สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

สารพิษจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีกับความรับผิดชอบของสังคม

ประ เทศไทยรับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีจากประเทศทางตะวันตกมานานนับเป็นศตวรรษ โดยเฉพาะช่วงที่ประเทศไทยเริ่มตั้งแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 1 ในปี 2503 (คณะกรรมการประสานงาน โครงการปีรณรงค์คุณภาพชีวิตของประชาชนในชาติ กระทรวงสาธารณสุข 2529) อิทธิพลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในประเทศไทย ทั้งในรูปของสิ่งสาธารณูปโภค ความสะดวกสบายและวิถีชีวิตของคนไทย ความทันสมัย (Modernization) ได้ปรากฏให้เห็นทั่วไปในประเทศ แนวทางการพัฒนาลักษณะนี้มีการวิเคราะห์ของนักวิชาการว่า ผลพวงของการพัฒนาลักษณะดังกล่าว ถ้าระยะเวลาล่วงเลยมาพอสมควรแล้วมองเห็นผลลบเกิดขึ้น เช่น ความเสื่อมของสิ่งแวดล้อม การขาดแคลนที่อยู่อาศัย และความแตกต่างของคนรวยคนจนมากขึ้น การพัฒนาลักษณะดังกล่าว ถือได้ว่าถูกกำหนดโดยประเทศพัฒนาแล้วที่มุ่งใช้ทรัพยากรของประเทศด้อยพัฒนาหรือกำลังพัฒนา เป็นสำคัญ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การพัฒนาประเทศในฐานะเมืองขึ้น (Colonization) ของประเทศทางตะวันตก ตัวอย่างของการพัฒนาลักษณะเช่นนี้ ปรากฏในประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ เช่น อินเดีย บังคลาเทศ อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ เป็นต้น ประเทศไทยแม้นจะไม่ใช่ประเทศเมืองขึ้นของประเทศตะวันตก แต่แนวทางการพัฒนาโดย เฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม และความแตกต่างของคุณภาพชีวิต คนนั้น มีสัญญาณบอกว่ามีลักษณะคล้ายกัน การพัฒนาประเทศโดยการใช้อุตสาหกรรมเป็นปัจจัยนำได้ทำให้มีการใช้และนำเทคโนโลยีก้าวหน้าในการสร้างผลิตภัณฑ์ แม้แต่การเกษตรก็ถูกนำเทคโนโลยีที่เป็นอันตราย การใช้การกำจัดศัตรูพืชและศัตรูสัตว์ เพื่อการเพิ่มผลผลิตทาง เกษตร สิ่งเหล่านี้เป็นสารพิษทางเกษตร ต่อคุณภาพของดินและสิ่งแวดล้อมด้านอุตสาหกรรมมีสารพิษมากมายนับร้อยประเภทที่ถูกนำ เข้ามาในประเทศ (กองอาชีวอนามัย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข 2533) ส่วนมากประชาชนทั่วไปจะไม่ทราบว่าประเทศได้เก็บสารพิษดังกล่าวไว้ ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสารพิษถูกเก็บเป็นความลับ และการ สร้างความเข้าใจของรัฐกับสาธารณชนไม่มีข้อมูลและข่าวสาร เกี่ยวกับสารพิษจะถูกเปิดเผยเมื่อมีอุบัติเหตุจากสารพิษดังกล่าวเกิดขึ้น เช่น กรณีเรือบรรทุก Vinyl ChIoride Monomer (VCM) ซึ่งเป็นสารวัตถุดิบสำหรับทำพลาสติก เกิดล่มและรั่วในบริเวณปากอ่าวไทยเมื่อเร็วๆ นี้ กรณีไฟไหม้และระเบิดที่คลังสินค้าของการท่าเรือคลองเตย เมื่อเดือนมีนาคม 2534 ซึ่งในคลังสินค้ามีสารเคมี เช่น Methyl Bromide และ ParaformaIdehyde ผลของอุบัติเหตุดังกล่าวทำให้ประชาชนที่อยู่บริเวณ Methyl Bromide และ Paraformaldehyde ผลของอุบัติเหตุดังกล่าวทำให้ประชาชนที่อยู่บริเวณรอบๆ เกิดปอดอักเสบ และอาจ เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ความอันตรายของสารพิษที่มากับการพัฒนา อุตสาหกรรมและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี จึงเป็นจุดประสงค์ของบทความนี้ที่จะแสดงให้เห็นผลซึ่งกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและสังคมในฐานะองค์กรรวมของประชาชนมีความรับผิดชอบอย่างไร

