สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

การส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันอันตรายจากสารเคมีในโรงงาน

ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า สารเคมีต่างๆ ที่ใช้อยู่ในโรงงานอุตสาหกรรมทั้งที่ใช้เป็นวัตถุดิบ ใช้ในขั้นตอนการผลิต หรือเป็นผลผลิต ต่างก็สามารถที่จะก่อให้เกิดอันตรายกับคนได้ รวมทั้งยัง เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

ในปัจจุบันแนวความคิดเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันอันตรายจากสารเคมีในโรงงานยังมีค่อนข้างน้อย หรือบางโรงงานอาจจะไม่มีเลย ซึ่งถ้าจะรอให้สารเคมีต่างๆ ที่ใช้เหล่านี้ก่อให้เกิดโรคหรือความเจ็บป่วยต่อคนงานขึ้นมาก่อน แล้วมาทำการักษาภายหลัง ผลที่ได้ย่อมจะไม่คุ้มกับผลเสียที่เกิดขึ้น เพราะสารเคมีที่ก่อให้เกิดโรคในคนนั้น บางครั้งไม่สามารถทำการรักษาได้ หรือรักษาแล้วก็ยังมีพยาธิสภาพหรือความพิการเหลืออยู่ รวมทั้งค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการรักษาก็ยังมากกว่าค่าใช้ในการป้องกันและส่ง เสริมสุขภาพ ซึ่งยังไม่ได้รวมถึงค่าเสียหายต่อสภาพแวดล้อมด้วย ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างมาก

การส่งเสริมสุขภาพในโรงงานนั้น มิได้จำกัดเฉพาะกิจกรรมเสี่ยงกับสุขภาพหรือโรคภัยไข้เจ็บที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีหรือการทำงานเท่านั้น กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพยังรวมถึงการส่งเสริมสุขภาพ ในด้านต่างๆ ของคนงานทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคมด้วย เช่น การเพิ่มสมรรถภาพของร่างกาย (fitness) การลดความเครียด การ เปลี่ยนหรือลดพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ได้แก่ การหยุดบุหรี่ หรือเหล้า เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการขยายไปถึงการส่งเสริมสุขภาพของสมาชิกในครอบครัวด้วย

ข้อดีของการส่งเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ
สำหรับคนงาน

1. สะดวกในการ เข้าร่วมและเสียค่าใช้จ่ายน้อย
2. สะดวกต่อการได้รับข้อมูลทางสุขภาพ รวมทั้งได้ข้อมูลตรงกับความสนใจและเกี่ยวข้องกับคนงานโดยตรง
3. ผู้ร่วมงานทุกคนสามารถที่จะร่วมสนับสนุน ให้กำลังใจ และ เป็นส่วนหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ในกิจกรรมนั้นด้วย
4. คนงานและผู้ร่วมงาน สามารถที่จะผลักดันให้เกิดเป็นนโยบายของโรงงาน ในการที่จะส่งเสริมสุขภาพของคนงาน

สำหรับนายจ้าง
1. สามารถลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลลง
2. เพิ่มกำลังผลิตและผลผลิต เพราะเมื่อคนงานมสุขภาพดีจะหยุดงานน้อยลง และการมีสุขภาพดี จะทำให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน
3. การมีสุขภาพที่ดีของคนงาน ทำให้คนงานอยู่ทำงานเป็น เวลานานขึ้นไม่เปลี่ยนงานบ่อย ก่อให้เกิดความรัก ความผูกพันกับโรงงาน สะสมประสบการณ์ในงาน พัฒนางาน ไม่ต้องหมุนเวียนคนงานบ่อยๆ ซึ่งจะทำให้ได้แรงงานที่ขาดประสบการณ์
4. การมีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ทำให้นายจ้างมีภาพพจน์ที่ดี ในสายตาของคนงาน

ลักษณะสำคัญของงานส่งเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ
การพิจารณาว่างานส่งเสริมสุขภาพที่มีในสถานประกอบการนั้น ประสบความสำเร็จหรือไม่พิจารณาได้จาก
-ระดับของการ เข้าร่วมของคนงาน
-ข้อมูลแสดงการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมของคนงาน
-คนงานมีความระมัดระวังในสุขภาพของตัวเองมากขึ้น
-กิจกรรม เป็นที่สนใจของคนงานอย่างสม่ำเสมอ

โดยทั่วไปลักษณะของกิจกรรมในด้านการส่งเสริมสุขภาพ มักจะมีลักษณะดังนี้คือ
1. เป็นการใช้ความรู้ทางด้านสุขภาพขั้นพื้นฐาน โดยการใช้วัตถุดิบหรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในโรงงาน หรือสนับสนุนจากสถานบริการทางด้านสาธารณสุขที่มีอยู่ในพื้นที่

2. ใช้องค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องที่มีอยู่ในพื้นที่มาเข้าร่วมสนับสนุนโครงงาน เช่น โรงพยาบาล ชุมชน สถานีอนามัย แรงงานจังหวัด เป็นต้น

3. ส่งเสริมให้คนงานระดับต่างๆ ของโรงงานเข้ามามีส่วนร่วม ทั้งในด้านการวางแผน และดำเนินการ

4. จัดดำเนินการให้เป็นโครงการหลักขึ้นมา โดยที่ต้องมีการจัดระบบการบริหารจัดการอย่างเป็นรูปธรรมชัด เจน ซึ่งจะต้องได้รับการสนับสนุนจากเจ้าของโรงงานหรือนายจ้าง

5. กระตุ้นให้คนงานมีความสนใจและมีส่วนร่วม

6. วางแผนและจัดการดำเนินงาน ในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการป้องกันโรค

7. กระตุ้นให้คนงานเกิดความตระหนักในปัญหาทางสุขภาพที่ตนเองประสบอยู่ โดยเฉพาะกรณีที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมของคนงานได้

