สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

เด็กไม่ยอมไปโรงเรียน (School refusal)

ลูกไม่ยอมไปโรงเรียน
หมายถึงการที่เด็กไม่ยอมไปโรงเรียน ซึ่งต่างจาก trauncy (หนีโรง เรียน) ซึ่งหมายถึงเด็กที่ออกจากบ้านแต่ไปไม่ถึงโรงเรียน หรือไม่เข้าห้องเรียน

สาเหตุ
จากสิ่งแวดล้อม เช่น ครูดุ เพื่อนแกล้ง หรือตัวเด็กเอง เช่น เรียน ไม่ทัน, separation anxiety, เจ็บป่วยทางกาย

ประวัติ
ถ้าตรวจพบสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ให้แก้ไขตามสาเหตุนั้นๆ

สำหรับสาเหตุจาก separation anxiety เป็นภาวะที่ต้องช่วยเหลือรีบ ด่วน เนื่องจากเด็กมักมาด้วยอาการเจ็บป่วยทางกายร่วมด้วย เช่น ปวดหัว ปวดท้อง ฉะนั้นในการตรวจเด็กจะต้องให้ละเอียดรอบคอบ เพื่อตัดสาเหตุทางกายให้ได้ แต่ต้องระวังไม่ทำการส่งตรวจมากเกินจำเป็น

ควรคิดถึงสาเหตุจาก separation anxiety เมื่อมีประวัติชี้นำดังนี้
-มีอาการในตอนใกล้ไปโรงเรียน โดยเฉพาะตอนเช้าๆ เมื่อให้หยุดเรียน อาการหายไป
-ไม่มีอาการผิดปกติในวันหยุด ยิ่งหยุดนานเมื่อเปิดเรียนเด็กยิ่งมีอาการมาก และไปโรงเรียนยากขึ้น
-พ่อแม่มีความกังวลในตัวเด็กมาก และมีแนวโน้มที่จะปกป้องและตามใจเด็กมากเกินไป
-อาจเริ่มต้นด้วยการเจ็บป่วยทางกายก่อน หรือพบมีประวัติอื่นๆ ด้วย เช่น การเจ็บป่วยของบิดามารดา บิดามารดาทะเลาะกัน หรือมีเหตุการณ์พิเศษอื่นๆ เป็นต้น

การรักษา
1. อธิบายและให้คำปรึกษาแนะนำ
-ให้ผู้ปกครองและเด็ก เข้าใจว่า เด็กมีร่างกายแข็งแรง และให้ผู้ ปกครองมั่นคง (firm) ในการที่จะเอาเด็กกลับเข้าเรียนโดยเร็วที่สุด
-ขอความร่วมมือจากครู เพราะว่าครูจะต้องเข้าใจและพร้อมที่จะให้ ความช่วยเหลือผู้ปกครองและเด็กในช่วงที่เด็กอยู่โรงเรียน
-ผู้ปกครองต้องไปรับให้ตรงเวลา อย่าปล่อยให้เด็กคอยนาน
-แพทย์ควรนัดผู้ปกครอง เพื่อช่วยแก้ปัญหาในระยะต้น สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ถ้าดีก็ห่างออกได้ แต่ควรมีการติดตามอยู่สม่ำเสมอ

2. ให้ยาคลายกังวลกับเด็กในระยะ 1-2 สัปดาห์แรก เช่น diazepam 2- 10 มก./วัน ในบางรายอาจให้ imipramine 25 มก. เช้า-เย็น หรือก่อนนอน (1-2 มก./กก./วัน)

3. ถ้ามีอาการมากในระยะแรกอาจต้องรับไว้ในโรงพยาบาลช่วงสั้นๆ

4. ถ้าเด็กมีอาการมากให้ปรึกษาจิตแพทย์ เพื่อจิตบำบัดและเพื่อช่วยเหลือระยะยาว

ที่มา:ปิยาณี  ชัยวัฒนพงศ์
ชาญวิทย์  เงินศรีตระกูล

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า