สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

สีผสมอาหารและการปนเปื้อนสีย้อมผ้าในอาหาร

ปัจจุบันอาหารที่ซื้อขายกันในท้องตลาด ผู้ประกอบอาหารขายได้พยายามย้อมอาหารด้วยสี เพื่อให้มองดูสวยงามน่ารับประทาน สีที่ใช้ย้อมส่วนใหญ่จะเป็นสีย้อมผ้า ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

จากการสำรวจของกรมวิทยาศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุขซึ่งได้ทำการเก็บตัวอย่างอาหารประเภทต่างๆ มาทำการตรวจสอบพบว่าอาหารที่ประชาชนบริโภคทุกวันนี้ย้อมสีแทบทั้งนั้น และส่วนใหญ่แล้วใช้สีย้อมผ้าที่เป็นอันตรายย้อมอาหารดังตัวอย่าง

ใช้สีย้อมผ้า 70% ประเภทอาหาร เช่น หมูกรอบ ไก่ย่าง หมูแดง ปลาย่าง ทอดมัน อาหารปรุงสำเร็จ ข้าวเกรียบ ปลากระป๋อง กุนเชียง กุ้งแห้ง แหนม ปลาแห้ง กะปิ น้ำปลา และอื่นๆ อีกมากล้วนแต่ใช้สีไม่ถูกต้องย้อมสีประมาณร้อยละ 70 (ใช้สีย้อมผ้า)

ใช้สีย้อมผ้า 80% ขนมเด็ก เช่น ลูกอม ลูกกวาด ทอฟฟี่ ขนมขี้หนู และอื่นๆ พบว่ามีการใช้สีที่ไม่ถูกต้องย้อมประมาณร้อยละ 80 (ใช้สีย้อมผ้า)

ใช้สีย้อมผ้า 90 % เครึองคืม นับตังแต่ น้ำขากาแฟ เหล้า เครํ่องดํ่มบำรุงกำลัง น้ำ หวาน น้ำตาล น้ำอัดลม ไอศครืม พบว่ามีการไข้สีไม่กุกต้องประมา{นร้อยละ 90 (ไข้สีย้อมผ้า)

ใช้สีย้อมผ้า 80 X ผลไม้ต่าง ๆ เข่น สับปะรคสด มะม่วงกวน พุทรากวน และขนมกวนอึน ๆ กิไข้สีทีไม่กุกต้องประมาณร้อยละ 80 (ไข้สีย้อมผ้า)

กระทรวงสาธารณสุข ตระหนักดีถึงอันตรายของสีที่ไม่ถูกต้องที่ประชาชนบริโภคกันอยู่เป็นประจำวัน จึงได้มอบให้องค์การเภสัชกรรมดำเนินการผลิตสีผสมอาหาร ซึ่งเป็นสีที่ถูกต้องได้มาตรฐานออกจำหน่ายเผยแพร่สู่ประชาชนให้แพร่หลายเพื่อลดอันตรายจากการใช้สีที่ไม่ถูกต้อง เช่น สีย้อมผ้า

สีที่มีจำหน่ายในท้องตลาด แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. สีย้อมผ้า เป็นสีที่มีสารพิษ เช่น โครเมียม, ตะกั่ว, ปรอทและสารหนูเจือปนอยู่มากมาย ใช้รับประทานไม่ได้ห้ามนำมาประกอบอาหารหรือเครื่องดื่ม สีประเภทนี้กระทรวงสาธารณสุขบังคับไว้ว่าห้ามใช้รับประทาน

สารพิษที่มีมักมีอยู่ในสีย้อมผ้าเหล่านี้ ถ้าร่างกายได้รับสารเหล่านี้เกินขนาดจะเกิดอาการพิษ ดังนี้

โครเมี่ยม ถ้าพอกพูนในร่างกายเกินขนาดจะทำไห้เป็นอันตรายมาก เกิดอาการเป็นพิษเฉียบพลัน มีอาการเวียนศีรษะ กระหายน้ำอย่างรุนแรง มีอาการอาเจียน หมดสติ และเสียชีวิตในเวลาต่อมาเนื่องจากไตไม่ทำงาน และปัสสาวะเป็นพิษ

ตะกั่ว ระยะแรกจะทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ โลหิตจาง ถ้ามีสะสมมากขึ้น ผู้นั้นจะมีอาการอัมพาตที่แขนขา สมองไม่ปกติ เพ้อ ชักกระตุก หมดสติในเวลาต่อมา