สารพิษ เป็นตัวการก่อให้เกิดวิกฤตการภาวะแวดล้อมของโลกและชุมชน แนวคิดที่ถือว่า ประเทศจะเจริญก้าวหน้าต้องมีการพัฒนาอุตสาหกรรม จึงทำให้ประเทศต่างๆ มากมายประสบกับบัญหาความเสื่อมของภาวะแวดล้อม การให้ความสนใจกับความปลอดภัยในอดีตต่อสารพิษนับว่าน้อย และการกำจัดขยะสารพิษ การควบคุมมลพิษยังอยู่ในระดับต่ำ จนทำให้เกิดความวิตกกังวลว่าโรงงานที่ทันสมัยต่างๆ บรรจุด้วยสารพิษจะระเบิดขึ้นมาเมื่อใดก็ได้หรือยิ่งไปกว่านี้ ถ้ามีโรงงานผลิตไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์อยู่ใกล้ การระเบิดที่อาจเกิดขึ้นนั้นจะมีอันตรายมหาศาล (Khor Kok Peng 1987) ความบกพร่องของ มนุษย์นั้นอยู่ในขั้นที่มีความเสี่ยงสูงมาก โดยเฉพาะคุณภาพและระ เบียบวินัยของคนในประเทศกำลังพัฒนา ยังอยู่ในมาตรฐานที่จะสร้างความมั่นใจในการควบคุมความบกพร่อง ยังมีอยู่ต่ำ เช่น มีความเผลอเลอ และความผิดพลาดบ่อยและมาก บางประเทศให้ความสำคัญต่อการควบคุมสารพิษที่มีผลต่อภาวะแวดล้อม แต่บางประ เทศยอมแลก เปลี่ยนโดยการนำเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์จากประ เทศพัฒนาแล้ว เพื่อต้องการให้ประเทศได้ถูกยอมรับว่า เป็นประเทศในกลุ่มพัฒนา โดยยอมรับการเกิดมลพิษและยอมรับมาตรฐานความ ปลอดภัยในการทำงาน การดำเนินชีวิตของประชาชนต่ำ ภาวะการณ์เช่นนี้ เมื่อดำเนินไปเกิดภาวะพะอักพะอวนทางเศรษฐกิจ การ เงินและเทคโนโลยีกับผลกระทบจากสารพิษต่อชีวิตของคน สุขภาพของคนอยู่ในภาวะน่าวิตก มีอาการเรื้อรังสูง (Chronic Toxicity) เมื่อได้รับผลจากสารพิษซ้ำๆ หลายครั้ง เป็นระยะเวลาพอสมควร ก็จะทำให้ตับ ไต และสมองมีสารพิษสะสมซึ่งมีผลต่อการ เติบโตของเซล นำไปสู่การเกิดมะเร็ง (Carcinogenicity) มีผลต่อเนื่องไปสู่การถ่ายทอดทางพันธุกรรม (Mutagenicity) และนำไปสู่การผิดปกติพิการในทารก (Terratogenicity)

ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ยังปรากฏในชุมชนเกษตรกรรมซึ่งมีความเข้าใจในสารพิษต่างๆ น้อย ดังเห็นจากการใช้สารพิษของเกษตรกร ซึ่งปฏิบัติในสารพิษตามฉลาก เพียงร้อยละ 21 ส่วนมากเกษตรกรใช้สารพิษผสมกันมากกว่าหนึ่งชนิด และใช้สารพิษเกินที่ระบุไว้ในฉลากถึงร้อยละ 92.5 แจะ 79 ตามลำดับ ในช่วงการใช้สารพิษก็ปรากฏว่ามีการใช้ผ้าปิดจมูก และใส่ถุงมือเพียงจำนวนไม่เกินร้อยละ 2 ขณะใช้สารพิษมีการสูบบุหรี่ถึงร้อยละ 95 ผลดังกล่าว เป็นข้อมูลจากการศึกษาวิจัยแต่ในทางที่ปรากฏให้เห็นทั่วไปก็พบว่า มีการนำสารพิษไปใช้ในการทำร้ายตัวเอง เช่น ฆ่าตัวตายและการประกอบอาชญากรรม ตลอดจนการฆ่าสัตว์ เบื่อปลา และแม้แต่การปฏิบัติในการประกอบอาชีพ เช่น การใช้สารฆ่าแมลง เพื่อป้องกันและกำจัดหนอนในอาหารประเภท ปลา เนื้อหมู และเนื้อวัว นอกจากนี้ยังใช้สารฆ่าแมลงประเภท Parathion ในการกลั่นสุรา หรือการใช้สาร Formalin ในการรักษาพืชผักและ เนื้อสัตว์ เพื่อการเก็บรักษาไว้ได้นาน เป็นต้น

