนึ่งแสนแห่ง มีผู้อยู่ในวัยแรงงานประมาณเกือบ 30 ล้านคนนี้ มีกิจการที่เกี่ยวข้องกับโลหะทั้งทางตรงและทางอ้อม ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโลหะโดยตรงนั้นได้แก่การหลอม เหล็กและโลหะ การผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลคโทรนิคจากโลหะ การผลิตเครื่องประดับจากโลหะและอื่นๆ ในโลหะดังกล่าวตลอดจนกระบวนการผลิตนั้นพบมีการปนเปื้อนด้วยตะกั่วได้มากน้อยต่างกัน คนทำงานมากประกอบกับสิ่งแวดล้อมการทำงานที่ไม่ดีพอ และทำมาเป็น เวลานานก็นับได้ว่า เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคพิษตะกั่วได้ ถึงแม้ว่าจะไม่มีการผลิตแต่ได้ชื่อว่าทำงาน เกี่ยวข้องกับตะกั่วโดยตรงดังที่พบในผู้ทำงานอื่นๆ เช่น ทำสายเคเบิล ประกอบรถซ่อมรถ และหลอมโลหะ ดังที่มีรายงานในต่างประเทศ สำหรับประเทศไทยนั้น ปัญหานี้ยังไม่ครอบคลุม เพียงพอ ดังจะเห็นได้จากการที่ เข้าใจว่า ผู้ที่จะเป็นโรคพิษตะกั่วได้นั้นต้องทำงานเกี่ยวกับตะกั่วโดยตรงเท่านั้น เช่น หล่อตะกั่วทำแบตเตอรี่หรือทำเหมืองตะกั่ว แสดงถึงการขาดการวิเคราะห์ถึง องค์ประกอบของการสัมผัสโดยละเอียด เพราะตะกั่วนั้นมีอยู่ในสิ่งแวดล้อมของเราหลายรูปแบบทั้งที่ติดมากับอาหารนํ้าดื่ม นํ้ามัน เชื้อเพลิง สี ในบรรยากาศ เมืองที่การจราจรติดขัด และที่สำคัญคือการผลิตทางอุตสาหกรรมเกือบทุกชนิดที่มีการปนเปื้อนของตะกั่วในกระบวนการผลิตต่างๆ รวมทั้งวัตถุดิบด้วย ซึ่งผู้ที่ทำการผลิต เหล่านี้นับเป็นกำลังการผลิตที่เป็นพื้นฐานของเศรษฐกิจอื่นๆ กำลัง เป็นกลุ่มเสียงกลุ่มใหญ่ในการเกิดโรคพิษตะกั่วได้

โรคพิษตะกั่วจำแนกได้ 2 ชนิดใหญ่ๆ คือ โรคพิษตะกั่วอินทรีย์ และโรคพิษตะกั่วอนินทรีย์ โรคพิษตะกั่วอินทรีย์จะเป็นโรคของระบบประสาทส่วนกลาง มีอาการได้แก่ ปวดศีรษะ ความคิดสับสน การนอนไม่หลับ กระวนกระวาย หงุดหงิด ฝันร้าย หลงผิดชนิดคิดว่าตน เป็นผู้ยิ่งใหญ่ นํ้าหนักตัวลดลง อุณหภูมิในร่างกายลดต่ำลง ซึม ตาพร่า คลื่นไส้ตอนเช้า เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย สั่น ถ้าเป็นตะกั่ว
อนินทรีย์มักจะมีอาการท้องผูก รู้สึกเหมือนลิ้นรับโลหะ ความรู้สึกทางเพศลดลง โลหิตจาง ประจำเดือนขาด คอแห้ง กระหายนํ้า ปวดท้องรุนแรงแบบโคลิกเป็นพักๆ บางครั้งมีอาการท้องร่วงมีอาเจียนเป็นพักๆ เหล่านี้เป็นลักษณะของโรคพิษตะกั่วแบบเฉียบพลัน นอกจากนั้นจะมีอาการเบื่อหน่าย ถ้าเป็นเด็กจะเล่นน้อยลง เป็นตะคริวบ่อยๆ เฉพาะที่ขา ในรายที่มีระดับตะกั่วค่อนข้างสูงจะมีอาการในกลุ่มกล้ามเนื้อที่ใช้งานมาก เช่น กล้ามเนื้อที่ข้อมือข้อเท้า มีผลทำให้ข้อมือ ข้อเท้าตก เป็นอัมพาต ถ้าเป็นมากๆ สมองจะบวม ชัก ไม่รู้สึกตัว ในรายที่เกิดพิษแบบเฉียบพลัน และตายได้

