สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

ภาวะปัญญาอ่อน (Mental retardation)

ปัญญาอ่อน
หมายถึง ภาวะซึ่งเด็กมีความสามารถในการพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว ภาษา สังคม และพฤติกรรมการปรับตัว (adaptive skill) ด้อยกว่าเด็กปกติในอายุเดียวกัน

หลักเณฑ์การวินิจฉัยตาม DSM III
1. มีระดับเชาว์ปัญญาโดยทั่วไปต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งหมายถึง มีระดับ IQ (Intellectual guotient) < 70 (ในกรณีเด็กทารกซึ่งไม่สามารถจะตรวจวัด IQ ได้ ให้อาศัยการตัดสินทางคลินิกว่ามีระดับเชาว์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่

2. มีความผิดปกติในพฤติกรรมการปรับตัว (adaptive behavior) โดย พิจารณาตามเกณฑ์อายุเป็นหลัก

3. อายุที่เริ่มอาการต้องก่อน 18 ปี ถ้าหลังอายุ 18 ปีไม่ถือเป็น mental retardation แต่เป็น dementia

ลักษณะอื่นที่อาจพบร่วม ได้แก่
Stereotype movement disorder
Infantile autism
Attention deficit disorder with hyperactivity

ลักษณะเหล่านี้จะพบในผู้ป่วยปัญญาอ่อนได้มากกว่าประชากรทั่วไปถึง 3-4 เท่า นอกจากนั้น อาจพบลักษณะ temper tantrum, irritability, aggressivity, impaired neuromuscular function, ความผิดปกติทางการมองเห็นและการได้ยิน รวมทั้งภาวะชักร่วมด้วย

ความชุกของโรค (prevalence) พบได้ประมาณร้อยละ 1-3 ของประชา กร เพศชาย : หญิง =2:1

สาเหตุ  เช่นเดียวกับสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะสมองพิการ

แนวทางการวินิจฉัย
ประวัติ
การตั้งครรภ์ของมารดา การคลอด การเจริญเติบโตและพัฒนาการ
การเรียน
การเจ็บป่วยที่อาจมีผลต่อสมอง
กรรมพันธุ์ การแต่งงานในเครือญาติ

สังเกตพฤติกรรมของเด็ก
ความสนใจสิ่งแวดล้อม
ลักษณะ hyperkinetic, autism
ลักษณะ stereotype movement  ลักษณะ cerebral palsy ที่อาจพบร่วม

การตรวจร่างกาย  ระบบทั่วไปและระบบประสาท เช่น
Adenoma sebaceum ใน Tuberous sclerosis
Angioma of CN VI ใน sturge Weber Syndrome
Soft neurological sign

วัดเส้นรอบศีรษะ, ดู fundus, transillumination test

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
เพื่อหาสาเหตุที่อาจป้องกันหรือแก้ไขได้ในบางกรณี ควรพิจารณาเป็นรายๆ ไป เช่น
การตรวจปัสสาวะทดสอบ ferric chloride กรณีสงสัย PKU, Hartnup disease
ถ่ายภาพรังสีกะโหลกศีรษะ, ถ่ายภาพรังสีอายุกระดูก
การศึกษาโครโมโซม
การศึกษาระดับ thyroid hormone

การทดสอบทางสติปัญญา
เพื่อประโยชน์ในการวางแผนรักษาหรือให้คำแนะนำต่อไปแก้ผู้ปกครองและครู การทดสอบที่ใช้มี

Gesell developmental schedule ใช้กับเด็กอายุ 4 สัปดาห์ ถึง 6 ปี
Stanford-Binet intelligence scale ใช้ได้ตั้งแต่อายุ 2 ปีขึ้นไป
Weschler intelligence scale for children ใช้กับเด็ก อายุ 5-15 ปี
Catell infant intelligence scale ใช้กับทารก และเด็กที่ไม่พูดอายุ 2-30 เดือน

แบ่งความรุนแรงโดยอาศัยการตรวจ IQ และ achievement ได้เป็น
health-0245

การวินิจฉัยแยกโรค
เด็กขาดรัก (Deprived child)
ภาวะพิการทางประสาทรับสัมผัส เช่น หูหนวก ตาบอด

Chronic brain syndrome ซึ่งยังผลให้เด็กมีความพิการเฉพาะทาง เช่น ไม่สามารถอ่านได้ (alexia) ไม่สามารถเขียนได้ (agraphia) ไม่สามารถสื่อความหมายได้ (aphasia)

การรักษา
1. รักษาสาเหตุเฉพาะโรคนั้นๆ แต่มีจำนวนน้อยที่สามารถแก้ไขสาเหตุได้ที่สำคัญได้แก่

-Congenital hypothyroidism (Cretinism) ถ้าวินิจฉัย และให้การรักษาได้ภายในอายุ 1 เดือนจะป้องกันไม่ให้เกิดภาวะปัญญาอ่อนใน ผู้ป่วยบางรายได้

