สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

อาการชักจากไข้ (Febrile convulsion)

ชักจากไข้
เป็นการชักที่เกิดจากไข้ ในเด็กอายุระหว่าง 3 เดือนถึง 5 ปี โดยสาเหตุ ของไข้นั้นไม่ใช่การติดเชื้อในระบบประสาท ทั้งนี้ไม่รวมเด็กที่เคยมี nonfebrile sei¬zure มาก่อน มีอุบัติการประมาณร้อยละ 2-5 ของเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี

ตารางที่ 4 การเลือกใช้ยาตามชนิดของการชัก

health-0221

ตารางที่ 5  ขนาดของยากันชักที่ใช้บ่อย

health-0222

การจำแนกชนิดของอาการชักจากไข้
แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม โดยมีพยากรณ์โรคต่างกันดังนี้
health-0223 - Copy

การตรวจและวินิจฉัยโรค
1. การซักประวัติ และตรวจร่างกายอย่างละเอียดจะช่วยวินิจฉัยได้มาก

2. ตรวจหาสาเหตุของไข้

3. ต้องแยกโรคติดเชื้อในระบบประสาทออกไป โดยการเจาะตรวจน้ำไขสันหลัง โดยเฉพาะในรายที่

3.1 อายุน้อยกว่า 18 เดือน (เนื่องจากในเด็กเล็กอาจมีการติดเชื้อ ในระบบประสาท โดยตรวจไม่พบอาการระคายเคืองของเยื่อหุ้มสมอง)

3.2 หรือในรายที่

-อาการชักเกิดขึ้นหลังจากได้รับการรักษาจากแพทย์แล้วใน 48 ชั่วโมงที่ผ่านมา
(โดยปกติอาการชักจากไข้ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นใน 24 ชั่วโมงแรก หลังจากมีไข้ ดังนั้นรายที่ไข้ไม่สบายมาหลายวันก่อนชัก จึงน่าสงสัยการติดเชื้อในระบบประสาท)

-ยังมีการชักให้เห็นเมื่อมาถึงแพทย์
(ปกติอาการชักจากไข้ส่วนใหญ่จะชักสั้นๆ ไม่กี่นาที และครั้งเดียว หากการชักนั้นนานกว่าที่ควร ควรสงสัยการติดเชื้อในระบบประสาท)

-มีการชักเฉพาะที่

-การตรวจร่างกายยังมีข้อสงสัยการติดเชื้อในระบบประสาท เช่น ตรวจพบอาการระคายเคืองของเยื่อหุ้มสมอง หรือมีการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกมากเกินกว่าที่ควร

4. การตรวจสอบอื่นๆ ส่วนใหญ่ไม่จำเป็น นอกจากการตรวจบางอย่างเพื่อช่วยหาสาเหตุของไข้ เช่น การตรวจนับเม็ดเลือด ตรวจปัสสาวะ การส่งเพาะเชื้อจากเลือด หรือปัสสาวะ ในรายที่ต้องเจาะตรวจน้ำไขสันหลัง ต้องเจาะหาน้ำตาลในเลือด เพื่อเปรียบเทียบ ในรายที่มีอาเจียน ท้องร่วง ควรตรวจระดับอีเล็คโทรลัยต์ในเลือด การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองมักไม่จำเป็น เนื่องจากในระยะแรกหลังชักจะตรวจพบความผิด ปกติได้ถึงร้อยละ 90 และการตรวจพบคลื่นสมองผิดปกติไม่ได้เป็นเครื่องชี้บ่งโอกาสเกิด epilepsy ในภายหลัง

การรักษา
ก. การรักษาอาการขณะชัก มีสิ่งสำคัญที่ต้องทำไปพร้อมๆ กันคือ
1. ลดไข้โดยการเช็ดตัว
2. ดูแลทางเดินหายใจ
3. หยุดการชักด้วยยากันชักฉีดเข้าเส้นเลือดดำ เช่น diazepam ไม่ควร ฉีด diazepam เข้ากล้าม เนื่องจากจะไม่สามารถหยุดการชัก และยังอาจจะเกิดผลเสียเมื่อจะต้องให้ยากันชักอื่นร่วมด้วย

ข. การรักษาภายหลังหยุดชัก
1. หาสาเหตุของไข้ และให้การรักษา

2. การรับไว้ในโรงพยาบาล ปกติจะไม่จำเป็น นอกจากรายที่
-ต้องรับไว้รักษาสาเหตุของไข้ เช่น ปอดอักเสบในเด็กเล็ก
-มีปัญหาว่าอาจจะกินอาหารไม่ได้ เนื่องจากมีอาการอาเจียนมาก

3. ควรให้ยาป้องกันการชักต่อไป
-ระยะแรกให้เป็น phenobarbital ขนาด 5 มก./กก. ฉีดเข้ากล้าม หรือกินทุก 8 ชั่วโมงอีก 1-2 วัน
-เมื่อไข้ลงแล้วให้ยาต่อในขนาด 7 มก./กก./วันอีก 2-3 วัน

ค. การป้องกันการเกิดอาการชักซ้ำ

จากการประชุมร่วมกันของสถาบันสาธารณสุขแห่งชาติ (NIH) ของสหรัฐอเมริกา เกี่ยวกับอาการชักจากไข้ ได้แนะนำให้ยากันชักระยะยาวในกรณีที่

1. มีการตรวจพบความผิดปกติของระบบประสาท เช่น สมองพิการ ปัญญาอ่อน ขนาดศีรษะเล็ก เป็นต้น

2. ลักษณะชักผิดปกติ เช่น ชักนานกว่า 15 นาที ชักเฉพาะที่ หรือมีความผิดปกติทางระบบประสาทหลังชัก ไม่ว่าจะชั่วคราวหรือถาวร

3. มีประวัติชักโดยไม่มีไข้ในพ่อแม่ หรือพี่น้อง

4. อาจจะพิจารณาให้ในรายที่ชักหลายครั้งแล้ว

5. ในเด็กที่อายุน้อยกว่า 1 ปี
health-0226

ยากันชักที่ใช้ได้ผลในการป้องกันการชักจากไข้อีก ได้แก่

1. Phenobarbital ขนาด 5-7 มก./กก./วัน แบ่งให้วันละ 1-2 ครั้ง

2. Sodium valproate ขนาด 20-30 มก./กก./วัน แบ่งให้วันละ 2-3 ครั้ง โดยควรให้ติดต่อกันอย่างน้อย 2 ปี หรืออย่างน้อย 1 ปี หลังจากชักครั้งสุดท้าย โดยระยะเวลาที่ให้ยาทั้งหมดไม่ควรจะน้อยกว่า 2 ปี การหยุดยาควรลดยาลงช้าๆ อย่างน้อยในเวลา 1- 2 เดือน การใช้ dilantin เพื่อป้องกันชัก หรือการให้ pheno¬barbital เป็นครั้งๆ เวลามีไข้ จะไม่สามารถป้องกันชักจากไข้

ง. การให้ความรู้เกี่ยวกับการชักแก่พ่อ-แม่ หรือผู้ปกครอง

ที่มา:ศุภชัย  เจนจินดามัย

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า