สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

ผลตรวจเอ๊กซ์เรย์ทางห้องปฏิบัติการผู้ป่วยที่ได้รับมลภาวะทางอากาศ

สรุปผลการตรวจเอ๊กซ์เรย์ผู้ป่วยได้รับมลภาวะทางอากาศอำเภอแม่เมาะ

โรงพยาบาลแม่เมาะได้ดำเนินการสุ่มตัวอย่างผู้ป่วยที่ได้รับมลพิษในอากาศ ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2535 ซึ่งมีอาการเจ็บคอ แสบคอ แสบจมูก แสบตา แน่นอึดอัดหายใจไม่ออก หอบเหนื่อย เพื่อทำการตรวจ เอ๊กซ์เรย์ปอดและอ่านผลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเอกซ์เรย์ จากโรงพยาบาลศูนย์ลำปาง

โดยสรุปผลได้ดังนี้

1. ได้ทำการสุ่มตรวจเอ๊กซ์เรย์ผู้ป่วยจำนวน 285 คน จากผู้ป่วยจำนวนทั้งสิ้น 1118 คน

2. จากจำนวนตัวอย่างผู้ป่วย 285 คน จำแนกเป็นชาย 90 คน คิดเป็น 31.6% เป็นหญิง 195 คน คิดเป็น 68.4%

3. อายุผู้ป่วยที่ทำการเอ๊กซ์เรย์ 1-78 ปี โดยมีค่าเฉลี่ยอายุเท่ากับ 37.4 ปี ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 18.69 ปี

4. ผลการเอ๊กซ์เรย์
4.1 ปกติ จำนวน 232 คน คิดเป็น 81.4%
4.2 หลอดลมอักเสบ (BRONCHITIS) จำนวน 45 คน คิดเป็น 15.8%
4.3 ความผิดปกตอื่นๆ จำนวน 8 คน คิดเป็น 2.8% ดังต่อไปนี้
-CHRONIC INTERSTITIAL LUNG DISEASE 1 คน
-EMPHYSEMA 5 คน
-FIBROTIC INFILTRATION 1 คน
-PLEURAL THICKENING 1 คน
-PNEUMONITIS 2 คน
-TB LUNG 3 คน

5. สรุป
1. ผลการตรวจเอ๊กซ์เรย์ผู้ป่วยจำนวน 285 คน แสดงให้เห็นลักษณะของความผิดปกติทั้งสิ้น 18.6% โดยพบลักษณะของหลอดลมอักเสบในทุกกลุ่มอายุคิดเป็น 15.8% ซึ่งไม่สามารถระบุจากความผิดปกตินี้ว่า เกิดจากสาเหตุใดได้อย่างแน่ชัด เนื่องจากผลการสำรวจชุมชนพบว่าประชากรให้ประวัติการสูบบุหรี่ในครอบครัวถึง 74.6% แต่อย่างไรก็ตามมีเด็กต่ำกว่าอายุ 10 ปี ที่มีอาการหลอดลมอักเสบ คิดเป็น 10% และเด็กที่อายุต่ำกว่า 15 ปี คิดเป็น 13% ที่น่าสงสัยว่าอาจจะได้รับมลภาวะในอากาศ และทำให้เกิดหลอดลมอักเสบ เนื่องจากเด็กในวัยนี้สูบบุหรี่น้อยมากไม่น่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดหลอดลมอักเสบ

2. ในจำนวนผู้ป่วยทั้งหมดที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นหลอดลมอักเสบ (BRONCHITIS) ปอดอักเสบ (PNEUMONITIS) และความผิดปกติอื่นๆ ได้ทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบว่ามีค่าเฉลี่ยเม็ดเลือดขาว 7807 per cu.mm PMN เฉลี่ย 58.47% (55-75%) LYMPHOCYTE 31.37% (25-35%) EOSINOPHIL 6.87% (1-3%) MONOCYTE 2.99% (2-7%) แสดงให้เห็นว่าการ เกิดหลอดลมอักเสบของผู้ป่วยไม่น่าจะมีสาเหตุจากการติดเชื้อ BACTERIA หรือ VIRUS แต่น่าจะมีสาเหตุจากการได้รับสารระคาย เคืองเข้าไปในทางเดินหายใจและก่อให้เกิดความผิดปกติดังกล่าว