-Phenylketonuria (PKU) ถ้าวินิจฉัยได้ตั้งแต่ระยะแรกๆ และรักษา โดยจำกัดอาหารที่มี phenylalanine ให้น้อยที่สุดอาจป้องกันภาวะ ปัญญาอ่อนที่จะเกิดตามมาได้

-Galactosemia ถ้าวินิจฉัยได้และจำกัดอาหารให้อาหารที่ไม่มี galactose อาจป้องกันปัญญาอ่อนได้บ้าง

-Hydrocephalus, subdural effusion, chronic subdural hematoma

2. ให้คำปรึกษาและแนะนำผู้ปกครองเกี่ยวกับการดูแลต่างๆ การฝึกเด็กอาศัยหลักการค่อยๆ บอกทีละขั้นตอน ดูแลแนะนำกระตุ้นการพัฒนาการตามอายุ แนะนำปัญหาต่างๆ ด้านอารมณ์ แนะนำการฝึกกายภาพบำบัด กรณีมีความผิดปกติของ motor ร่วมด้วย และแนะนำการศึกษาพิเศษที่เหมาะสม

การป้องกัน
-ดูแลระยะตั้งครรภ์ที่ดี
-ให้ genetic c๐unsellingในพวกโรคทางพันธุกรรม
-ให้การวินิจฉัยและป้องกันโรคให้เร็ว เช่น cretinism, meningitis และ subdural effusion เป็นต้น

หน่วยงานที่ให้บริการสงเคราะห์บุคคลปัญญาอ่อน ในประเทศไทย
1. รพ.ราชานุกูล สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
4337 ถนนดินแดง ตำบลสามเสนใน เขตห้วยขวาง กรุงเทพ 10400

2. กองการศึกษาพิเศษ กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

มีโรงเรียนเฉพาะสำหรับเด็กปัญญาอ่อนคือ โรงเรียนกาวิละอนุกูล รับตั้งแต่อนุบาล นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนธรรมดาที่มีชั้นพิเศษ สำหรับเด็กที่มีระดับสติปัญญาต่ำกว่าปกติไม่มาก (เด็กเรียนช้า) รวมทั้งเด็กที่เข้าเกณท์ปัญญาอ่อนทั้งประเภท Educable และ Trainable mental retardation ปนอยู่ด้วย 10 แห่งในกรุงเทพ คือ

รร.พิบูลประชาสรรค์
รร.วัดหงษ์ ฯ
รร.พญาไท
รร.ประถมบางแค
รร.วัดเจตวัน ฯ
รร.ดาราคาม
รร.วัดชนะสงคราม
รร.วัดทัศนารุณ ฯ
รร.วัดหนัง
รร.ประถมนนทรี

นอกจากนี้กรมสามัญศึกษายังจัดให้มีการสอนเด็กปัญญาอ่อนในหมู่เด็ก cerebral palsy ใน 1 โรงเรียน และ 7 โรงพยาบาล ได้แก่

รร.ศรีสังวาลย์
รพ.เด็ก
รพ.เลิดสิน
รพ.ขอนแก่น
รพ.ศิริราช
รพ.ยุวประสาท ฯ
รพ.จุฬาลงกรณ์
รพ.มหาราช เชียงใหม่

3. กองสงเคราะห์เด็กและบุคคลวัยรุ่น กรมประชาสงเคราะห์ ถ.กรุงเกษม กรุงเทพ 10110 ให้บริการสงเคราะห์ครอบครัวเด็กพิการและตัวเด็กพิการไร้ญาติ หรือไม่สามารถอยู่กับครอบครัวได้ ได้จัดสถานที่สงเคราะห์ 3 แห่งคือ

-สถานสงเคราะห์เด็กพิการและทุพพลภาพ ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
-สถานสงเคราะห์เด็กพิการทางสมองและปัญญา จ.นนทบุรี
-สถานสงเคราะห์เด็กอ่อนพิการทางสมองและปัญญา จ.นนทบุรี

4. ศูนย์สุขวิทยาจิต 75/1 ถ.พระราม 6 กรุงเทพ 10400 โทร 2815241 ให้บริการดูแลรักษาและฟื้นฟูเด็กที่มีความบกพร่องทางจิตใจ เช่น โรคจิต ปัญญาอ่อน ร่วมกับปัญหาพฤติกรรม

5. หน่วยงานเอกชน

-มูลนิธิช่วยคนปัญญาอ่อนในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดการศึกษาพิเศษ ได้แก่ รร.ปัญญาวุฒิกร ให้การศึกษาแก่เด็กระดับที่เรียนได้ IQ 50-70 มีตั้งแต่ระดับอนุบาล 1 ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 นอกจากนี้ยังมีศูนย์สงเคราะห์บุคคลปัญญาอ่อนใน 3 ภาค ภาคเหนือ (เชียงใหม่) ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ (อุดรธานี) ภาคใต้ (นครศรีธรรมราช)

-มูลนิธิสถาบันแสงสว่าง

ที่มา:พรรณี  วาสิกนานนท์

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า