ในผู้ที่เป็นตะกั่วเรื้อรังจะมีอาการปวดศีรษะเรื้อรัง ความจำเสื่อม การทรงตัวไม่ดี เซง่าย งุนงง เวียนศีรษะ คิดช้า อ่อนเพลียเรื้อรัง อ่อนแรง ชา เป็นตะคริวบ่อย ปวดกล้ามเนื้อและปวดข้อ และอาการ ทางระบบประสาท เลือด ไต และระบบสืบพันธุ์ที่ผิดปกติไป

ระบาดวิทยาโรคพิษตะกั่วในประเทศไทย
โรคพิษตะกั่ว เป็นที่รู้จักกันดีในประเทศที่เริ่มต้นพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งเมื่อ 20 ปีก่อน เป็นปัญหาของประเทศที่พัฒนาอุตสาหกรรมแล้ว เช่น อเมริกา ยุโรป และญี่ปุ่น อุบัติการณ์ของโรคพิษตะกั่วในประเทศไทยที่มีรายงานปรากฏเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2495 โดยนายแพทย์ใช้  ยูนิพันธ์ และมีรายงานผู้ป่วยโรคพิษตะกั่วมาตลอด พ.ศ. 2507 แพทย์หญิงเยาวลักษณ์  โลหารกุล และนายแพทย์ดนัย สนิทวงศ์ ได้รายงานผู้ป่วย 2 ครอบครัว ซึ่งมีอาชีพซ่อมแบตเตอรี่ และในปีเดียวกัน นายแพทย์มุกดา ตฤษณานนท์ และคณะ ได้รายงานผู้ป่วยพิษตะกั่ว 3 ราย มีอาชีพหล่อตัวพิมพ์ มีอาการปวดท้องรุงแรง และมี lead line และมีรายงานเพิ่มมาอีกดังตารางที่ 1    ‘
อีกเหตุการณ์สำคัญในประเทศไทยคือ ปี 2514 มีรายงานพิษตะกั่วในเด็กที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านขอนบางครุ เขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งใช้เปลือกหม้อแบตเตอรี่มาเป็นเชื้อเพลิงในการเคี่ยวนํ้าตาล และมีรายงานผู้ป่วยประปราย ในปี พ.ศ. 2533 มีรายงานผู้ป่วยพิษตะกั่วจากรายงานเฝ้าระวังโรคของกองระบาดวิทยาจำนวน 8 ราย จาก 4 จังหวัด คือ กรุง เทพมหานคร 4 ราย ตาก 2 ราย นครนายก 1 รายและนครปฐม 1 ราย โดยเป็นคนงาน 1 ราย ทำไร่ 2 ราย และเด็ก 5 ราย และปี 2524,2527 มีรายงานผู้ป่วยพิษตะกั่ว 19 ราย และ 37 ราย ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนขึ้น มีผู้ป่วยเป็นโรคพิษตะกั่วในเด็กอายุ 7 เดือน เจริญเติบโตช้า เข้ารับการรักษาที่ภาควิชากุมารฯ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มีระดับตะกั่วในเลือดสูง 97 Ug% มีสมองฝ่อ (cortical atrophy) ผู้ป่วยที่ได้รับตะกั่วจากมารดา ซึ่งได้ทำงานในโรงงานทำฝากระป๋องนกหวีด เมื่อ 2 ปีก่อนหน้านั้นมารดามีระดับตะกั่วในนํ้านม 13.2 ug% ซึ่งมากกว่าปกติที่ยอมรับได้ และคนอื่นในครอบครัวก็มีการได้รับสารตะกั่ว เรื้อรังด้วย ในปี 2526 มีรายงานผู้ป่วยจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 2 ราย เป็นชายอายุ 36 ปี อาชีพขัดเหล็กมา 10 ปี มีพยาธิของระบบประสาท และอีกราย เป็นชายอายุ 27 ปี ทำงานโรงกลึง 8 ปี ตรวจพบพยาธิสภาพของระบบประสาทมีระดับตะกั่วในเลือด 75 ug% และปีเดียวกันมีรายงานผู้ป่วยเด็กอายุ 12 ปี เป็นเด็กนักเรียนในโรงเรียนที่ตั้งติดกับโรงงานหลอมโลหะย่านบางแค ต่อมาในปี 2529 มีรายผู้ป่วยพิษตะกั่ว 19 ราย ซึ่งเป็นนักเรียนของโรงเรียนที่ตั้งติดกับโรงงานหลอมโลหะเดียวกันกับปี พ.ศ.2526 ทุกรายมีภาพรังสีของกระดูกยาว บริ เวณ เมตาไฟซีสทึบผิดปกติ เข้าได้กับการได้รับตะกั่วสะสมเป็น เวลานานถึงแม้ข้อมูลยังไม่อาจครบถ้วนได้ แต่ก็พบโรคพิษตะกั่วในคนทุกกลุ่มอายุ อันตรายที่สุดสำหรับเด็กอายุ 9 เดือน ถึง 6 ปี อาชีพที่พบมากได้แก่ อาชีพที่ต้องทำงานสัมผัสกับตะกั่วทั้งทางตรงและทางอ้อม สำหรับ lead – encehalopathy พบในเด็กมากกว่า

