สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

โรคตา Ocular trauma

Ocular trauma1234
การเกิดภยันตรายต่อตาในเด็กเป็นเรื่องที่สำคัญ ทั้งในแง่ของการให้การวินิจฉัยและการรักษา เนื่องจากการตรวจตาในเด็กทำได้ค่อนข้างลำบาก ในบางรายต้องอาศัยการดมยาสลบ นอกจากนี้การปิดตาในเด็กก็เป็นเรื่องที่ควรให้ความระมัดระวัง ถึงแม้จะปิดตาไม่กี่วันก็มีโอกาสที่จะเกิด amblyopia ได้

หลักในการ evaluate eye injuries
1. ซักประวัติให้ละเอียด
2. วัด visual acuity
3. วัดลานสายตา (visual field)
4. ตรวจดูบริเวณหนังตาและบริเวณใกล้เคียงอย่างละเอียด ตรวจดูความลึกความกว้างของแผล มี involvement ของ canaliculi หรือไม่ มีรอยทะลุของลูกตาร่วมด้วยหรือเปล่า พลิกหนังตาดูมีสิ่งแปลกปลอมติดอยู่หรือไม่
5. คลำบริเวณรอบกระบอกตา มี crepitation หรือไม่ ค้นหา orbital
หรือ nasal fracture
6. ตรวจรูม่านตา และจดลักษณะของรูม่านตาที่ปรากฏ
7. ตรวจเยื่อบุตา มีรอยฉีกขาด สิ่งแปลกปลอม หรือบริเวณที่อยู่ใต้ลงไปมี scleral perforation
8. ตรวจกระจกตา
9. ดูช่องหน้าตา (anterior chamber) มีเลือด หนอง หรือมีการสั่นของ ม่านตา (iridodonesis)
10. ตรวจดู retina
11. ส่ง film orbit เพื่อดูสิ่งแปลกปลอม หรือดูรอยแตกของกระบอกตา

Lid and canalicular trauma
ในรายที่มีรอยฉีกขาดเข้าไปถึงขอบตาและ canaliculi ควรส่งต่อให้จักษุแพทย์ หากรอยฉีกขาดไม่กว้างและลึกมาก ให้เย็บแผลด้วยการดมยาสลบ ควรให้ prophylactic antibiotics, tetanus immunization ร่วมด้วย

Conjunctival และ Corneal foreign body
ในรายที่ตรวจพบมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ที่เยื่อบุตา หรือกระจกตาให้หยอดยาด้วย tetracaine eye drop หรือ ophthetic eye drop และเขี่ยออกด้วยไม้พันสำลีที่ sterile ในเด็กควรให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ หากต้องใช้เข็ม sterile เขี่ยสิ่งแปลกปลอม เนื่องจากเด็กจะไม่ค่อยยอมให้ความร่วมมือ ภายหลังเขี่ยออกแล้วป้ายยา antibiotic eye ointment และปิดตา 24 ชั่วโมง

Traumatic hyphema
ภาวะที่มีเลือดออกในส่องหน้าตา ให้ส่งต่อจักษุแพทย์

Subconjunctival hemorrhage
ภาวะเลือดออกใต้เยื่อบุตา หายเองได้ใน 1-2 สัปดาห์

Injuries of the conjunctiva
อาจตรวจพบมีการฉีกขาดของเยื่อบุตา และมีเลือดออกใต้เยื่อบุตา แต่ที่สำคัญ ควรตรวจให้พบว่ามีรอยทะลุของ sclera ร่วมด้วยหรือไม่ ควรส่งต่อจักษุแพทย์

ที่มา:วิสูตร  ฉายากุล

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า