สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

หูตึง/หูหนวก(Hearing loss/Deafness)

เป็นภาวะที่ได้ยินเสียงลดลง อาจได้ยินบ้างเล็กน้อยหรือไม่ได้ยินเลยก็ได้ มักเกิดจากสาเหตุได้หลายอย่างด้วยกัน เช่น แก้วหูทะลุ หูอักเสบ โรคเมเนียส์ ซิฟิลิส หูหนวกมาแต่กำเนิดซึ่งมักจะเป็นใบร่วมด้วย เกิดจากพิษของยา หูตึงในผู้สูงอายุ หรือหูตึงจากอาชีพ เป็นต้นหูตึง

ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะหูตึงในผู้สูงอายุ และหูตึงจากอาชีพเท่านั้น

หูตึงในผู้สูงอายุ
ผู้ชายสูงอายุมักมีโอกาสเป็นได้มากและมีความรุนแรงกว่าผู้หญิง ซึ่งมักเกิดจากประสาทหูเสื่อมตามวัย มักเริ่มแสดงอาการเมื่ออายุประมาณ 60 ปีขึ้นไป

ไม่มียาที่ใช้รักษาให้การได้ยินดีขึ้น หรืออาจต้องใช้เครื่องช่วยฟังถ้ามีความจำเป็น

หูตึงจากอาชีพ
มักเกิดอาการหูตึงได้ในผู้ที่ทำงานอยู่ในที่ที่มีเสียงดังขนาดมากกว่า 90 เดซิเบลขึ้นไปเป็นเวลานานๆ โดยเฉพาะในความถี่สูงๆ ไม่มีทางแก้ไขให้กลับคืนดีได้เนื่องจากเซลล์ประสาทหูถูกคลื่นเสียงทำลายอย่างถาวร

ผู้ป่วยมักจะได้ยินเสียงต่ำ เช่น เสียงเคาะประตู ได้ดีกว่าเสียงสูง เช่น เสียงกระดิ่ง เป็นอาการเริ่มแรก และอาการหูตึงจะค่อยๆ เป็นมากขึ้นจนถึงขั้นหูหนวกได้ถ้ายังคงทำงานอยู่ในที่ที่เสียงดังเช่นเดิม และอาการจะค่อยๆ ทุเลาไปได้เองถ้าเลิกทำงานในที่ที่เสียงดังนั้น

อาจต้องใช้เครื่องช่วยฝังเพื่อรักษาในรายที่มีอาการหูตึงอย่างถาวร

การป้องกัน ในผู้ที่มีอาชีพเสี่ยง
1. ขณะอยู่ในที่ทำงานควรสวมเครื่องป้องกันหู
2. ทำการทดสอบการได้ยินจากแพทย์เป็นระยะๆ
3. ควรเลิกทำงานในสถานที่เดิมและย้ายไปทำงานในสถานที่ที่ไม่มีเสียงดังหากเริ่มมีอาการหูตึงเกิดขึ้น

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า