พ. ศ. 2531 พบผู้ป่วยพิษตะกั่วเรื้อรังในอุตสาหกรรมรีดเหล็ก และปีเดียวกันมีรายงานโรคพิษตะกั่วเรื้อรังในอุตสาหกรรมอิเลคโทรนิคในผู้ทำงานผลิต IC ซึ่งเป็นในส่วนสำคัญของคอมพิวเตอร์ และในพนักงานที่มีหน้าที่ย้อมสีผ้า ในโรงงานสิ่งทอ ในปี 2532 มีรายงานโรคพิษตะกั่วเรื้อรังในผู้ทำงานโรงงานหลอมโลหะ ในปี 2533 มีรายงานโรคพิษตะกั่วเรื้อรังในตำรวจจราจรอีกด้วย และในปี 2534 มีรายงานผู้ป่วยเด็กเป็นโรคพิษตะกั่ว เข้ารักษาที่โรงพยาบาลรามาธิบดี เป็นเด็กอายุ 7 สัปดาห์ มีอาการของ lead encephalopathy ด้วย โดยเด็กได้ตะกั่วจากแป้งที่มารดาใช้กับเด็ก และในปีเดียวกันมามีรายงานโรคพิษตะกั่วในผู้ผลิตชิ้นส่วน คอมพิวเตอร์ ปลายปี 2534 มีรายงานการป่วยด้วยโรคพิษตะกั่วเรื้อรังในเด็กนักเรียนที่ศึกษาอยู่ในกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะนัก เรียนที่ยังเล็กอยู่ ที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ติดกับริมถนนที่มีการจราจรหนาแน่น และในปี 2535 มีรายงานการป่วยด้วยโรคพิษตะกั่วเรื้อรังในตำรวจจราจร กรุงเทพมหานครอีกด้วย ซึ่งดำเนินการศึกษาโดยคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรงพยาบาลตำรวจ

ตารางที่ 1 รายงานโรคพิษตะกั่วเรื้อรังในประเทศไทย พ.ศ.2495 – 2535
health-0095 - Copy

health-0096 - Copy

ตารางที่ 2 ระดับตะกั่วในเลือดของคนไทย
health-0096 - Copy1

ตารางที่ 3 ระดับตะกั่วในปัสสาวะของคนไทย

health-0097 - Copy

พ.ศ.2532 ได้ทำการศึกษาคนที่ทำงานสัมผัสกับตะกั่ว 1,512 คน ใน 20 โรงงานพบว่า ระดับตะกั่วเฉลี่ยในเลือดเท่ากับ 41.2 ไมโครกรัมต่อเลือด 100 ซีซี มีระดับตะกั่วเฉลี่ยในปัสสาวะ 167 ไมโครกรัมต่อ ปัสสาวะหนึ่งลิตรในจำนวนการตรวจ 200 ราย สำหรับระดับตะกั่วในปัสสาวะพบตํ่าสุด 68 และสูงสุด 295 ไมโครกรัมต่อปัสสาวะหนึ่งลิตร

พบผู้มีระดับตะกั่วตั้งแต่ 30 ไมโครกรัมต่อเลือด 100 ซีซี ขึ้นไป 374 คน คิดเป็นอัตราชุกรวมร้อยละ 24.8 (ดังตารางที่ 4) ในจำนวนนี้มีผู้มีระดับตะกั่วสูงกว่า 80 ไมโครกรัมต่อ 100 ซีซี อยู่รวม 5 ราย มีผู้ที่เข้าได้กับคำจำกัดความผู้ป่วยโรคพิษตะกั่วเรื้อรังอยู่ 182 คน คิดเป็นร้อยละ 12 ในจำนวนดังกล่าวมีผู้ป่วยที่มีระดับตะกั่ว 30.0 – 69.9 ไมโครกรัมต่อเลือด 100 ซีซี ร้อยละ 10.4 มีผู้ที่มีระดับตะกั่ว 50.0-69.9 ไมโครกรัมต่อเลือด 100 ซีซี หรือร้อยละ 1.3 และมีผู้ที่มีระดับตะกั่วในเลือดตั้งแต่ 70 ไมโครกรัมต่อเลือด 100 ซีซี มีอัตราชุกร้อยละ 0.3

ผู้ป่วยมีอาการปวดท้องชนิดรุนแรง เป็นพักๆ อยู่ร้อยละ 38 มีเส้นตะกั่วร้อยละ 32 มีอาการซีดและเลือดจางอยู่ร้อยละ 29 ปวดตามข้อและกล้ามเนื้อร้อยละ 18 ท้องผูกร้อยละ 16 ชาร้อยละ 10 และอื่นๆ ร้อยละ 8