บทบาทของบุคลากรทางด้านสาธารณสุขกับการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในโรงงาน
1. ช่วยในการศึกษา วิเคราะห์และค้นหา สิ่งที่จำเป็นสำหรับคนงาน ในงานส่งเสริมสุขภาพ

2. ประเมินผลและวัดความเปลี่ยนแปลงของโครงการ

3. ประสานกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพกับงานทางด้านสุขภาพอื่นๆ

องค์ประกอบของงานส่งเสริมสุขภาพ
เพื่อที่จะให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการมีสุขภาพที่ดีทั้งในบุคคลและองค์กร องค์ประกอบของงานส่งเสริมสุขภาพควรประกอบด้วย 3 ขั้นตอนคือ

1. การส่งเสริมสุขภาพระดับองค์กร (Organizational Health Promotion) คือขั้นตอนการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในระดับองค์กร  ซึ่งจะมีผลกระทบทางด้านบวก ในการเปลี่ยนแปลงทางสุขภาพ

2. การส่งเสริมสุขภาพในระดับบุคคล (Individual Health promotion) คือขั้นตอนการกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมและบุคคล ในการที่จะพัฒนาสุขภาพของตนเองในโครงการ

3. การปรับปรุงสภาพแวดล้อม (Environmental modification) คือการปรับปรุงสภาพแวดล้อม ทั้งในสถานประกอบการและรอบๆ โรงงาน ให้ดี เหมาะสม ปลอดภัย เพื่อก่อให้เกิดผลในการสนับสนุนการส่งเสริมทางสุขภาพ

ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. ศึกษาหาปัญหาทางด้านสุขภาพ และความสนใจของคนงาน

2. กระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของคนงาน

3. จัดหาและให้การอบรมแก่ตัวแทนที่จะมาดำเนินงาน

4. กระตุ้นความสนใจ และความตื่นตัวทางด้านสุขภาพของคนงาน

5. ยืนยันความมั่นคงในนโยบายส่งเสริมสุขภาพจากเจ้าของโรงงานหรือนายจ้าง

6. ประชาสัมพันธ์กิจกรรมหรือโครงการแก่คนงาน

7. จัดให้มีการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพของคนงาน (Health risk assessment)

8. จัดให้มีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านอื่นๆ ร่วมด้วย

9. จัดกิจกรรมในการลดความเสี่ยงต่างๆ จากโรคภัยไข้เจ็บ อย่างมีประสิทธิภาพ

10. สร้างให้คนงานเห็นความสำคัญของพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพ

11. สนับสนุนให้กิจกรรมดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

12. สร้างให้เกิดภาพสุขภาพที่ดีระดับองค์กร

สิ่งที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพ

1. โครงการมีลักษณะกระจัดกระจาย
2. โครงการมุ่งเน้นที่รายละเอียดของกิจกรรมที่จะกระทำมากกว่าผลทางสุขภาพที่จะได้รับ
3. โครงการมุ่งเน้นที่การป้องกันโรคมากกว่าการส่งเสริมให้มีสุขภาพดี
4. โครงการขาดการมีส่วนร่วมของคนงานในทุกระดับ
5. โครงการไม่ได้ให้ความสำคัญแก่กลวิธีในการดำเนินงาน
6. โครงการไม่มีพลังเพียงพอที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางสุขภาพ
7. โครงการมุ่งเน้นด้านการเปลี่ยนแปลงในระยะสั้นมากกว่าระยะยาว

สิ่งที่จะต้องพัฒนางานส่งเสริมสุขภาพในอนาคต
1. การให้ความสำคัญของงานส่งเสริมสุขภาพ ในนโยบายของโรงงาน
2. การหากลวิธีในการพัฒนางานส่งเสริมสุขภาพ แก่คนงานที่มีลักษณะเฉพาะต่างๆ เช่น คนสูงอายุ คนงานที่มีโรคประจำตัวเป็นพิเศษ เป็นต้น
3. การกระตุ้นให้มีการปรับปรุงงานส่งเสริมสุขภาพ และกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจน
4. การขยายงานไปยังโรงงานหรือสถานประกอบการขนาดเล็ก
5. การขยายงานไปยังภาคงานอื่นๆ เช่น ภาคเกษตรกรรม การให้บริการ เป็นต้น
6. การพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Control for Industrial Exposures
Def ini t ion
– Toxici ty
-Hazard
-Exposure

An effective program for control industrial exposures consists of 3 essential elements :
1. Hazard identification and evaluation
2. Establishment of correction and preventive measures
3. Evaluation of program effectiveness

Hazard identification
-The material safety data sheet (MSDS)
-Process flow sheets
-FaciIity diagrams

Hazard evaluat ion
-Walk-through survey
-Monitoring survey

Establishment of corrective and preventive measures
1. Control at the source
-Substitution of a less toxic material for one that is more toxic
-Change or alteration of a process to minimize employee
exposure

2. Control of the path
-Isolation or enclosure of a process or work operation to reduce employee explosure

-Localization of exhaust emissions at the point of generation, or localized dispersion of contaminants

-Generalized or dilution ventilation with clean air to reduce concentration of contaminants

-Dust-wetting methods to reduce generation of dust

3. Control at the reciever
-Personal protective equipment to prevent exposure through inhalation, absorption, and ingestion

-Training and education

-Good housekeeping practices in the workplace, with adequate provisions for the personal hygiene of employees
Evaluation of program effectiveness

-Periodic safety and health inspections of the work environment

-Accident/ Illness records

-Property damage reports

-Medical care costs

ที่มา:นายแพทย์สมเกียรติ  ศิริรัตนพฤกษ์
กองอาชีวอนามัย กรมอนามัย

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า