สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

อาการบวมในเด็ก

อาการบวม
อาการบวม (Edema in children)
อาการบวม หมายถึง ภาวะที่มีน้ำคั่งมากผิดปกติ ในส่วนของ interstitial space ซึ่งจะเห็นได้จากการตรวจร่างกาย อาจเกิดขึ้นเฉพาะที่ (localized edema) หรือเกิดทั่วทั้งตัว (generalized edema)

Localized edema พบเฉพาะที่ อาจเป็นบริเวณใบหน้าหรือแขนขา สาเหตุ ส่วนใหญ่เนื่องจาก trauma, โรคติดเชื้อของ subcutaneous tissues และ allergic reactions

Generalized edema ถ้าเป็นไม่มาก อาจจะมองเห็นเป็นเหมือน localized edema หรือตรวจพบว่ามีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น สาเหตุที่พบได้บ่อยมักเป็นผลจากการคั่งของน้ำและเกลือจากโรคทางระบบหัวใจ ตับ

สาเหตุ
1. โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ ภาวะหัวใจล้ม, pericardial effusion (& tamponade), โรคติดเชื้อ, rheumatologic diseases, และ vasculitis หรือ thrombosis เป็นต้น

2. โรคตับและระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ ตับอักเสบ ภาวะตับล้ม meta¬bolic diseases, biliary atresia, congenital hepatic fibrosis และ protein losing enteropathy เป็นต้น

3. โรคไต ได้แก่ nephrotic syndrome, glomerulonephritis, Henoch-Schonlein purpura เป็นต้น

4. อื่นๆ ได้แก่ protein malnutrition, urticaria reactions local trauma หรือ infections (cellulitis), syndrome of inappro-priate secretion of antidiuretic hormone, ยา เช่น estrogen, phenylbutazone, diazoxj.de, glucocorticoids เป็นต้น ได้รับเกลือเกิน, ความผิดปกติแต่กำเนิด เช่น lymphedema และ hypothyroidism เป็นต้น

แนวทางการหาสาเหตุ (ตามแผนภูมิ)
health-0191 - Copy
NOTE
1. การส่งตรวจ พิจารณาเป็นรายๆ ตามความเหมาะสม เพื่อการวินิจฉัย และการรักษา

2. สาเหตุเนื่องจากโรคหัวใจที่พบอาการบวมทั่วไป ได้แก่ ภาวะหัวใจล้ม pericarditis และ effusion อาการแสดงที่ชี้บ่งของภาวะหัวใจล้ม ได้แก่ หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว หัวใจโต ตับโตและเสียงปอดผิดปกติ ในเด็กที่มี pericardial effusion จะตรวจพบ pulsus paradoxus, muffled heart tones, ตับโต และ jugular venous distension ต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล

3. สาเหตุเนื่องจากโรคไต ได้แก่ glomerular diseases มักตรวจพบความผิดปกติของปัสสาวะ เช่น significant proteinuria เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยในเด็กวัยเรียน และวัยก่อนเรียน ถ้ามีประวัติบวมเป็นๆ หายๆ และตรวจพบ massive proteinuria ให้คิดถึง nephrotic syndrome ถ้าบวมอย่างฉับพลันมีปัสสาวะน้อย ตรวจพบ hematuria และความดันโลหิตสูงให้คิดถึง acute glomerulonephritis (post-infectious) โดยทั่วไปมักรับไว้รักษาในโรงพยาบาล

4. Henoch-Schonlein purpura มักจะบวมมากบริเวณขา ตรวจพบ purpuric eruption ถ้าไม่มีอาการทางไต หรือทางระบบทางเดินอาหาร อาจให้การรักษาเป็นผู้ป่วยนอกได้

5. ในกรณีที่อาการบวมเกิดจากภาวะหัวใจล้ม pericardial tamponade และ angioneurotic edema ต้องให้การรักษาอย่างรีบด่วน

ที่มา:ศิริ  ขอประเสริฐ

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า