ตารางที่ 4 แสดงระดับตะกั่วในเลือดผู้ที่ทำงานสัมผัสกับโลหะหนักจำนวน 1,512 ในประเทศไทย พ.ศ.2532
health-0098 - Copy

health-0098 - Copy1

ภาพที่ 1 ภาพแสดงร้อยละของอาการและอาการแสดงที่พบในผู้ป่วยโรคพิษตะกั่วเรื้อรังจำนวน 182 คน ในประเทศไทย พ.ศ.2532

การศึกษาเรื่องโรคพิษตะกั่วเรื้อรังในนักเรียนกรุงเทพมหานครปี 2534 จำนวน 1054 คน พบว่าเด็กนักเรียนที่อยู่ในภาวะป่วย เล็กน้อยด้วยโรคพิษตะกั่วเรื้อรัง ซึ่งถ้าลดการได้รับตะกั่วก็ไม่จำ เป็นต้องรักษาทางยา และ 15 รายต้องรับการรักษา รวมจำนวนทั้งสิ้น 210 คน คิดเป็นอัตราชุกร้อยละ 20 เด็กมีระดับเชาาว์ปัญญาค่อนข้างต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กไทยในกลุ่มอายุเดียวกัน ตรวจพบการสะสมตะกั่วในร่างกาย ได้แก่ พบ Lead line ซึ่งเป็นเส้นทึบ สีดำ น้ำเงินเข้ม หรือนํ้าตาล ที่ใต้แนวฟัน ประมาณ 1-2 มม. เป็น เส้นตรงขอบชัด ดังรูปที่ 2 และที่ 3 โดยพบ lead line หรือ Burton’s line ร้อยละ 65 ในนักเรียนที่เรียนอยู่ในโรงเรียนที่ตั้งติดหรือใกล้กับถนนใหญ่ที่มีการจราจรหนาแน่น และเปรียบเทียบกับนักเรียนกลุ่มที่อยู่ในกลุ่มไกลถนนใหญ่ ดังตารางที่ 5 นอกจากนั้นยังพบตะกั่วในปัสสาวะนักเรียนกลุ่มใกล้ถนนใหญ่ถึงร้อยละ 96 มีค่าเฉลี่ยที่ 59.4 Ug/litre ซึ่งสูงกว่าของกลุ่มไกลถนนใหญ่ที่มีค่าเฉลี่ยของตะกั่วในปัสสาวะที่ 18.4 Ug/litre
health-0099 - Copy

รูปที่ 2,3 Lead line เป็นเส้นทึบใต้แนวฟัน (สามารถแยกระดับความเข้มของเหงือกได้)

ตารางที่ 5 อัตราของอาการในรอบ 1 สัปดาห์ และอาการที่ตรวจพบ ในนักเรียนประถมปีที่ 2 ของโรงเรียนที่ใกล้ และ ไกล กทม. พ.ศ.2534
health-0099 - Copy1
หมายเหตุ มีความแตกต่างอัตราอาการ และอาการแสดงของนักเรียนกลุ่มไกล และใกล้ถนนใหญ่ ทุกรายการ ยกเว้น เซง่าย

แหล่งกำเนิดและกลุ่มผู้เสี่ยงโรคพิษตะกั่ว
สามารถพบตะกั่วในรูปของฝุ่นหรือควัน เช่นเดียวกับอนุพันธ์ของตะกั่วพบได้ทั้งในบรรยากาศทั่วไป ในนํ้า ในดิน ในอาหาร ยาแผนโบราณ และเครื่องใช้ที่มีตะกั่วปนเปื้อน หรือเป็นส่วนประกอบในนํ้ามันเชื้อเพลิง ที่ผสมตะกั่วอินทรีย์และในบรรยากาศการทำงาน และตะกั่วจากแหล่งต่างๆ เข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ได้ตามรูปที่ 4
health-0100 - Copy
รูปที่ 4

