สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

สถานการณ์พิษจากสารกำจัดแมลงในประเทศไทย

ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2534 มีรายงานผู้ป่วยด้วยพิษสารกำจัดแมลง 1,329 ราย มีอัตราเกิดพิษจากสารกำจัดแมลงในประเทศไทยเท่ากับ 2.3 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งต่ำกว่าหลายปีก่อน. เมื่อจำแนกตามอาชีพพบว่าอาชีพเกษตรกรรม มีสัดส่วนการป่วยสูงที่สุดเท่ากับร้อยละ 73.81, รองลงมา ได้แก่ อาชีพคนงานรับ- จ้าง ซึ่งมีอัตราป่วนเท่ากับ ร้อยละ 16.78. นอกจากนั้น พบในผู้ที่เป็นแม่บ้านร้อยละ 1.5 ที่เหลือร้อยละ 7.91 มีอาชีพอื่นๆ และไม่ระบุอาชีพ ผู้ป่วยมีอายุตํ่าสุด 9-11 เดือน แต่ส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 15-44 ปี ด้วยสัดส่วนร้อยระ 79.4 ทั้งนี้สัดส่วน ชาย : หญิงเท่ากับ 2:1.

พื้นที่ที่พบผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเขตชนบท และอื่นๆ, มีเพียงร้อยละ 7 เท่านั้นที่พบไนเขตเทศบาลและสุขาภิบาล. ผู้ป่วยทั้งหมดมีสถานะดังตารางที่ 1.
health-0066 - Copy1
เมื่อพิจารณาอัตราป่วยจำแนกตามภาคแล้ว พบว่าอัตราสูงที่สุดที่ภาค เหนือด้วยอัตรา 3.77 ต่อประชากรแสนคน สูงกว่าอัตราป่วยของประเทศเท่ากับ 1.63 เท่า ซึ่งใกล้เคียงกับอัตราป่วยในภาคกลางที่มีอัตราเท่ากับ 3.76 ต่อประชากรแสนคน. รองลงมา ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ด้วยอัตรา 0.74 และ 0.70 ต่อประชากรแสนคน ตามลำดับ.

เขตที่มีอัตราป่วยสูงสุด ได้แก่ เขต 4 ด้วยอัตราป่วยเท่ากับ 8.0 ต่อประ ชากรแสนคน หรือประมาณ 3.5 เท่าของอัตราทั้งประเทศ. รองลงมา ได้แก่ เขต 8 และเขต 9 ตามลำดับ (ตารางที่ 2)
health-0066 - Copy2
การกระจายของปัญหาพิษจากสารกำจัดแมลงตามจังหวัดนั้น พบว่ามีอัตราเกิดสูงสุดที่จังหวัดนครปฐม ด้วยอัตรา 25.56 ต่อประชากรแสนคนหรือสูงกว่าอัตราป่วยของทั้งประเทศ 11 เท่า และมีจังหวัดที่มีอัตราป่วยเท่ากับหรือมากกว่า 4 ต่อประชากรแสนคนจำนวน 16 จังหวัด (ตารางที่ 3).

health-0066 - Copy11
ปัญหาพิษจากสารกำจัดแมลงในประเทศไทยที่มีรายงานเหล่านี้ เป็นรายงานกรณีเฉียบพลันเท่านั้น. ถึงแม้อัตราป่วยจะไม่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับปัญหาอื่นๆ แต่มีผลเสียต่อสุขภาพแบบเรื้อรัง และการเกิดพิษแบบรุนแรง. ที่ประเทศญี่ปุ่น พบอัตราชุกของโรคมะเร็งอวัยวะต่างๆ ในประชาชนที่อาศัยอยู่รอบโรงงานผลิตสารกำจัดแมลงสูงกว่าประชากรปรกติหลายเท่า และยังมีรายงานทางพิษวิทยาอื่นๆ จึงนับได้ว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศที่สำคัญ. เมื่อพิจารณาจากกลุ่มอาพีที่ได้รับพิษสูงสุดได้แก่ เกษตรกรรม ซึ่งปัจจุบันใช้สารเคมีในการเพาะปลูกมากขึ้น. มีเพียงส่วนน้อยที่จะใช้วิธีเกษตรแบบธรรมชาติ หรือเกษตรแบบพุทธเกษตรกรรม ซึ่งไม่ใช้สารเคมีกันมากมายเช่นทุกวันนี้.

ในบางพื้นที่ บางจังหวัด มีอัตราเกิดพิษจากสารกำจัดแมลงสูงมาก เช่น จังหวัดนครปฐม จึงควรมีการศึกษารูปแบบการป้องกันโรคดังกล่าวแบบผสมผสานของนักวิชาการสาธารณสุข กับประสบการณ์ทางปฏิบัติของเกษตรกรในพื้นที่อย่างจริงจัง และชัดเจนต่อไป. นอกจากนั้น รัฐบาลโดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ควรเร่งรัดดำเนินมาตรการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัญหาพิษสารกำจัดแมลงในประชาชนให้เป็นเชิงรุกมากขึ้น.

ที่มา:อรพรรณ์  เมธาดิลกกุล พ,บ., M.P.H.
สำนักงานอาชีวเวชศาสตร์และเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อมแห่งชาติกรมการแพทย์, กระทรวงสาธารณสุข

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า