สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

หูชั้นในอักเสบเฉียบพลัน(Acute labyrinthitis)

หูชั้นในอักเสบเฉียบพลัน(Acute labyrinthitis)
เส้นประสาทการทรงตัวอักเสบ(Vestibular neuronitis)
หูชั้นในประกอบด้วยอวัยวะ 2 ส่วน คือ อวัยวะหอยโข่ง จะมีหน้าที่ควบคุมการได้ยิน กับหลอดกึ่งวง 3 อัน มีหน้าที่ควบคุมเกี่ยวกับการทรงตัวโดยมีเส้นประสาทเชื่อมต่อกับสมอง เส้นประสาทแขนงที่เชื่อมระหว่างอวัยวะที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัวกับสมองมีชื่อว่า เส้นประสาทการทรงตัวหูชั้นในอักเสบเฉียบพลัน

อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียน บ้านหมุนอย่างรุนแรงคล้ายกัน และมักมีสาเหตุและการดูแลรักษาในแนวเดียวกันจากการอักเสบของหูชั้นในและเส้นประสาทการทรงตัว ซึ่งทั้ง 2 ชนิดนี้พบได้ในคนทุกวัย แต่พบบ่อยในวัยหนุ่มสาว

สาเหตุ
ยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนของการเกิดโรคทั้ง 2 ชนิดนี้ แต่เนื่องจากพบว่าบางรายเกิดอาการขึ้นหลังจากเป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนต้น เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น จึงเชื่อกันว่าเกิดจากการติดเชื้อไวรัส

อาการ
หูชั้นในอักเสบเฉียบพลัน มักจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลันด้วยอาการวิงเวียน บ้านหมุนอย่างรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน อาจเป็นอย่างต่อเนื่องนานเป็นชั่วโมงหรือหลายวัน ผู้ป่วยมักมีอาการหูตึงและมีเสียงดังรบกวนในหูข้างหนึ่งร่วมด้วย บางครั้งอาจต้องนอนพัก ทำงานไม่ได้ในรายที่เป็นแบบรุนแรง

อาการต่างๆ จะค่อยๆ ทุเลาไปได้เองหลังจากเริ่มมีอาการประมาณ 1 สัปดาห์ แต่เวลาเคลื่อนไหวศีรษะเร็วๆ เช่น ลุกจากเตียง ล้มตัวลงนอน ก้มหรือเงยศีรษะ หรือหันหน้าเร็วๆ อาจมีอาการบ้านหมุนชั่วประเดี๋ยวได้ แต่ไม่เกิน 1-2 นาที อาจมีอาการเป็นๆ หายๆ นานหลายสัปดาห์ แล้วจะหายไปเอง ส่วนอาการหูตึงอาจเป็นอยู่อย่างถาวรหรือค่อยๆ ทุเลาจนหายเป็นปกติได้

เส้นประสาทการทรงตัวอักเสบ จะไม่มีอาการหูตึงและเสียงดังรบกวนในหูร่วมด้วย แต่อาการอย่างอื่นมีแบบเดียวกับหูชั้นในอักเสบเฉียบพลัน

สิ่งตรวจพบ
มักตรวจพบว่าเมื่อกระตุ้นให้เกิดอาการบ้านหมุนและตากระตุกจากการทดสอบดิกซ์ฮอลล์ไพก์จะให้ผลเป็นบวก

ภาวะแทรกซ้อน
อาการบ้านหมุนอาจรุนแรงจนทำงานหรือขับรถไม่ได้อยู่ระยะหนึ่งแต่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง หรืออาจมีอาการบ้านหมุนจากการเปลี่ยนท่าอยู่นานเป็นสัปดาห์ตามมา หรือเกิดอาการหูตึงอย่างถาวรในบางราย

การรักษา
ให้ยาบรรเทาอาการบ้านหมุน อาเจียน เช่น ไดเมนไฮดริเนต ครั้งละ 1-2 เม็ด ซ้ำได้ทุก 6 ชั่วโมง ในรายที่อาการไม่รุนแรง และยังกินอาหาร ดื่มน้ำได้

ผู้ป่วยไม่ควรเคลื่อนไหวศีรษะในท่าที่ทำให้เกิดอาการ เช่น การขับรถ การทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร อาจต้องนอนนิ่งๆ บนเตียงจนกว่าจะทุเลาในบางครั้ง เมื่ออาการดีขึ้นอาจให้ยาต่อไปนาน 2-3 สัปดาห์จนกว่าจะหายเป็นปกติ

ควรนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลหรือปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด่วน ถ้าภายใน 1 สัปดาห์ อาการไม่ทุเลาลง หรือมีอาการบ้านหมุนรุนแรง อาเจียนบ่อยหรือกินอาหารและดื่มน้ำไม่ได้

แพทย์มักจะวินิจฉัยโรคจากลักษณะอาการเป็นหลัก หรืออาจต้องตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น ตรวจเลือด เอกซเรย์ ถ่ายภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ตรวจสมรรถภาพของการได้ยิน ตรวจคลื่นไฟฟ้าเกี่ยวกับอาการกระตุก เป็นต้น

แพทย์มักให้ยาบรรเทาอาการเพื่อรักษา แต่อาจต้องใช้ยาฉีด เช่น ไดอะซีแพม 5-10 มก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ หรือโพรคลอร์เพอราซีน 12.5 มก. ฉีดเข้ากล้าม หากมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน และค่อยเปลี่ยนเป็นยาเม็ดไดเมนไฮดริเจต 1-2 เม็ด หรือโพรคลอร์เพอราซีน 5-10 มก. ทุก 6 ชั่วโมง เมื่ออาการดีขึ้นและกินต่อไปจนกว่าจะหายเป็นปกติ

อาการจะค่อยๆ ทุเลาลงไปได้เองเป็นส่วนใหญ่เมื่อให้การรักษา ซึ่งบางรายอาจมีอาการอยู่หลายสัปดาห์หรือเป็นเดือน แล้วหายไปได้เองในที่สุดจากอาการเมารถเมาเรือง่าย หรือบ้านหมุนจากการเปลี่ยนท่า

ข้อแนะนำ
1. โรคหูชั้นในอักเสบ อาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ควรให้ยาปฏิชีวนะเช่นเดียวกับการรักษาหูชั้นกลางอักเสบโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพบเป็นภาวะแทรกซ้อนของหูชั้นกลางอักเสบ

2. อาจเกิดจากสาเหตุของเนื้องอกประสาทหู โรคเมเนียส์ ก็ได้จากอาการบ้านหมุน หูตึง มีเสียงดังรบกวนในหู และควรส่งปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยให้ชัดเจนหากให้การดูแลรักษาแบบหูชั้นในอักเสบแล้วอาการยังไม่ทุเลาภายใน 1-2 สัปดาห์

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า