1. แหล่งจากการประกอบอาชีพ   ได้แก่การทำเหมืองตะกั่ว การถลุงแร่ตะกั่ว อุตสาหกรรมอิเลคโทรนิค และคอมพิวเตอร์ การนำของเก่าที่มีตะกั่วผสมอยู่มาหลอมใช้ใหม่ การบรรทุกหรือขนถ่ายสิ่งของที่มีฝุ่นตะกั่วผสมอยู่ การทำให้ตะกั่วบริสุทธิ์ การผลิตบรอนซ์ตะกั่ว สีตะกั่ว ตะกั่วผง และตะกั่วในรูปอื่นๆ การผลิตแก้วที่มีตะกั่วปนอยู่ การทาหรือพ่นสีกันสนิม การใช้สารประกอบของตะกั่วในรูปที่เป็นผงในการผลิตแบตเตอรี่ การเคลือบด้วยสารตะกั่ว การเชื่อมหรือตัดโลหะที่มีตะกั่วหรือสีตะกั่วผสมอยู่โดยใช้ความร้อน การตบแต่งเจียระไนหรือขัดมันโลหะที่มีตะกั่วผสมอยู่ การชุบโลหะ การทำ เครื่องปั้นดินเผา การทำและบรรจุสารกำจัดศัตรูพืช การเรียงพิมพ์ การทำเครื่องประดับโลหะ การทำลูกปืน การบัดกรีตะกั่ว การทำอุปกรณ์ทำพื้น การซ่อมหม้อแบตเตอรี่ การเติมนํ้ามัน การซ่อมถังนํ้ามัน การใช้น้ำมันเบนซินล้างทำความสะอาดเครื่องยนต์กลไกต่างๆ ทั้งนี้ แหล่งจากการประกอบอาชีพเป็นแหล่งที่ให้สารตะกั่ว เข้าสู่ร่างกายคนได้มากที่สุด

2. แหล่งจากอากาศที่ปนเปื้อนตะกั่ว (airborn lead) โดยทั่วไปแล้วการหายใจเอาตะกั่วในอากาศนั้น ไม่ใช่ทางได้รับตะกั่วที่สำคัญ ในสหรัฐอเมริกาพบว่าเด็กที่พำนักอยู่ในระยะ 100 ฟุต จากถนนสายสำคัญจะมีระดับสูงกว่าเด็กที่อาศัยอยู่ไกลออกไป และระดับตะกั่วสัมพันธ์กับปริมาตรการจราจร เฉลี่ยในแต่ละวันของถนนสายสำคัญใกล้บ้าน และนักเรียนในโรงเรียนประถม เขตกรุงเทพมหานครแห่งหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ในระยะห่างจากกลุ่มโรงงานหลอมโลหะในระยะ 5 เมตร, 50 เมตร มีอัตราป่วยด้วยโรคพิษตะกั่วเรื้อรังสูงกว่ากันตาม ลำดับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนั้นสถานีบริการนํ้ามัน เป็นแหล่งทำให้อากาศปนเปื้อนตะกั่วได้

3. แหล่งจากดินและฝุ่น (soil and dust) ดินและฝุ่นได้รับตะกั่วโดยการสะสมจากตะกั่วในอากาศที่ได้จากรถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม และแหล่งอื่นๆ รวมทั้งแผ่นสีเก่าหลุดมาสะสมในดิน โดยตะกั่วที่สะ สมมักจะอยู่ในบริเวณผิวดิน พบมากในเด็กเนื่องจากพฤติกรรมชอบสำรวจ (exploratory behavior) จึงทำให้เด็กเหล่านี้มักมีโอกาสได้รับตะกั่วจากดินและฝุ่นโดยการกินด้วย

4. แหล่งจากอาหารและนํ้าดื่ม (food and drinking water) พืชผลที่เจริญเติบโตใกล้ทางสัญจร หรือสถานีบริการน้ำมัน จะมีความ เข็มข้นของตะกั่วที่สะสมจากตะกั่วในอากาศมากกว่าพืชผลที่เจริญ เติบโตในบริเวณอื่น ตะกั่วสามารถสะสมในอาหารระหว่างกระบวนการผลิตและขนส่ง อาหารกระป๋อง โดยเฉพาะอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรด จะสามารถละลายส่วนที่เป็นตะกั่วจากกระป๋องที่บรรจุได้

ตะกั่วในนํ้าดื่มส่วนใหญ่ได้มาจากการละลายจากท่อประปาที่มีตะกั่วผสมอยู่ โดยเฉพาะถ้าน้ำดังกล่าวมีฤทธิ์เป็นกรดด้วย

5. แหล่งจากเครื่องถ้วยชามที่เคลือบปนสารตะกั่ว (lead – glazed pottery) ในสหรัฐอเมริกามีรายงานการเป็นพิษตะกั่วอยู่หลายครั้ง จากแหล่งเครื่องถ้วยชามนี้ เพราะเครื่องถ้วยชามดังกล่าวสามารถ ปล่อยตะกั่วจำนวนมากไปในอาหารและเครื่องดื่มได้ โดยเฉพาะชิ้นที่มีการร้าวแตก หรือแม้แต่มีการใช้มาก และล้างขัดมาก พบว่าใน porcelain enamel powder มีตะกั่วออกไซด์อยู่ถึงร้อยละ 30-40

