สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

โรคที่เกิดจากแอสเบสตอส

ความรู้ทางการแพทย์เกี่ยวกับผลกระทบของแอสเบสตอสต่อสุขภาพของมนุษย์นั้น ใช้เวลาสะสมมายาวนานหลายศตวรรษที่ผ่านมา
ดำเนินไปอย่างช้าๆ จนกระทั่งในช่วงต้นศตวรรษนี้ ซึ่งหลังจากที่มีการตายก่อนวัยอันควร เช่น 9 ใน 10 คนที่ต้องสัมผัสกับแอสเบสตอสอย่างมาก ตายที่อายุเฉลี่ย 30 ปี และจากที่มีการป่วยชนิดด้วยโรคปอดชนิดหนึ่งอย่างรุนแรงซึ่งรักษาไม่ได้นั้น ตลอดจนการป่วยและตายไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะคนงานที่ต้องทำงานกับแอสเบสตอสเท่านั้น การป่วยและตายลักษณะเฉพาะดังกล่าวยังได้เกิดกับกลุ่มบุคคลที่ไม่ทำ งานด้วย ทำให้มีการตื่นตัวทางการแพทย์และการวิจัยด้านอื่นที่เกี่ยวข้องอย่างมากในเรื่องโรคที่เกิดจากแอสเบสตอส จนปัจจุบันเป็นที่ยอมรับ กันทั่วโลกแล้วว่าแอสเบสตอสทำให้เกิดโรคที่รุนแรงอย่างน้อย 3 กลุ่มด้วยกันคือ แอสเบสโตซิส มะเร็งปอด และมะเร็งชนิด เมใสเทลิโอม่าของเยื่อหุ้มปอดและเยื่อบุช่องท้อง และนอกจากนั้นยังมีรายงานยืนยันการเกิดเยื่อหุ้มปอดผิดปกติชนิดไม่ใช่มะเร็งและการเกิดโรคมะเร็งอื่นได้ด้วย ได้แก่ มะเร็งของกล่องเสียง มะเร็งของทางเดินอาหาร มะเร็งของไต และอวัยวะอื่นๆ โดยโรคแอสเบสโตซิสและมะเร็งเมโสเทลิโอม่านั้นนับเป็นโรคที่เกิดจากแอสเบสโตซิสที่มีลักษณะเฉพาะ พบน้อยมากว่าผู้ป่วยด้วยเมโสเทลิโอม่า ไม่มีประวัติสัมผัสกับแอสเบสตอล  สำหรับ ตำแหน่งของอวัยวะที่เกิดโรคจากแอสเบสตอล ดูได้จากรูป

โรคแอสเบสโตซิส
เป็นโรคปอดตีบอย่างเรื้อรัง (Chronic restrictive lung disease) ซึ่งเป็นโรคปอดอักเสบจากฝุ่นชนิดหนึ่งโดยเกิดจากการหายใจเอาแอสเบสตอสเข้าไป มีลักษณะปอดเป็นพังผืด และรอยแผลเป็นในปอดจนได้ชื่อว่า “ปอดแข็ง และเล็ก”  โดยที่การเป็นพังผืดของปอดนั้น อาจมีหรือไม่มีพังผืดของเยื่อหุ้มปอดด้านในหรือด้านนอกก็ได้ ซึ่งทำให้ลดความสามารถในการนำออกซิเจนจากปอดไปสู่เม็ดเลือดเพื่อนำไปเลี้ยงเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกายอย่างมาก (ลดหน้าที่ในการฟอกเลือดดำให้เป็นเลือดแดง) อาการที่พบได้บ่อยคืออาการหายใจไม่พอ หายใจลำบาก หายใจเหนื่อยขณะออกแรง (Exertional dyspnea) เช่นขณะเดินเร่งรีบหรือที่ลาดชัน และมีอาการไอแห้งๆ ได้ สำหรับอาการแสดงที่พบได้แก่เสียงผิดปกติในปอด (reles) นิ้วมือและนิ้วเท้านูน ปุ้ม (clubbing) ในรายที่ป่วยมาก สิ่งตรวจพบผิดปกติได้แก่ สมรรถภาพการทำงานของปอดลดลงที่มีลักษณะเฉพาะคือความจุปอดลดลงแบบปอดตีบแคบ (Restrictive type) โดยมี Forced vital capacity ลดลงด้วยภาพรังสีทรวงอกจะพบเงาทึบเล็กๆ ที่มีรูปร่างไม่แน่นอนหรือเป็นเส้นตรง ในปอดส่วนล่างและส่วนกลาง

