สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

โรคติดเชื้อราที่ผิวหนัง

การติดเชื้อราเป็นได้กับผิวหนัง เล็บ เส้นผม ลักษณะผื่นที่ต้องนึกถึงเชื้อรา คือ ผื่นเป็นวงกลมเล็กหรือใหญ่ แบน หรือนูนเล็กน้อย สีจาง มีขุยบางๆ

เกลื้อน (Pityriasis versicolor) เป็นการติดเชื้อราที่ผิวหนังกำพร้าชั้น นอกสุด มีลักษณะเป็น macule สีขาว สีน้ำตาลหรือสีแดง ตอนแรกเป็นจุดเล็กๆ กระจายทั่วไปบนผิวหนัง มีขุยบางๆ ต่อมาผื่นขยายเป็นวงกว้างขึ้น มักเป็นที่ลำตัว เช่น หน้าอก หน้าท้อง ไหล่ หลัง แต่ไม่พบที่เส้นผม เล็บ

การวินิจฉัย  ขูดขุยมาย้อม KOH จะพบกลุ่มของ yeast cell และ fragmented mycelium

การรักษา โดยทายา เช่น
-20%-25% Sodium thiosulfate ทาวันละ 3 ครั้ง นาน 3 สัปดาห์
-Selenium sulfide ทาหลังอาบน้ำทิ้งไว้ 15-30 นาที แล้วล้างออก ทา วันละ 1-2 ครั้ง ระวังแสบหรือไหม้
-2% tolnaftate, 1% clotrimazole หรือ 2% miconazole ทาวันละ 3 ครั้ง

Dermatophytosis  เป็นการติดเชื้อราที่ชั้น stratum corneum เล็บ ผม เกิดจากเชื้อ Dermatophyte ซึ่งมี 3 แบบคือ Trichophyton, Microsporon, Epidermophyton ลักษณะผื่นมีหลายแบบ เกิดได้ทั่วร่างกาย จะเรียกเชื้อโรคตามส่วนของร่างกายที่เกิดการติดเชื้อขึ้น เช่น

ตามลำตัว เรียก Tinea corporis
ตามขาหนีบ เรียก Tinea cruris
ตามเท้าและง่ามเท้า เรียก Tinea pedis
ตามเล็บ เรียก Tinea unguium
ศีรษะ เรียก Tinea capitis

ลักษณะผื่นโดยทั่วไป จะเริ่มด้วย round papule เล็กๆ แล้วโตขึ้นรอบๆ ขอบเห็นง่าย หนาและแดง ตรงกลางจะมี white scale ผื่นอาจลามเป็นวงแหวนซ้อนกัน หรือเป็นวงหลายวงต่อกัน มีอาการคันเล็กน้อย

ถ้าเป็น Tinea pedis เกิดจากความชื้น เช่น แช่เท้าในน้ำเป็นประจำ สวมถุงเท้าที่อับชื้น ลักษณะเป็นผื่นขาวยุ่ยลอก เป็นแผ่น แตกแฉะ มีกลิ่น คันมาก ต้องแยกจาก contact dermatitis, dyshydrosis

ถ้าเป็น Tinea unguium จะมีอาการเล็บผิดรูป สีด้านขุ่น เล็บเปลี่ยนสีเป็นสีเหลือง น้ำตาล ขาวขุ่น ขรุขระ เนื้อใต้เล็บหนาขึ้น เล็บแยกจากเนื้อใต้เล็บ เล็บผุง่าย

ถ้าเป็น Tinea capitis เป็นที่เส้นผม มีลักษณะคือ หนังศีรษะมีวงแหวน ขอบชัด มีสะเก็ดหรือรังแค ผมร่วง ผมหัก เป็นหย่อมๆ

การวินิจฉัย โดยดูจากอาการและการตรวจร่างกาย การทำ KOH prepara¬tion พบ septate hyphae หรือ arthrospore

การรักษา
ในรายเป็น Tinea corporis รักษาดังนี้
1. ยาละลายขุย เช่น ทาขี้ผึ้ง Whitfield
2. กินยาฆ่าเชื้อรา เช่น Griseofulvin 20 มก./กก./วัน
3. ทายาฆ่าเชื้อรา เช่น 1% clotrimazole, 2% miconazole
4. รักษาความสะอาด อาบน้ำฟอกสบู่

ในรายเป็น Tinea unguium ให้การรักษาดังนี้
1. Griseofulvin ขนาด 20 มก./กก./วัน นาน 3-6 เดือน
2. ถอดเล็บแล้วทาด้วยยาฆ่าเชื้อรา

ในรายที่เป็น Tinea capitis ให้การรักษาดังนี้
1. สระผมทุกวัน
2. ใส่ผมด้วย 3% Sulfur salicylic acid
3. กินยา Griseofulvin ขนาด 20 มก./กก./วัน นาน 3-6 สัปดาห์
4. ระวังอย่าใช้หวี แปรง มีดโกน หมวก ร่วมกับผู้อื่นหรือผู้เป็นโรค

ที่มา:นฤมล  ภัทรกิจวานิช

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า