6. จากแหล่งสีที่มีตะกั่วเป็นพื้น (lead based paint) สีที่มีตะกั่วเป็นแหล่งที่ให้ตะกั่วในปริมาณสูงสุดแก่ผู้ป่วยเด็กในสหรัฐอเมริกา ซึ่งในปี พ.ศ.2520 รัฐบาลอเมริกาได้ออกกฎหมายให้สีที่ใช้ทาบ้านมีตะกั่วได้ไม่มากกว่าร้อยละ 0.06 (600 ppm) โดยนํ้าหนักสีขณะแห้ง เด็กที่อาศัยอยู่ในบ้านที่ปนเปื้อนด้วยตะกั่วหรือบ้านที่ทาสีด้วยสีที่มีตะกั่ว ทั้งสีภายในและภายนอก เป็นเด็กที่เสี่ยงต่อการได้รับตะกั่ว ยิ่งถ้าสีนั้นเก่าและมีการหลุดลอกด้วยจะเกิดเศษชิ้นเล็กๆ และฝุ่นที่มีตะกั่วผสมอยู่ตามพื้นและบริเวณบ้าน ทำให้เด็กซึ่งมีพฤติกรรม “มือสู่ปาก” ได้รับตะกั่วเข้าไปสะสมในร่างกายได้ สำหรับสี fabric paint มีตะกั่วเป็นส่วนประกอบ ร้อยละ 40-80 และจนถึงปัจจุบัน สหรัฐอเมริกายังคงมีการรณรงค์ให้มีการกำจัดสีที่มีตะกั่วในอาคารบ้านเรือน และมีการเฝ้าระวังโรคพิษตะกั่วเรื้อรัง ในเด็กอย่างต่อเนื่อง

7. สีจากแหล่งอื่นๆ ตะกั่วสามารถพบในยาแผนโบราณ เช่น ยาจีนหลายชนิด ซึ่งเราอาจได้รับตะกั่วจำนวนมากๆ ต่อครั้งได้ ยังอาจได้จากการสูดดมนํ้ามันกาซโซลีน การเผานํ้ามันที่ทิ้งแล้วจากกระดาษหนังสือพิมพ์สี จากเปลือกแบตเตอรี่ ซึ่งเคยมีรายงานในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ.2514 แล้ว ในเครื่องสำอางที่ผลิตขึ้นอย่างไม่เหมาะสมบางชนิด เช่น แป้งทาหน้า ยาชนิดนํ้าตาเทียมประเภท external astringents การใช้น้ำมันหล่อลื่นบางชนิดซึ่งมีตะกั่วเป็นส่วนประกอบถึงร้อยละ 30

กลุ่มผู้เสี่ยงต่อการเกิดโรคพิษตะกั่ว มีดังนี้
1. คนงานที่ประกอบอาชีพสัมผัสสารตะกั่ว ได้แก่
1.1 คนงานทำเหมืองตะกั่ว
1.2 คนงานโรงงานถลุงแร่ตะกั่ว
1.3 คนงานโรงงานอุตสาหกรรมอิเลคโทรนิค และคอมพิวเตอร์
1.4 คนงานโรงงานผลิตแบตเตอรี่
1.5 คนงานโรงงานผลิตสี
1.6 คนงานโรงงานชุบโลหะ
1.7 คนงานโรงงานทำเครื่องปั้นดินเผา
1.8 คนงานโรงงานทำเครื่องประดับโลหะ
1.9 คนงานโรงงานทำลูกปืน
1.10 คนงานบัดกรีตะกั่ว
1.11 คนงานเรียงพิมพ์และหล่อตัวพิมพ์
1.12 คนงานโรงงานทำและบรรจุสารกำจัดศัตรูพืช
1.13 คนงานทาหรือพ่นสีกันสนิม
1.14 คนงานโรงงานผลิตแก้ว
1.15 คนงานที่มีอาชีพเกี่ยวกับผสมนํ้ามันกับตะกั่วอินทรีย์
1.16 คนงานเติมนํ้ามัน
1.17 คนงานซ่อมถังนํ้ามัน
1.18 คนงานซ่อมเครื่องยนต์ ที่ต้องใช้นํ้ามันเบนซินล้างทำความสะอาดเครื่องยนต์กลไกต่างๆ

2. บุคคลทั่วไป ที่ต้องพำนักอาศัยอยู่ใกล้บริเวณโรงงานหลอมตะกั่ว ใกล้ผิวทางจราจร อยู่ในบริเวณที่ ดิน นํ้า อาหาร และอื่นๆ ปนเปื้อนด้วยสารตะกั่ว ผู้ใช้รถ ใช้ถนน ที่ต้องติดอยู่ในการจราจรที่แน่นขนัด

3. เด็ก เนื่องจากเป็นพฤติกรรม “มือสู่ปาก” หรือ “hand to mouth activities” ทำให้เด็กชอบกินอะไรที่ไม่ใช่อาหารมากกว่าผู้ใหญ่ เช่น สีทาบ้าน ของเล่น ทำให้มีโอกาสได้ตะกั่ว เข้าสู่ร่างกายมาก

