สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

ลักษณะของโรค Lid and orbital cellulitis

Lid and orbital cellulitis1234

เป็นโรคแทรกซ้อนทางตาที่ถือว่ามีความรุนแรง ซึ่งอาจเกิดมาจากการติดเชื้อบริเวณ ocular adnexa และ orbit ลักษณะทางกายวิภาคเป็นส่วนประกอบที่ทำให้หนังตาและกระบอกตามีการติดเชื้อได้ง่าย และทำให้การอักเสบรุนแรงได้แก่ ลักษณะโครงสร้างของหนังตาค่อนข้างจะพิเศษ กระบอกตามีลักษณะเป็น “closed box” อยู่ใกล้เคียงกับ paranasal sinuses ไม่พบมี lymphatic drainage system ภายในกระบอกตา และมีการติดต่อของหลอดเลือดดำกับโครงสร้างข้างเคียงอย่างมากมาย

สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การแยกขบวนการอักเสบที่เกิดหน้า orbital septum (preseptal cellulitis) ออกจากขบวนการอักเสบที่เกิดภายในกระบอกตา (orbital cellulitis) Orbital septum จะแบ่งหนังตาออกจากกระบอกตา microbial preseptal cellulitis มักเกิดจาก direct inoculation ที่ตามหลัง trauma หรือโดยการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากผิวหนังบริเวณข้างเคียง Orbital cellulitis เกิดจากการติดเชื้อที่มาได้หลายทาง ได้แก่ direct inoculation จาก trauma, การแพร่กระจายจากบริเวณข้างเคียง (เช่นหนังตา paranasal sinuses, dental infections, intracranial infections) และการแพร่กระจายจากส่วนอื่นของร่างกาย

Preseptal cellulitis
เกิดขึ้นได้บ่อยภายหลัง laceration, puncture wounds หรือได้รับ blunt trauma รอบๆ กระบอกตา

ลักษณะทางคลินิก หนังตาบวม แดง กดเจ็บ ในรายที่รุนแรงอาจจะเปิดตาได้ลำบาก เนื่องจากตาบวมมาก สามารถมองไปในทิศต่างๆ ได้โดยไม่ปวด สายตาเป็นปกติ อาจมีไข้ต่ำๆ และเม็ดเลือดขาวสูง

เชื้อที่พบได้บ่อยที่สุดสำหรับ bacterial preseptal cellulitis คือ
Staphylococcus aureus ชนิดที่เกิดในเด็กอายุระหว่าง 6 เดือน – 3 ปี และมีลักษณะจำเพาะ เชื้อที่เป็นสาเหตุคือ Hemophilus influenzae

การรักษา ต้องรับไว้ในโรงพยาบาลเพื่อให้ยาปฏิชีวนะ และผ่ากรีดหนองออก เมื่อมี fluctuation และตรวจเชื้อจากหนอง

Orbital cellulitis
สาเหตุที่พบได้บ่อยของ bacterial orbital cellulitis ในเด็ก คือ paranasal sinusitis ในเด็กที่อายุน้อยกว่า 10 ปี แหล่งของการติดเชื้อที่พบได้บ่อยสุดคือ ethmoiditis

อาการและอาการแสดง ขึ้นอยู่กับ sinus involvement และการตอบสนองต่อเชื้อแบคทีเรีย อาการที่พบได้แก่ ไข้ หนังตาบวม น้ำมูกไหล

ถ้าการติดเชื้อเป็นมากขึ้นจะพบอาการ orbital pain ปวดศีรษะ เจ็บเมื่อ ตรวจหนังตา หนังตาบวมแดง ร้อน ตาแดง (conjunctival injection) และ chemosis มี proptosis (anterior displacement of globe) กลอกตาไม่ได้เต็มที่ และปวดตาเวลากลอกตาด้วย

การวินิจฉัย อาจตรวจเพิ่มขึ้นโดย sinus roentgenograms, orbital sonography, computed tomographic scan (CT)

การรักษา ต้องรับไว้ในโรงพยาบาลเพื่อตรวจหาเชื้อที่เป็นสาเหตุ ให้ยา ปฏิชีวนะทางหลอดเลือด กรีดหนองออกจากไซนัสด้วยในรายที่รักษาทางยาไม่ได้ผล

ที่มา:วิสูตร  ฉายากุล

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า