ปรอท ผู้ที่ได้รับสารนี้เข้าไปในจำนวนที่ถึงขีดอันตรายแล้ว จะเกิดอาการเฉียบพลันขึ้น เช่น คลื่นไส้ ท้องเดิน ปวดมวนท้องอย่างรุนแรง ถ้าเป็นเรื้อรังจะมีอาการเหงือกบวมแดงคล้ำ เนื้อบริเวณเหงือกตายฟันจะหลุดออกง่าย ผู้ป่วยจะเบื่ออาหารอ่อนเพลีย น้ำหนักลด

สารหนู ถ้าพอกพูนในร่างกายมากๆ จะเกิดอันตรายต่อประสาท เช่น ระบบทางเดินอาหารผิดปกติ ตับอักเสบ และเกิดอันตรายต่อวงจรโลหิตที่ไปเลี้ยงหัวใจ อาจทำให้หัวใจวายได้

สีผสมอาหาร เป็นสีที่ผู้ผลิตได้ใช้ความพยายามผลิตอย่างระมัดระวัง กรรมวิธี และขั้นตอนของการผลิตสีสังเคราะห์ประเภทนี้ ได้พยายามจำกัดสารพิษ ออกจากสีจนหมดสิ้น หรือมีสารอยู่ในสีผสมอาหารตามมาตรฐานอนามัยโลกได้กำหนดไว้ดังนี้

สารหนู มีไม่เกิน 3 มิลลิกรัม ต่อสี 1 กิโลกรัม

ตะกั่ว มีไม่เกิน 10 มิลลิกรัม ต่อสี 1 กิโลกรัม

โครเมียม มีไม่เกิน 20 มิลลิกรัม ต่อสี 1 กิโลกรัม

และโลหะชนิดอื่นๆ นอกจากตะกั่ว รวมกันแล้วไม่เกิน 30 ส่วนในล้านส่วนโดยน้ำหนัก

สีผสมอาหารขององค์การเภสัชกรรม
เป็นสีผสมอาหารที่กระทรวงสาธารณสุขได้อนุญาตให้ใช้แต่งอาหารได้นั้นถูกต้องตามมาตรฐานที่กระทรวงได้กำหนดไว้ ขณะนี้องค์การเภสัชกรรมได้ผลิตออกจำหน่ายสนองความต้องการตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข โดยผลิตออกจำหน่ายทั้งหมด 7 สี ทั้งชนิดผงและชนิดน้ำคือ

1. สีแดง เบอร์ 1 (Ponceau 4R) ชนิดผง 1 กรัม, 5 กรัม, 500 กรัม ชนิดน้ำ 60 มล.

2. สีเหลีอง เบอร์ 1 (Tartrazlne) ชนิดผง 1 กรัม, 5 กรัม, 500 กรัม ชนิดน้ำ 60 มล.

3. สีเหลือง เบอร์ 2 (Sunset Yellow FCF) ชนิดผง 1 กรัม, 5 กรัม, 500 กรัม ชนิดน้ำ 60 มล.

4. สีเขียว เบอร์ 1 (Tartrazine Indigocarmine 1 ซ1) ชนิดผง 1 กรัม, 5 กรัม

5. สีเขียว เบอร์ 2 (Tartrazine & Indiocarmlne 1: 2.45) ชนิดผง 1 กรัม, 5 กรัม

6. สีฟ้า (Brilliant Blue FCF) ชนิดผง 1.5 กรัม

7. สีชมพู (Erythros1ne) ชนิดผง 1.5 กรัม

ดังได้กล่าวมาแล้วทั้งหมด จะเห็นว่าสีย้อมผ้ามีอันตรายมากผลิตออกมาด้วยวัตถุประสงค์อันมิใช่เพื่อผสมอาหาร และใช้รับประทานไม่ได้

วิธีที่ปลอดภัยแล้วประชาชนควรหลีกเลี่ยงเรื่องการบริโภคอาหารที่แต่งสีต่างๆ แต่หากมีความจำเป็นต้องการจะแต่งสีอาหารแล้วก็เลือกใช้สีธรรมชาติ หรือสีสังเคราะห์ประเภทที่ใช้เป็นสีผสมอาหารตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศอนุญาตให้ใช้ได้เท่านั้นซึ่งขณะนี้องค์การเภสัชกรรมได้ผลิตออกจำหน่าย เพื่อสนองความต้องการของประชาชนตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขแล้วตามที่กล่าวมาข้างต้น

ที่มา:สุวรรณี  โชติพนัง
นักวิชาการสิ่งแวดล้อมสนง.อาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อม โรงพยาบาลราชวิถี

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า