4. บุคคลในครอบครัวคนงานที่ประกอบอาชีพสัมผัสตะกั่ว เนื่องจากฝุ่นตะกั่วสามารถติดกับผิวหนัง ผม รองเท้า เสื้อผ้า และภาชนะของคนงาน และตะกั่วจะติดจากที่ทำงานไปบ้านด้วยวิธีนี้

5. ทารกและเด็กที่ได้นมแม่ เนื่องจากตะกั่วผ่านรกในหญิงมีครรภ์ได้ โดยระดับตะกั่วในสายสะดือเท่ากับระดับตะกั่วในเลือดของมารดา สมองที่กำลังเจริญเติบโตและไวต่อพิษตะกั่วมาก

วิธีการป้องกันโรคพิษตะกั่ว

1. วิธีป้องกัน จำแนกเป็นดังนี้
ก. การป้องกันโรคพิษตะกั่วในคนงานที่ทำงานสัมผัสกับสารตะกั่ว

1. จัดให้มีระบบระบายอากาศในสถานที่ทำงานที่เหมาะสม ทั้งชนิดเฉพาะที่ และชนิดทั่วไป เพื่อที่จะกำจัดควัน ไอ หรือฝุ่นของตะกั่วออกไปจากจุดที่เกิด ระมัดระวังไม่ให้เกิดมีการพัดกลับของฝุ่นตะกั่วที่กำจัดออกไปแล้ว กลับเข้ามาในสถานที่ทำงานอีก

2. มีการกักเก็บรวบรวม ควัน ไอ หรือฝุ่นตะกั่วให้รวมอยู่ที่เดียวกัน เพื่อป้องกันการกระจายไปในบรรยากาศ

3. แยกกระบวนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับตะกั่วให้ออกห่างที่ทำงานทั่วไป หรือกั้นบริเวณให้เป็นสัดส่วน เพื่อป้องกันคนงานแผนกอื่นๆ ไม่ให้รับไอหรือฝุ่นตะกั่ว

4. ให้มีการทำความสะอาดบริเวณที่ทำงาน ตลอดจนอุปกรณ์ในการทำงานให้สะอาดปราศจากฝุ่นละอองของตะกั่ว โดยเฉพาะพื้นโรงงานต้องทำอย่างสม่ำเสมอ

5. ให้มีการตรวจระดับตะกั่วในบรรยากาศการทำงานเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบว่าเกิน 0.15 มิลลิกรัม/ลูกบาศก์เมตร ของอากาศต้องรีบดำเนินการแก้ไขและปรับปรุง

6. จัดหาที่ล้างมือ ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า ห้องอาบนํ้าให้คนงานได้ใช้ล้างมือ เปลี่ยนเสื้อผ้า และอาบนํ้าชำระร่างกาย เมื่อเสร็จจากการปฏิบัติงานประจำทุกวัน

7. ให้ความรู้เรื่องสุขวิทยาส่วนบุคคลในการทำงานแก่คนงานและดูแลให้คนงานปฏิบัติด้วยดังนี้

7.1 ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร
7.2 ไม่นำอาหารหรือเครื่องดื่มเข้าไปรับประทานในขณะปฏิบัติงาน
7.3 เปลี่ยน เสื้อผ้าและชำระล้างร่างกายทันทีที่นํ้ามันผสมตะกั่วอินทรีย์หกรดเสื้อผ้า
7.4 อาบนํ้า ชำระร่างกาย หลังเสร็จงานทุกวัน และเปลี่ยนเสื้อผ้าชุดปฏิบัติงานเก็บไว้ที่เก็บเสื้อผ้าของโรงงาน ไม่ควรนำกลับบ้าน

8.  จัดหาเครื่องป้องกันอันตรายส่วนบุคคลให้คนงานได้สวมใส่ เช่น เครื่องอากาศที่เหมาะสม ถุงมือ ชุดปฏิบัติงาน เครื่องช่วยหายใจและรองเท้าบู๊ทในขณะที่คนงานลงไปซ่อมหรือทำความสะอาดถังเก็บน้ำมันที่ผสมตะกั่วอินทรีย์

9. ให้มีการตรวจสุขภาพคนงานที่ทำงานสัมผัสกับตะกั่วเป็นพิษ โดยตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงานเพื่อคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมเข้าปฏิบัติงาน ไม่ควรให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี สตรีที่ตั้งครรภ์ ผู้ที่ เป็นโรคโลหิตจาง ฟันผุ เหงือกอักเสบ หรือโรคไต เข้าทำงานที่สัมผัสกับตะกั่ว