การวินิจฉัยเมื่อผู้ป่วยเสียชีวิตแล้วทำได้ โดยการตัดชิ้นเนื้อ พบปอดเต็มไปด้วยพังผืด หนาและมีชิ้นแอสเบสตอส (Asbestos body) ระหว่างเนื้อเยื่อของปอดและพังผืดอยู่มากมาย สำหรับการวินิจฉัยขณะผู้ป่วยยังมีชีวิตอยู่ ทำได้โดยใช้ลักษณะทางคลีนิกคืออาการและอาการแสดง ผลการตรวจภาพรังสีปอดร่วมด้วยประวัติการสัมผัสแอสเบสตอสทางใดทางหนึ่ง โดยจะมีผลการตรวจสมรรถภาพการทำงานของปอดผิดปกติหรือไม่ก็ได้เนื่องจาก ผลการตรวจสมรรถภาพการทำงานของปอด ไม่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของภาพรังสีทรวงอก พบบ่อยที่ภาพรังสีทรวงอกเปลี่ยนแปลงโดยที่สมรรถภาพการทำงานของปอดยัง ปกติ เนื่องจากสมรรถภาพการทำงานของปอดถูกทำให้เปลี่ยนแปลงได้จากหลายสาเหตุและมีปัจจัยอื่นที่มีผลต่อสมรรถภาพการทำงานของ ปอดที่วัดได้ตลอดจนถึงการแปลผลด้วย  มีเพียงบางรายงานเท่านั้นที่ระบุการวินิจฉัยโรคแอสเบสโตซิสจากผลการ ตรวจสมรรถภาพการทำงานของปอดที่เปลี่ยนแปลงโดยที่ภาพรังสีทรวงอกไม่เปลี่ยนแปลง

การดำเนินของโรคเป็นไปอย่างช้าๆ โดย ทั่วไปใช้เวลาหลายปี เป็นการเปลี่ยนแปลงที่กลับคืนเป็นปกติไม่ได้ (irreversible) และการดำเนินของโรคยังคงมีต่อไปถึงแม้จะไม่ได้สัมผัส ได้รับแอสเบสตอสอีก ผู้ป่วยมักมีการติดเชื้อโรคอื่นซ้ำเช่นวัณโรคและปอดอักเสบอื่นซึ่งทำให้ถึงตายได้

สำหรับรายที่ป่วยมากจะมีการแทรกซ้อนของความดันเลือดพัลโมนารี่สูง (Pulmonary Hypertention) และหัวใจห้องขวาล้มเหลวหรือ Corpulmonale และกระทั่งถึงตายได้ ความรุนแรงและการดำเนินของโรคขึ้นกับชนิดของแอสเบสตอส จำนวนและระยะเวลาที่ได้รับ ความไวในการเกิดโรคของแต่ละบุคคลด้วย สำหรับการรักษาที่มีประสิทธิภาพยังไม่มี ความพยายามในทางการแพทย์ปัจจุบัน เป็นการพัฒนาการรักษาเพียงอาการที่เกิดจากพังผืดของปอด และอาการอื่นที่เกี่ยวข้องได้ดีขึ้นบ้างเท่านั้น

การพยากรณ์โรคพบอย่างชัดเจนว่าผู้ที่ป่วยด้วยโรคแอสเบสโตซิสมีอายุไขเฉลี่ยลดลง จากอายุไขของประชากรปกติอย่างชัดเจน คาดประมาณว่าผู้ป่วยโรคแอสเบสโตซิสที่ลดความสามารถไป 50% จะมีอายุไขลดลง 12 ปี นอกจากนั้นยังปรากฏในรายงานของประเทศแคนาดาว่าผู้ที่ป่วยด้วยแอสเบสโตซิส ซึ่งได้รับเงินทดแทนตามกฎหมายแล้วมีอัตรา ป่วยตายสูงกว่าผู้ป่วยโรคปอดกลุ่มอื่นทั้งที่ไม่ใช่มะเร็งปอด ที่เป็นมะเร็งปอด และมะเร็งชนิดเมโสเทลิโอม่า โดยพบมีผู้ป่วยแอสเบสโตซิสมีชีวิตรอดหลัง 5 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัย และได้รับเงินทดแทนแล้วเพียง 69% และมีชีวิตรอดหลัง 10 ปีที่ได้รับการวินิจฉัยและได้รับเงินทดแทนแล้วเพียง 53%

