สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

โรคพิษจากสารเคมีที่ถูกไหม้ไฟ

สถานการณ์โรคพิษจากสารเคมีที่ถูกไหม้ไฟ : กรณีไฟไหม้และระเบิดที่ท่าเรือคลองเตยกรุงเทพฯ

สืบเนื่องจากเหตุการณ์เพลิงไหม้และเกิดระเบิดที่คลังสินค้าอันตรายของการท่าเรือคลองเตย และเพลิงไหม้ลุกลามมายังชุมชนเกาะลาวที่ติดต่อกัน ในพื้นที่บริเวณท่าเรือคลองเตย กรุงเทพมหานคร เมื่อเวลา 13.40 น. ของวันเสาร์ที่ 2 มีนาคม 2534 นั้น หน่วยงานทั้งภาครัฐฯ เอกชน และผู้ที่เกี่ยวข้องด้านต่างๆ ได้ระดมกันเข้ากู้สถานการณ์ ได้แก่ การควบคุมเพลิง, การขนย้ายสารเคมีอันตราย, การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ผู้ป่วย และผู้ไร้ที่อยู่อาศัย เป็นเวลาติดต่อกันมา 2 สัปดาห์

จากข้อมูลของการท่าเรือฯ ที่เปิดเผยเกี่ยวกับสารเคมีที่เกิดระเบิดขึ้น และกระจายสู่บรรยากาศ ได้แก่ methyl bromide, paraformaldehyde และสารอื่นๆ อีกหลายชนิดดังตารางที่ 1 และจากรายงานการตรวจสภาวะแวดล้อมของกองอนามัยสิ่งแวดล้อม และกอง พิษวิทยาดังตารางที่ 2. จากการสำรวจของสำนักงานอาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อมในประชาชน เกาะลาวที่ประสบเหตุซึ่งอยู่ในที่จัดไว้ ณ สนามฟุตบอล ใกล้แฟลตคลองเตย เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2534 (วันที่ 3 หลังเกิดเหตุการณ์) พบผู้ป่วยเป็น mild to moderate chemical pneumonitis ด้วยอัตราร้อยละ 12  มีภาวะ proteinuria ร้อยละ 73 และมี formaldehyde evident, พบกรด formic ในปัสสาวะร้อยละ 100, ซึ่งแสดงถึงภาวะการได้รับสารพิษ formaldehyde ในประชากรกลุ่มดังกล่าว ต่อมาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้รายงานการตรวจพบ methyl bromide ในผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนคลองเตยอื่นด้วยจำนวน 5 ราย

สำหรับในด้านสิ่งแวดล้อม กรมอนามัยโดยกองอนามัยสิ่งแวดล้อมได้ทำการสำรวจและพบภาวะกรดสูง

ตารางที่ 1. สารเคมีที่คลังสินค้าอันตรายท่าเรือคลองเตย ถูกไหม้ไฟ 2 มีนาคม 2534 (จากข้อมูลเปิดเผยโดยการ ท่าเรือแห่งประเทศไทย)
health-0126 - Copy

ตารางที่ 2. รายงานการเก็บตัวอย่างสิ่งแวดล้อมของกองอนามัย สิ่งแวดล้อมและกองพิษวิทยา กระทรวงรทธารณสุข
health-0126 - Copy1
ในบรรยากาศบริเวณดังกล่าว เช่นเดียวกัน มีการพบว่า ในบริเวณดังกล่าวมีปริมาณคลอรีนสูงกว่าค่าที่ยอมให้มีได้ในบรรยากาศถึง 10 เท่า จากการสำรวจเบื้องต้น ของกองระบาดวิทยา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พบว่า มีหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับสารพิษ และมีภาวะเด็กไม่ดิ้นอยู่หลายราย จากรายงานวันที่ 12 มีนาคม 2534 มายังสำนักงานอาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม มี 1 รายที่เด็กตายในท้องและได้รับการผ่าตัดออก ซึ่งยังไม่มีรายงานว่ากรณีดังกล่าวเกิดจากการที่เด็กได้รับสารพิษ และมีรายงานผู้ตายที่สงสัยว่าเกิดจากการได้รับสารพิษ 3 ราย (ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม) หน่วยงานต่างๆ ทางด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมทั้งภาครัฐฯ และเอกชนได้เข้าทำการศึกษาดังนี้

1. ศึกษาทางเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อม เพื่อให้ทราบถึงปัจจัยที่สัมผัส ลักษณะทางคลินิก และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ในกลุ่มเสี่ยงต่างๆ ตามพื้นที่ และความไวในการเกิดโรค ได้แก่

-กลุ่มผู้อาศัยอยู่ในพื้นที่รัศมี 100 เมตร ได้แก่ กลุ่มชุมชนเกาะลาว, ชุมชน 70 ไร่, ชุมชนชาวแฟลต และผู้ที่อยู่ใกล้เคียง เช่น เจ้าหน้าที่กรมศุลกากรซึ่งมีที่ทำงานติดกับสถานที่เกิดเหตุ

-กลุ่มผู้อาศัยในรัศมี 500 เมตร

-กลุ่มผู้อาศัยในพื้นที่รัศมี 1,000 เมตร.

2. ศึกษาทางอาชีวเวชศาสตร์ ในกลุ่มผู้ทำงานที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่เกิดเหตุ ได้แก่
-พนักงานการท่าเรือแห่งประเทศไทย จำแนกตามโซน

-ตำรวจดับเพลิง, ตำรวจสถานีตำรวจท่าเรือ และพนักงานบริษัทเชลล์ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

3. ศึกษาทางระบาดวิทยาของโรค chemical pneumonitis, formaldehyde poisoning และภาวะพิษจากสารเคมีต่างๆ ระดับของการสัมผัสสาร และความสัมพันธ์ของการสัมผัสกับการเกิดโรค โดยเป็นการศึกษา แบบระบาดวิทยาเชิงพรรณนา และแบบระยะยาว

ตารางที่ 3. แสดงผู้ป่วยด้วยโรคจากพิษสารเคมีกรณีท่าเรือคลองเตย
health-0127 - Copy
ในการนี้มีการสัมภาษณ์ประวัติ การได้รับสาร อาการ การดูแลเบื้องต้น และการป้องกันตนเอง โดยใช้แบบสำรวจต่างๆ กัน, การตรวจร่างกายในพื้นที่ โดยเน้นหนักระบบประสาท ทางเดินหายใจ การเก็บตัวอย่างเลือดส่งตรวจหาสารพิษ ได้แก่ formaldehyde, formic acid, cyanide bromide ทั้งในเลือด และปัสสาวะ นอกจากนั้น ได้มีการส่งตรวจผลทางการแพทย์ ได้แก่ liver function test, renal function test, pulmonary function test และอื่นๆ

มีการเก็บตัวอย่าง นํ้า ดิน และฝุ่น บริเวณที่เกี่ยวข้องส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ วันที่ 4 มีนาคม และวันที่ 15 มีนาคม 2534

จากรายงานการสอบสวนและตรวจผู้ที่ได้รับสารดังกล่าว เป็นเจ้าหน้าที่การท่าเรือ ตำรวจดับเพลิง เจ้าหน้าที่กรมศุลกากร และชุมชน เป้าหมายรวม 505 ราย ดังตารางที่ 3

ที่มา:อรพรรณ์  เมธาดิลกกุล พ.บ.ม M.P.H
สำนักงานอาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
กรมการแพทย์, กระทรวงสาธารณสุข

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า