10. ให้มีการตรวจสุขภาพเป็นระยะๆ หลังจากเข้าปฏิบัติงานเพื่อตรวจสอบและค้นหาอาการผิดปกติในระยะเริ่มแรก โดยการตรวจครบทุกระบบ อย่างน้อยปีละครั้ง และให้มีการตรวจระดับ ALAD, ALAU, CP, EP, และระดับตะกั่วในเลือด ในปัสสาวะ หรืออื่นๆ การตรวจทางชีวเคมี ทางโลหิตวิทยาอื่นๆ ในระยะที่เหมาะสม ถ้าพบผู้ใดเป็นตั้งแต่ asymtomatic lead poisoning ให้ย้ายคนงานนั้นออกจากงานไปทำงานในหน้าที่อื่นที่ไม่สัมผัสตะกั่วจนกว่าตะกั่วจะถูกกำจัดออกไปได้ หรือให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสม

11. ให้มีการเฝ้าระวังโรค โดยแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ โดยจัดทำรายงานสรุปการเฝ้าระวังโรคพิษตะกั่ว เป็นการประจำ เช่น ในกฎหมายที่รัฐบาลอเมริกาออกมาใช้เกี่ยวกับ “occupational safety and health act of 1970″ ให้นายจ้างจะต้องเก็บรายงานการตรวจเป็นระยะๆ และมีการเฝ้าระวังโรคในคนทำงานสัมผัสตะกั่วอนินทรีย์เป็นเวลา 40 ปี หรือเท่ากับระยะเวลาการจ้างทำงานเพิ่มอีก 20 ปี

ข. การป้องกันพิษตะกั่วในกรณีทั่วไป
1. ลดปริมาณตะกั่วในนํ้ามันเชื้อเพลิง ผลิต lead free gasoline และ ผู้ใช้รถที่ใช้น้ำมันเบนซิน เป็นเชื้อเพลิง ควรปรับปรุง และใช้ บท leaded gasoline และหมั่นดูแลเครื่องยนต์

2. ลดปริมาณตะกั่วที่โรงงานอุตสาหกรรมปล่อยออกมาโดยวิธีทางวิศวกรรม โรงงานใหม่ควiได้รับการดูแลในเรื่องนี้ด้วย

3. ทำความสะอาดพื้นที่พำนักอาศัย ซึ่งอยู่ในบริเวณที่มีตะกั่วปนเปื้อนในอากาศเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ

4. ลดหรือเลิกใช้ท่อประปาที่เป็นตะกั่ว ใช้ท่อประปาที่ทำจากสิ่งอื่นแทน

5. นํ้าใช้จากระบบประปาควรได้รับการตรวจหาระดับตะกั่วด้วย และนํ้ามีฤทธิ์เป็นกรดควรถูกทำให้เป็นด่าง เพื่อป้องกันการละลายของสารตะกั่วจากท่อมาสู่น้ำ

6. ไม่ใช้ถ้วยชามและจานเคลือบที่มีตะกั่วที่สามารถปนเปื้อนอาหารได้

7. ไม่บริโภคอาหาร ขนม และเครื่องดื่ม ที่มีสีจัด อาหารที่ใช้สีที่มิใช่สีผสมอาหาร บริโภคอาหารที่มีสีจากสีธรรมชาติ เช่นสีดำจากดอกดิน สีเขียวจากใบเตย เป็นต้น

8. ไม่บริโภคอาหารที่ห่อหุ้มด้วยกระดาษที่มีหมึกพิมพ์

9. เมื่อจับต้องสิ่งพิมพ์ หรือสารที่อาจมีตะกั่ว ควรล้างมือทุกครั้ง และส่งเสริมการมีอนามัยส่วนบุคคลที่ดี

10. เลือกของเล่น ของใช้ของเด็ก ที่ไม่มีตะกั่วเจือปน ทั้งในรูปของสีที่ทา และอื่นๆ

11. แลไม่ให้เด็กเล็กเก็บเศษสีเก่าๆ จากบ้านที่ทาด้วยสีที่มีตะกั่วกิน ขณะเล่น หรือให้เด็กเล่นในที่ปลอดภัยจากสิ่งที่มีตะกั่วปนเปื้อน

12. มีการตรวจสุขภาพประจำปีเป็นระยะ โดยแพทย์อาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อม และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคพิษตะกั่ว หรือโรคจากสารพิษ และแพทย์เวชปฏิบัติในพื้นที่ ทั้งนี้เพื่อการค้นพบโรคพิษตะกั่วเรื้อรังในระยะแรกได้ และป้องกันแต่ก่อนที่โรคจะลุกลาม

13. พัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่ลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคพิษตะกั่วทุกทางอื่นๆ

ที่มา:โยธิน  เบญจวัง M.D.,M.P.H., D.T.M.& H. , อ.ว. เวชศาสตร์ป้องกัน
อรพรรณ์  เมธาดิลกกุล MD., MPH., FETP., Cert. in Prev Medicine, Occ Med (USA), Env Med (Denmark)

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า