โรคมะเร็งเมโสเทลิโอม่า
เมโสเทลิโอม่าเป็นมะเร็งที่พบได้ค่อนข้างยาก เกิดมาจากเซลที่บุผนังของเยื่อหุ้มปอดและเยื่อบุช่องท้องซึ่งเรียกว่าเซลเมโสทิเลียมซึ่งเป็น ที่มาของชื่อโรคนี้ แบ่งได้ 2 ประเภทขึ้นกับตำแหน่งที่เป็นคือที่เยื่อหุ้มปอดและที่เยื่อบุช่องท้อง มะเร็งดังกล่าวแตกต่างจากมะเร็งอื่นที่กระจายได้ทั่วไปมาก แพร่เร็ว กว้างทั่วช่องอก และช่องท้อง การรักษาเช่นที่ใช้รักษามะเร็งอื่นๆ ไม่ได้ผลกับเมโสเทลิโอม่า ตั้งแต่การรักษาด้วยยาฆ่าเซลมะเร็ง การรักษาด้วยรังสี ตลอดจนการผ่าตัดแบบต่างๆ ล้วนใช้ไม่ได้ทั้งสิ้น ที่ใช้กันอยู่คือการประคับประคองชีวิตที่หมดหวังนี้ตามเงื่อนไขที่เป็นได้อย่างดีที่สุด ผู้ป่วยส่วนใหญ่ตายภายในหนึ่งปีที่ได้รับการวินิจฉัย มีน้อยรายมากที่มีอายุรอดได้ถึง 5 ปี นี่แสดงให้เห็นว่าเมโสเทลิโอม่าเป็นโรคที่ป้องกันดีกว่าการรักษาเป็นอย่างมาก

การเกิดโรคพบในแคนาดาว่าเพศชายป่วยและตายด้วยเมโสเทลิโอม่ามากกว่าเพศหญิงถึงเกือบ 4 เท่า ระยะเวลาตั้งแต่สัมผัสแอสเบสตอสจนถึงระยะแสดงอาการนั้นยาวมาก เมื่อเปรียบเทียบกับมะเร็งชนิดอื่น ไม่พบระยะที่น้อยกว่า 15 ปี ไม่เคยตํ่ากว่า 10 ปี ส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 15-40 ปี เช่นเดียวกับมะเร็งชนิดอื่น กล่าวคือการสัมผัสสารต้นเหตุมากขึ้น จะทำให้มีโอกาสเกิดโรคได้เพิ่มขึ้นแต่จะไม่กระทบต่อระยะเวลาที่ใช้ในการเกิดโรค ความสัมพันธ์ของเมโสเทลิโอม่าจากแอสเบสตอส แตกต่างจากความสัมพันธ์ของมะเร็งปอดชนิดอื่นตรงที่ความอันตรายค่อนข้างขึ้นกับชนิดของแอสเบสตอสมาก โดยจะเกิดขึ้นมากกับผู้ที่สัมผัสกับแอสเบสตอสชนิด crocidolite รองลงไปคือ amosite และไม่มีผลจากการสูบบุหรี่ โดยผู้ที่ไม่สูบบุหรี่มีอัตราเสี่ยงเท่ากับผู้ที่สูบบุหรี่  ในระยะแรกอัตราเกิดโรคมะเร็งเมโสเทลิโอม่า พบมากในกลุ่มคนงานที่ทำงานกับแอสเบสตอส แต่ต่อมาพบในกลุ่มผู้ที่ไม่ได้ทำงานกับแอสเบสตอสโดยตรง แต่มีโอกาสได้รับแอสเบสตอสทางอื่น อย่างไรก็ดีจนปัจจุบันนี้เป็นที่ยอมรับกัน ว่ามะเร็งเมโสเทลิโอม่าเกิดจากการได้รับแอสเบสตอสเพียงอย่างเดียว และจากการศึกษาทางระบาดวิทยาโดยการสำรวจรายงานที่มีอยู่ จาก 22 ประเทศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2502-2519 พบจำนวนตายจากเมโสเทลิโอม่า 4,539 ราย ในจำนวนนี้เป็นผู้ที่ไม่มีประวัติสัมผัสและได้รับแอสเบสตอสที่บันทึกไว้ 923 ราย (20%)

