สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

ยาคลายความวิตกกังวลหรือยากล่อมประสาทอย่างอ่อน

ยากล่อมประสาทอย่างอ่อนออกฤทธิ์ที่ limbic system เป็นส่วนใหญ่ และส่วนน้อยที่ reticular activating system ยานี้มีคุณสมบัติ

ก. บรรเทาอารมณ์วิตกกังวล และความตึงเครียด

ข. ทำให้สงบ

ค. ทำให้หลับ

ง. ทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว

จ. แก้อาการชัก

ฉ. ช่วยเสริมฤทธิ์ของยาและสารจำพวกยาชาหรือยาสลบ (anesthetic agents) ยานอนหลับและสุรา และถูกเสริมฤทธิ์โดยยาประเภท narcotics, monoamine oxidase inhibitors, tricyclic antidepressants, barbitiirates และ phenothia- zines ประกอบด้วย

๑. พวก Meprobamate ยากลุ่มนี้เลิกใช้แล้วในปัจจุบัน เพราะทำให้เสพติด

๒. พวก Benzodiazepines กำลังเป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง

๓. พวก Diphenyl methanes ยากลุ่มนี้ใช้กันน้อยจึงไม่ขอกล่าวในที่นี้

การที่ยากลุ่ม benzodiazepines เป็นที่นิยมเพราะ

๑. มีฤทธิ์กดศูนย์ควบคุมการหายใจในสมองส่วนกลางน้อยกว่ายาพวก meprobamate และ barbiturate ทำให้มีอันตรายน้อยกว่า

๒. ทำให้เกิกการทนยา (tolerance) น้อยกว่าพวก meprobamate และ barbiturate

๓. เกิดอาการทางกายเมื่อขาดยา (physical dependence) น้อยกว่า meprobarmate และ barbiturate มักจะเกิดต่อเมื่อใช้ยาเป็นเวลานานและในขนาดสูง

๔. ออกฤทธิ์ยาวนานกว่า meprobamate ทำให้ไม่ต้องใช้ยาบ่อย

กลุ่ม benzodiazepines ประกอบด้วย

Chlordiazepoxide (Librium, Elenium)

Diazepam (valium, Paxate, Zepaxid)

Oxazepam (serax)

Flurazepam (Dalmadorm)

Nitrazepam (Mogadon)

Clorazepate (Tranxene)

Temazepam (Levanxol)

Medazepam (Nobrium)

Prazepam (Prasepine)

Diazepam และโดยเฉพาะ nitrazepam ลด electric activity ของ amygdala มากกว่า chlordiazepoxide จึงมีฤทธิ์ทำให้หลับมากกว่า

ข้อบ่งชี้ในการใช้

๑. กลุ่มอาการวิตกกังวลต่างๆ

๒. โรคพิษสุราเรื้อรัง (chronic alcoholism) และโรค Delirium tremens

๓. อาการชักจากสาเหตุต่างๆ เช่น โรคลมชัก อาการชักจากการติดเชื้อของสมอง หรือเนื้องอกของสมอง หรือในโรคพิษแห่งครรภ์ (eclampsia) เป็นต้น

๔. ใช้เป็น premedication ก่อนการผ่าตัด หรือก่อนการตรวจร่างกายบางอย่าง เช่น การใช้กล้องส่องดูปอด ดูกระเพาะ หรือดูในช่องท้อง

๕. โรคทางกาย ได้แก่ ความดันโลหิตสูง (Hypertension) หัวใจวาย (Heart failure) การเจ็บครรภ์ในระยะแรก (first stage labor) สภาวะที่คุกคามต่อการแท้งบุตร (Threatened abortion) การปวดประจำเดือน (dysmenorrhea) หรืออาการต่างๆ ที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น การเกร็งตัวของลำไส้ หรือใจสั่น เป็นต้น

ขนาดของยาที่ใช้ (เป็นมิลลิกรัม)

Chlordiazepoxide (Librium, Elenium) ๑๐ – ๒๐๐

Diazepam (valium, Paxate, Zepaxid)   ๔ – ๔๐

Oxazepam (serax)                               ๓๐ – ๑๒๐

Flurazepam (Dalmadorm)                 ๑๕ – ๓๐

Nitrazepam (Mogadon)                              ๑๐ – ๒๐

ผลข้างเคียงของยา

๑. ง่วงซึม

๒. เฉื่อยชา

๓. เดินเซ (ataxia)

๔. Nystagmus

๕. มองเห็นวัตถุเป็น ๒ ภาพ (diplopia)

๖. ม่านตาแคบลง ตามัว

๗. อ่อนเพลีย ไม่มีแรง และกล้ามเนื้อคลายตัว

๘. มีเสียงหึ่งๆ ในหู (tinnitus)

๙. สับสน

๑๐. ประสาทหลอน

๑๑. Reflex ช้าลง

๑๒. Coordination เสีย

๑๓. Hyperactivity และชัก

๑๔. ตื่นเต้นหรือเอะอะโวยวาย

๑๕. ความดันโลหิตต่ำหรือช็อค

๑๖. หมดสติร่วมกับตัวเขียว

๑๗. การหายใจช้าและตื้น

ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่ายากลุ่ม benzodiazepines มีฤทธิ์ทำให้เสพติดได้เช่นเดียวกับกลุ่ม meprobamate เพราะฉะนั้นการใช้ยานี้กับผู้ป่วยจึงควรคิดถึงและให้ความระมัดระวังตามสมควร

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า