เพื่อให้เกิดความตระหนักในสารพิษที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน จึงนำเสนอสารพิษที่ทำให้เกิดโรคได้คือ

สารตะกั่ว – เป็นการนำสารตะกั่วเพื่อการซ่อมแบตเตอรี่ หล่อตัวพิมพ์ หลอมแผ่นตะกั่ว สำหรับแบตเตอรี่ ขบตะกั่วทำลูกปืนและตุ้มถ่วงแหจับปลา เผาเปลือกแบตเตอรี่ในโรงงานทำน้ำตาล วงจรอิเลคโทรนิคส์ เหมืองแร่ ผลของสารตะกั่วคือ เป็นพิษต่อเม็ดเลือดแดงทำให้โลหิตจาง มีพิษต่อระบบทางเดินอาหาร ไต สมองและประสาทส่วนปลาย

สารปรอท – เป็นสารพิษที่ก่อให้ เกิดโรค Minamata ในประเทศญี่ปุ่นมาแล้วอย่างชัดเจน แต่ก็มีการใช้สารนี้ในอุตสาหกรรมทำกระดาษ พลาสติก หลอดไฟฟ้า ทำสีทาบ้าน กระจก ปรอทวัดคนไข้ หมวกสักหลาด ตะเกียงอุตร้าไวโอเลต สารกำจัดเชื้อรา และวัสดุอุดฟัน ผลของสารปรอทก็คือ เมื่อสูดหายใจเข้าไปจะเกิดอาการปอดอักเสบ ทำลายตับ ไต และระบบประสาทส่วนกลาง ได้แก่ สมอง

สารหนู – พิษของสารหนูเห็นได้จากกรณีเหมืองเก่า ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มีสารหนูปะปนอยู่ เมื่อสารหนูถูกฝนชะลงสู่แหล่งนํ้ากินนํ้าใช้ในบริเวณใกล้เคียง ทำให้ผู้อาศัยได้รับสารหนูในร่างกาย และก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้

สารฟอร์มาลดีไฮด์ – สารพิษที่ใช้อุตสาหกรรมสารฆ่าเชื้อรา ฆ่าเชื้อโรค ไหมเทียม สิ่งทอ กาว สีย้อม (Dye) หมึก กระจก วัตถุระเบิด อุตสาหกรรมถ่ายรูป เฟอร์นิเจอร์ ผลของสารนี้จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อตา ระบบทางเดินหายใจ ปอดบวมนํ้าถึงตายได้ และสารฟอร์มาลดิไฮด์นี้ ยังเป็นสารก่อมะเร็ง (Carcinogen) ในสัตว์ทดลอง

สารแคดเมียม – เป็นสารที่ก่อให้เกิดโรค Itai Itai ซึ่งนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาบเหล็กและเหล็กกล้า เพื่อป้องกันสนิม ผสมทองแดงทำลวดตัวนำไฟฟ้า ผสมอลูมิเนียมใช้ในการหล่อแบบ ผสมกับเงินมิให้ดำง่าย ทำโลหะบัดกรีแทนดีบุก อุตสาหกรรมฝาประกับเพลารถยนต์ สารพิษนี้ เมื่อสูดหายใจเข้าไป เกิดปอดอักเสบ ตับไต เสื่อมเสีย มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

ก๊าชคาร์บอนมอนอกไซด์ – เกิดจากท่อไอเสียรถยนต์และยานพาหนะต่างๆ ที่เกิดการสันดาป ที่ไม่สมบูรณ์ ของสารที่มีส่วนประกอบของคาร์บอน เตาเผา การเผาไหม้เชื้อเพลิง การผลิตพลังงานในภาคอุดสาหกรรมและเครื่องยนต์ต่างๆ จาก Methylene Chloride ซึ่ง เป็นสารที่ใช้ในการลอกสี เมื่อรวมกับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง เกิด CarboxyhemogIobin ทำให้เกิดการแลก เปลี่ยนอ๊อกซิเจนไม่ได้ ร่างกายขาดอ๊อกซิเจน