โรคมะเร็งปอด
มะเร็งปอดไม่เหมือนแอสเบสโตซิสและเมโสเทลิโอม่า ไม่มีการเกี่ยวพันเฉพาะกับแอสเบสตอสเท่านั้น จะสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่มากกว่า พยาธิสภาพที่เกิดโดย แอสเบสตอสก็ไม่ได้แตกต่างจากที่เกิดโดยบุหรี่ แต่พบว่าตำแหน่งที่เกิดมักเป็นที่ปอดส่วนล่างมากกว่าที่ปอดส่วนบนเช่นที่พบบ่อยในมะเร็งปอดจากเหตุอื่น และพบผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด เป็นผู้ที่สัมผัสกับแอสเบสตอสโดยที่ไม่ได้สูบบุหรี่เช่นเดียวกับที่พบร่วมกับกลุ่มที่มีพฤติกรรมสูบบุหรี่ด้วย โดยการเกิดมะเร็งนี้อาจไม่พบ ร่วมกับการเกิดโรคแอสเบสโตซิสร่วมด้วยก็ได้

การพยากรณ์โรคและการรักษาโรคมะเร็งปอดจากเหตุอื่นจะมีอายุรอดได้ 5 ปี หลัง จากการวินิจฉัยประมาณ 5% แต่ผู้ที่เป็นมะเร็งปอดที่มีแอสเบสโตซิสจะมีอาการหนักกว่า และมีปัญหาในการให้การรักษามากกว่า ทำให้การพยากรณ์โรคไม่ดี

โรคมะเร็งจากแอสเบสตอสอื่นๆ
ได้แก่มะเร็งของทางเดินอาหารได้แก่ มะเร็งของหลอดอาหาร มะเร็งของกระเพาะอาหาร มะเร็งของลำไส้ใหญ่ส่วนต้น มะเร็งของลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย มะเร็งของกล่องเสียง และมะเร็งของรังไข่  สำหรับรายละเอียด ของมะเร็งแต่ละชนิดที่กล่าวมาว่าสัมพันธ์กับการสัมผัสกับแอสเบสตอสเหล่านี้นั้นไม่มีการกล่าวถึง คาดว่าไม่แตกต่างจากมะเร็งดังกล่าว จากสาเหตุอื่น

ภาวะอื่นที่เกิดจากแอสเบสตอส (ไม่ใช่โรค)
ได้แก่การเปลี่ยนแปลงของเยื่อหุ้มปอด ชิ้นแอสเบสตอส (Asbestos bodies) และการเป็นหูดจากแอสเบสตอส (ซึ่งอาจนับเป็นโรคผิวหนัง ได้) เหล่านี้เป็นเครื่องแสดงให้ทราบถึงการได้รับแอสเบสตอสเข้าสู่ร่างกายแล้ว

การเปลี่ยนแปลงของเยื่อหุ้มปอดได้แก่การหนาตัวของเยื่อหุ้มปอด (Pleural – thickening) มีนํ้าในช่องเยื่อหุ้มปอด (Pleural effusions) และการมีก้อนที่เยื่อหุ้มปอด (Pleural plaques) การเปลี่ยนแปลงนี้อาจมีหรือไม่มีแอสเบสโตซิสร่วมด้วยก็ได้ โดยทั่วไปการเปลี่ยนแปลงนี้ไม่มีความสัมพันธ์กับลักษณะทางคลินิคที่ผิดปกติ

สำหรับชิ้นแอสเบสตอสเกิดจากการที่เส้นใยแอสเบสตอส ซึ่งถูกหายใจเข้าไปในปอด แล้วถูกหุ้มด้วยสารโปรทีนและเหล็กทำให้เห็นเป็นชิ้นแอสเบสตอส ซึ่งเส้นใยอื่นๆ นอกจากแอสเบสตอสก็ทำให้เกิดลักษณะแบบเดียวกันได้ ซึ่งเรียกว่า ferruginous bodies

