สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

เรื่องพิษ FORMALDEHYDE

สถานการณ์โรคพิษจากสารเคมีที่ถูกไหม้ไฟ : กรณีไฟไหม้และระเบิดที่ท่าเรือคลองเตย กรุงเทพฯ เรื่องพิษ FORMALDEHYDE

นับถึงวันที่ 15 พฤษภาคม 2534 นี้ เป็นเวลาประมาณ 2 เดือนกับ 2 สัปดาห์แล้ว ที่ประเทศไทยได้มีภัยชนิด chemical disaster เกิดขึ้นในเขตกรุงเทพมหานคร ที่บริเวณท่าเรือคลองเตย ในเหตุการณ์ครั้งนั้น ผู้ได้รับผลกระทบทางสุขภาพมีจำนวนมาก ไม่เพียงเฉพาะแต่ผู้ที่ทำงานในการท่าเรือแห่งประเทศไทย ชุมชนเกาะลาว ชุมชน 70 ไร่ ชาวแฟลตคลองเตย และผู้อาศัยใกล้เคียงในรัศมีจากที่เกิดเหตุ 50 และ 100, 500 และ 1,000 เมตรตามลำดับ ยังรวมถึงผู้ที่สัญจรไปมาและมาติดต่อเรื่องราวต่างๆ ในบริเวณนั้นๆ อีกด้วย นอกจากนั้น ผู้อยู่ในรัศมีที่ไกลออกไปกว่า 1,000 เมตร เช่น ในรัศมี 10 กม.ก็มีรายงานการป่วยด้วย ซึ่งสอดคล้องกับที่ต่างประเทศในหลายประเทศกำหนดว่า ในรัศมี 10 กม.จากแหล่งมลพิษทางอากาศยังคงเป็นพื้นที่เสี่ยงสำหรับการได้รับมลพิษทางอากาศ

เมื่อพิจารณาเฉพาะสารสำคัญที่แพร่กระจายในบรรยากาศขณะเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว จะพบว่า formaldehyde เป็นสารที่มีปริมาณมากและก่อให้เกิดภาวะพิษเฉียบพลันโดยชัดเจนในครั้งนี้ จากการสำรวจระยะ 1 สัปดาห์แรกหลังเกิด ซึ่งพบได้ดังตารางที่ 1.

สำหรับระดับการสัมผัสสาร formaldehyde ในร่างกาย สามารถวัดได้จากการตรวจระดับกรด formic ในปัสสาวะ เนื่องจากเมื่อร่างกายได้รับสาร formaldehyde เข้าไปแล้ว จะถูกเปลี่ยนเป็นเกลือ formate และกรด formic แล้วขับออกมากับปัสสาวะในรูปของกรด formic เป็นส่วนใหญ่ ในกรณีระเบิดที่ท่าเรือคลองเตยนี้

ตารางที่ 1. อัตราเกิดพิษ formaldehyde แบบเฉียบพลัน ในประชาชนกลุ่มต่างๆ ในระยะ 1 สัปดาห์หลังเหตุการณ์ กรณีไฟไหม้คลังเก็บสารเคมีบริเวณท่าเรือคลองเตย กรุงเทพมหานคร มีนาคม 2534
health-0128 - Copy

ได้มีการสำรวจปริมาณกรด formic ในปัสสาวะของผู้ที่สัมผัสกับสารนี้ในระดับต่างๆ และในกลุ่มต่างๆ กัน ผลปรากฏดังตารางที่ 2.

เมื่อพิจารณาจะพบว่า ค่าเฉลี่ยของระดับกรด for¬mic ในปัสสาวะของผู้ที่ปฏิบัติงานใกล้ชิดที่สุดกับสารเคมีที่ระเบิดดังกล่าว มีค่าสูงมากถึงประมาณ 21 เท่าของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม (834/39=21, จำนวนในกลุ่มที่ใช้ค่อนข้างน้อย) โดยมีค่าสูงสุดเท่ากับ 4,860 ppm. และมีอัตราการพบผู้มีระดับกรด formic ในปัสสาวะสูงกว่าค่าที่ยอมรับได้ (มากกว่า 30 ppm.)

ตารางที่ 2. ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และอัตราผู้มีระดับกรด formic ในปัสสาวะสูงกว่าที่ยอมรับได้ (มากกว่า 30 ppm.) จากการสำรวจในกลุ่มต่างๆ ที่สัมผัสสารเคมีในกรณีระเบิดที่ท่าเรือคลองเตย มีนาคม 2534 เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม
health-0129 - Copy
ในกลุ่มผู้สัมผัสสารเคมีในอัตรา 85-100:100 ซึ่งเมื่อเทียบกับกลุ่มชาวชนบทแล้ว ไม่พบผู้ที่มีกรด formic ในปัสสาวะสูง สิ่งเหล่านี้สนับสนุนว่าผู้ที่สัมผัสสารเคมีกรณีระเบิดที่ท่าเรือคลองเตยได้รับสาร formaldehyde เข้าไปจำนวนมาก ซึ่งอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้ และต่อไปควรได้มีการติดตามผลกระทบทางสุขภาพ แบบเรื้อรัง ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ด้วย

อย่างไรก็ดี มีรายงานหลายฉบับยืนยันว่า สาร formaldehyde เป็น carcinogen ในสัตว์ทดลอง ดังนั้น การป้องกันการเกิดเหตุการณ์เช่นนี้จึงเป็นสิ่งเร่งด่วนที่ควรกระทำ และการจัดบริการทางการแพทย์ที่ จำเป็นแก่ผู้ที่ได้รับสารเคมีดังกล่าวยังควรต้องกระทำอย่างต่อเนื่องต่อไปด้วย

ที่มา:อรพรรณ์  เมธาดิลกกุล พ.บ., M.P.H.
ดิเรก  อึ้งตระกูล ป.ว.ส.
สำนักงานอาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
กรมการแพทย์, กระทรวงสาธารณสุข
พจนา  ภัทรดิลก วท.ม.
วันชัย  สุทธิทศธรรม วท.บ.
กองพิษวิทยา
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า