สารเบนซิน – ใช้ในอุตสาหกรรมทำสีย้อม Dye หนัง เทียม พรมนํ้ามัน เคลือบเงาแลคเกอร์ เรซิน ขี้ผึ้ง น้ำมันเชื้อเพลิง กาว ผงซักฟอก ยาง เชื่อมโลหะ เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ ผลกระทบจากสารพิษนี้ คือ เกิดโรคทาง เดินระบบหายใจ ผลระยะยาวก่อให้เกิดมะเร็งในคน

สารแอสเบสตอส – ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมผลิตผ้าเบรก คลัชท์ ปั่นทอทำวัสดุและฉนวนกันความร้อน ผลิตกระเบื้องซีเมนต์ ฯลฯ ผลของการใช้สารพิษนี้ คือ เมื่อสูดหายใจเข้าไปทำให้เกิดโรคปอดแข็ง (Asbestosis) มะเร็งของเยื่อหุ้มปอดและช่องท้อง (Mesothelioma) และมะเร็งปอดได้

สารแมงกานีส – ปรากฏมีการใช้แพร่หลายในโรงงานผลิตถ่านไฟฉาย งานเหมืองแร่โรงงานหลอมเหล็ก ผู้ที่ได้รับสารพิษนี้มักเกิดอาการระคายเคือง มีผลต่อระบบหายใจ ปอดบวม และทำลายระบบ ประสาทส่วนกลางได้แก่ สมอง อัมพาตของร่างกายบางส่วน

ไวนิลคลอไรด์ – (Vinyl ChIoride Monomer) เป็นสารพิษทีใช้ในอุตสาหกรรมทำ PVC (Polyvinyl Chloride) และ เรซินอื่นๆ ยาง Organic Synthetizers ระคายเคืองต่อผิวหนัง และตา กดระบบประสาทส่วนกลาง สัมผัสนานๆ ทำให้เกิดกระดูกปลายมือคลาย เท้า เสื่อม เจ็บปวดมือและเท้าเมื่อถูกความเย็น (Raynaud’s Phenomenon) ผิวหนังแข็ง ตับถูกทำลาย และมะเร็งตับได้

จากการ เสนอสารพิษที่กล่าวมา เห็นได้ว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมของประเทศไทย ทำให้มีการขยายตัวนำสารพิษเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิตทางเกษตรกรรม และอุตสาหกรรม จำนวนโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นจำนวนมาก รวมแล้วเป็นหมื่นๆ โรงงาน มีคนงานนับเป็นหมื่นเป็นแสน และครอบครัวตลอดจนชุมชนที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของโรงงานนับเป็นแสนเป็นล้านคน การตระหนักถึงภัยของ สารพิษน่าจะเป็นมาตรการหนึ่งในการป้องกันความเสื่อมโทรมจากมลภาวะ และคุณภาพชีวิตของประชาชนคนไทย ประเทศจะมีการพัฒนาที่ดีและผลของการพัฒนาจะมีต่อคนก็คือ การตระหนักสร้างวิธีการป้องกันสารพิษต่างๆ ซึ่งมีอยู่เกือบทุกขั้นตอนของการอุปโภคและบริโภค ลักษณะอาการที่เป็นผลจากสารพิษต่างๆ นั้น สามารถสร้างมาตรการป้องกัน (Intervention) ได้เหมาะสมตามขั้นตอนของผลกระทบจากสารพิษ และการสะสมของร่างกายซึ่งแบ่งได้เป็น
(1) อาการเฉียบพลัน และ (2) อาการเรื้อรัง และอาการทั้งสองลักษณะดังกล่าวมีที่มาจากการรับสารพิษ 3 ทางคือ ทางผิวหนัง ทางหายใจ และทางปาก ดังนั้น มาตรการป้องกับทางสาธารณสุข (Health Intervention) จึงต้องสร้างให้สอดคล้องกับเงื่อนไขทางสังคม และวัฒนธรรมของคนตามกลุ่มอาชีพต่างๆ หรือตามเงื่อนไขสภาพการดำเนินชีวิตของคนในภูมิภาคต่างๆ การผสมผสานความรู้ทางสังคมและวัฒนธรรม น่าจะช่วยให้การสร้างมาตรการป้องกันสารพิษเกิดความเหมาะสมสอดคล้องกับคนในภูมิภาคต่างๆ ระดับการศึกษา ขนบธรรมเนียม ประเพณี และค่านิยม

ที่มา:นพ.วิวัฒน์ เธียระวิบูลย์
ดร.สันทัด เสริมศิริ

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า