ส่วนหูดจากแอสเบสตอส (Asbestos wart) นั้นก็เป็นสิ่งที่ไม่อันตรายนัก เกิดจากการที่ถูกใยแอสเบสตอสแทงผิวหนังเล็กน้อย

ปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวกับการมีและใช้แอสเบสตอสในประเทศไทย
ประเทศไทยปัจจุบันได้นำเข้าแอสเบสตอส และวัตถุที่เกี่ยวข้องจากหลายประเทศได้แก่ แคนาดา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อิตาลี ฝรั่งเศส เดนมาร์ค สวิตเซอร์แลนด์ เกาหลี ไต้หวัน อินเดีย สวีเดน เนเธอร์แลนด์ สเปน ฟินแลนด์ ออสเตรีย สิงคโปร์ ยูโกสลาเวีย ฟิลิปปินส์ เบลเยี่ยม บราซิล อิสราเอล ฮ่องกง เชคโกสโลวาเกีย เยอรมันตะวันตก และสหรัฐอเมริกา ปริมาณนำเข้าต่อปี เป็นจำนวน 5,000,000 กิโลกรัมโดย ประมาณ  โดยนำมาใช้ในอุตสาหกรรมผลิตกระเบื้องกระดาษ กระเบื้องเพดาน กระเบื้องยางปูพื้น กาว วัสดุเคลือบใต้ท้องรถยนต์ ผลิตท่อนํ้าทนไฟ ผลิตผ้าเบรคและผลิตผ้าคลัช อุตสาหกรรมดังกล่าวตั้งอยู่ในเขตชุมชน มิได้ตั้งอยู่ในเขตอุตสาหกรรม จากการสำรวจใหญ่ในปี พ.ศ. 2529 ซึ่งดำเนินการใน 22 โรงงานผู้ผลิตดังกล่าว พบว่าการเก็บแอสเบสตอสยังมิได้แยกเก็บเป็นสัดส่วนและปลอดภัยพอ มีเพียงโรงงาน ผลิตกาวและวัสดุเคลือบใต้ท้องรถยนต์เพียงแห่งเดียวที่ดำเนินการอย่างถูกต้อง กระบวนการผลิตที่มีแอสเบสตอสฟุ้งกระจายนั้นในทุกแห่งเป็นเช่นเดียวกันคือขั้นตอนการนำแอสเบสตอสออกจากถุงบรรจุ การเท และการผสมให้เข้ากับวัสดุอื่นในกระบวนการผลิต สำหรับการ ผลิตผ้าเบรกด้วยจะมีการฟุ้งกระจายเกือบทุกขั้นตอน ได้แก่ขั้นตอนการอัดผ้าเบรค และการขัดผ้าเบรคด้วย ส่วนการทำผ้าคลัชจะมีอีกขั้นตอนที่จะมีฝุ่นมากคือการทอผ้าคลัช ยังมีการใช้ระบบกำจัดฝุ่นจากแหล่งน้อยมาก และที่มีอยู่นั้น ขณะสำรวจระบบก็ยังไม่สมบูรณ์นัก ยังมีการ ระบายอากาศแบบทั่วไปที่ติดต่อกับบรรยากาศแวดล้อมภายนอกได้โดยเฉพาะบริเวณใกล้เคียงโรงงาน การกำจัดฝุ่นแอสเบสตอสโดยการฝังดินในขณะสำรวจยังไม่มีคนงาน หัวหน้างาน วิศวกร เจ้าของ แพทย์ พยาบาลประจำโรงงาน และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ยังตระหนักถึงปัญหา สุขภาพและโรคที่เกิดจากแอสเบสตอลน้อย หน้ากากและเครื่องช่วยหายใจขณะปฏิบัติงาน มีจัดไว้ในโรงงานทุกแห่ง แต่มีการใช้น้อยมาก ชนิดของหน้ากากส่วนใหญ่เป็นหน้ากากผ้า หน้ากากกรองฝุ่นรำคาญที่ไม่เป็นพิษ หน้ากากฟองนํ้า และมีแม้กระทั่งที่ใช้ผ้าโพก ทั้งหมดล้วน เป็นหน้ากากชนิดที่ไม่มีการรับรองว่าป้องกันฝุ่นที่เป็นพิษได้ มีเพียงแห่งเดียวในขณะสำรวจที่พนักงาน ขณะเปิดถุงแอสเบสตอสได้ใส่หน้ากาก ป้องกันฝุ่นชนิดที่มีการรับรองว่าใช้กับฝุ่นที่เป็นพิษได้ แต่ก็ใส่เฉพาะคนที่ทำงานตรงตำแหน่งนั้นเพียง 2-3 คน โดยที่ผู้ที่ทำงานในบริเวณ เดียวกันไม่ใส่ ซึ่งอาจเป็นเพราะระดับความเข้มข้นของแอสเบสตอสในบรรยากาศการทำงานขณะนั้นไม่เกินค่ามาตรฐานความปลอดภัยที่ กำหนด ทั้งนี้จะต้องมีการเฝ้าตรวจฝุ่นในบรรยากาศการทำงานด้วยอย่างสมํ่าเสมอ แต่พบว่ายังไม่ใคร่มีการดำเนินการกัน และผลการตรวจปริมาณเส้นใยแอสเบสตอสในบรรยากาศการ ทำงานในปี พ.ศ. 2525 พบว่ามีตัวอย่างอากาศที่มีใยแอสเบสตอสมากกว่า 2 เส้นใยต่ออากาศ 1 ลูกบาศก์เซนติเมตรอยู่ 6 ตัวอย่างและเกินกว่า 5 เส้นใยต่อ 1 ลูกบาศก์เซนติเมตรอยู่ 1 ตัวอย่าง ในโรงงาน 10 แห่ง สำหรับผลการสำรวจภาวะสุขภาพของพนักงานที่ทำงานอยู่ในบริเวณที่มีการใช้แอสเบสตอสจะได้รับการสัมภาษณ์ประวัติการเจ็บป่วย ประวัติการทำงาน การตรวจร่างกาย การตรวจสมรรถภาพการทำงานของปอด และการถ่ายภาพรังสีทรวงอกชนิดมาตรฐาน โดยสำรวจได้คนงานทั้งสิ้น 1,013 คน มีสมรรถภาพทำงานของปอดผิดปกติแบบ Restrictive type อยู่ 2596 และเป็นผู้ที่มีภาพรังสีทรวงอกเปลี่ยนแปลงเข้าได้กับที่เกิดจากแอสเบสตอส 5.1% ของคนงานกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการตรวจโดยสูงสุดในกลุ่มคนงานโรงงานทำท่อซีเมนต์แอสเบสตอสในอัตรา 20% และผู้ที่มี หน้าที่ผสมแอสเบสตอสมีอัตราชุกของการป่วยสูงกว่าผู้ที่มีหน้าที่อื่น คือสูงถึง 23.5% และจากการสำรวจความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตน ในการป้องกันโรคจากแอสเบสตอสในคนงาน จำนวน 947 คนของโรงงานทั้ง 24 แห่งพบว่า คนงานอีกมากเกือบ 40% ไม่มีความรู้เกี่ยวกับอันตรายของแอสเบสตอส ส่วนใหญ่เชื่อว่าการป้องกันโรคที่เกิดจากแอสเบสตอสดีกว่าการรักษาและควรปป้องกันที่แหล่งให้ฝุ่นแอสเบสตอส 96% ของคนงานต้องการให้โรงงานจัดหน้ากากป้องกันที่เหมาะสมให้ คนงานส่วนใหญ่ไม่ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปีตามเกณฑ์ของกฎหมาย และการตรวจสุขภาพเพื่อค้นพบโรคตั้งแต่ระยะเริ่มแรกที่ยังป้องกันความรุนแรงได้ มีหลายแห่งจัดให้มีการตรวจสุขภาพโดยไม่สอดคล้องกับสภาพงานเช่นตรวจหาเชื้อมาเลเรีย การ ตรวจเบาหวาน และการตรวจหากามโรคโดยที่ไม่ได้ตรวจสุขภาพและถ่ายภาพรังสีทรวงอก เพื่อค้นหาความผิดปกติของปอดจากแอสเบสตอส ส่วนใหญ่โรงงานจะเป็นผู้กำหนดสิ่งที่จะตรวจเอง การดำเนินการจัดให้มีการตรวจสุขภาพประจำปียังดำเนินการกันไม่ถูกต้องเป็นส่วน ใหญ่ที่จัดให้มีก็มักเป็นการเอกซเรย์ฟิล์มเล็ก โดยไม่มีการตรวจสุขภาพประจำปีจริงๆ ลักษณะยังเป็นการพยายามทำตามประเพณีหรือ ข้อกำหนดที่มี ยังไม่มีโรงงานใดที่มีโครงการป้องกันโรคดังกล่าว

สำหรับการเกิดโรคมะเร็งปอดและเมโสเทลิโอม่านั้น เท่าที่มีรายงานจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติเฉลี่ยแล้วมีโรคมะเร็งปอดปีละ 1,000 คน และมะเร็งเยื่อหุ้มปอด เมโสเทลิโอม่าปีละ 20 ราย เช่นเดียวกันจากสถิติผู้ป่วยที่มารับบริการของโรงพยาบาลโรคทรวงอก โดยงานเวชระเบียนและสถิติในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาพบว่า มีผู้ป่วยด้วยมะเร็งเยื่อหุ้มปอดเฉลี่ยปีละ 20 ราย ทั้งหมดไม่มีประวัติบันทึกถึงการสัมผัสแอสเบสตอสจากการทำงาน

ที่กล่าวมาแสดงถึงปัญหาสุขภาพของคนงานที่ต้องสัมผัสกับแอสเบสตอส และผู้อื่นที่อาจได้รับแอสเบสตอสไปทางใดทางหนึ่งนั้นมีอยู่จริง
ในประเทศไทย และยังคงอยู่ในสภาพที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคจากแอสเบสตอสด้วย
health-0123 - Copy
การป้องกันโรคจากแอสเบสตอส
เป็นหนทางเดียวที่ควรเร่งดำเนินการทั้งภาครัฐ ผู้ประกอบการ คนงาน ตลอดจนประชาชนและผู้บริโภคโดยทั่วไป ซึ่งทำได้โดย

1. ใช้วัสดุอื่นทดแทนแอสเบสตอสในการผลิตที่ทำได้

2. ปรับปรุงกระบวนการผลิต และระบบกำจัดฝุ่นแอสเบสตอสจากแหล่งกำเนิดฝุ่นเพื่อลดการปนเปื้อนของแอสเบสตอสในบรรยากาศ การทำงานและบรรยากาศภายนอกด้วย

3. ให้ความรู้แก่คนงานและประชาชนเกี่ยวกับอันตรายของแอสเบสตอสและวิธีการป้องกันที่เหมาะสม

4. จัดให้ผู้ที่ต้องสัมผัสกับแอสเบสตอสได้รับการตรวจสุขภาพอย่างถูกต้อง และถ่ายภาพรังสีทรวงอกตามแบบมาตรฐานที่ใช้กับโรคนิวโมโคนิโอซิสเพื่อค้นพบการป่วยในระยะแรก ที่ยังป้องกันความรุนแรงได้ อย่างน้อยปีละครั้ง เป็นประจำทุกปี

5. ในที่จำเป็นต้องใช้แอสเบสตอสและมีปริมาณแอสเบสตอสในบรรยากาศเกินมาตรฐานความปลอดภัย ให้จัดให้คนงานได้ใส่เครื่อง ช่วยหายใจที่มีการรับรองว่าป้องกันฝุ่นที่ทำให้เกิดพิษได้ โดยมีโปรแกรมการใช้ที่เหมาะสม

6. ให้มีการกำจัดแอสเบสตอสที่ไม่ใช้ หรือวัสดุที่ทำจากแอสเบสตอสโดยถูกต้องเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหามลภาวะ เช่นในต่างประเทศมีการกำจัดแผ่นกระเบื้องมุงหลังคาและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแอสเบสตอสหลายพันล้านดอลลาร์โดยวิธีการฝังในบริเวณที่กำหนด

ที่มา:แพทย์หญิงอรพรรณ์  เมธาดิลกกุล
กองอาชีวอนามัย  กระทรวงสาธารณสุข

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า