6. ข้อเสนอแนะ
ควรจะมีการศึกษาความผิดปกติที่พบได้จากการตรวจเอ๊กซ์เรย์ให้ละเอียดยิ่งขึ้นโดยทำการศึกษาแบบเปรียบเทียบระหว่างหมู่บ้านที่ได้รับมลภาวะกับหมู่บ้านที่มิได้รับมลภาวะ จะทำให้ทราบถึงความ ผิดปกติที่เห็นได้ในเอ๊กซ์เรย์ว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร

ข้อมูลผู้ป่วยที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาลแม่เมาะได้ทำการเอ๊กซ์เรย์ปอดจำนวน 29 ราย

สรุปผลได้ดังนี้
1. มีสภาพปอดปกติ 10 คน คิดเป็น 55.2%
2. มีสภาพปอดผิดปกติ 13 คน คิดเป็น 44.8% โดยแบ่งเป็น
-หลอดลมอักเสบ (Bronchitis) 10 คน
-ปอดบวม (Pneumonia) 1 คน
-วัณโรคปอด (Tuberculosis) 2 คน

รายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจากมลภาวะในอากาศอำเภอแม่เมาะ

โรงพยาบาลแม่เมาะได้ทำการสุ่มผู้ป่วยที่ได้รับมลพิษในอากาศตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2535 ซึ่งมีอาการเจ็บคอ แสบคอ แสบจมูก แสบตา แน่นอึดอัดหายใจไม่ออก หอบเหนื่อย เพื่อทำการตรวจทาง ห้องปฏิบัติการโดยสรุปผลได้ดังต่อไปนี้

1. ได้ทำการตรวจผู้ป่วยทางห้องปฏิบัติการจำนวน 342 คน ได้ตรวจเลือด (COMPLETE BLOOD COUNT) จำนวน 219 คน ได้ตรวจปัสสาวะ (URINE ANALYSIS) 199 คน ได้ตรวจทางชีวเคมี BLOOD CHEMISTRY) 160 คน

2. ผลการตรวจ เลือด (COMPLETE BLOOD COUNT)
2.1 จำนวนเม็ดเลือดขาว (WBC) มีค่าเฉลี่ย 7807 per cu.mm ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 927 ค่ามาตรฐาน 5000-10000 per cu. mm.

2.2 จำนวน PMN (POLYMORPHONEUCLEOUS) เฉลี่ย 58.47% ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 11.09% ค่าปกติ 55-75%

2.3 จำนวน EOS (EOS INOPHIP) เฉลี่ย 6.87% ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 5.73% ค่าปกติ 1-3%

2.4 จำนวน Lymph (LYMPHOCYTE) ค่าเฉลี่ย 31.37% ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 9.53% ค่าปกติ 2-7%

2.5 จำนวน Mono (MONOCYTE) ค่าเฉลี่ย 2.99% ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.25% ค่าปกติ 2-7%

3. ผลตรวจปัสสาวะ (URINE ANALYSIS)
3.1 ความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity) เฉลี่ย 1.030 อยู่ในเกณฑ์ปกติ
3.2 นํ้าตาลในปัสสาวะ (Urine sugar) พบ negative ร้อยละ 97.7 % positive 3+ = 0.5 % และ positive 1 + =0.5 % ที่เหลือเป็น trace

3.3 ไข่ขาวในปัสสาวะ (Urine albumin) พบ negative 92.5 % trace 2.8 % และ positive 6.7 %

3.4 เม็ดเลือดขาวในปัสสาวะ
0 – 1 ceII =43.1%    3 – 5 ceII = 24.12 %
5 – 10 ceII = 6.5%    10 -100 ceII = 7.0%
>100 cell = 2.0%

3.5 เม็ดเลือดแดงในปัสสาวะ
0 – 1 ceII = 90 %        3 – 5 ceII = 5.5 %
5 -10 celI = 0.5 %        10 – 100 cell=1.5 %
too many to count = 2.5 %

3.6 จำนวน epitheIial celI
0 – 1 ceII = 46.3 %            3 – 5 ceII = 43.7 %
5 -10 celI =9.5%

3.7 ผลึกในปัสสาวะ (urine crystal)
Calcium Oxalate 35 %   Phosphate 0.5 %   Amorphous 0.5 %   Uric acid    0.5 %   Granular cast 0.5%   Hyalin cast 0.5%

3.8 ผลการตรวจทางชีวเคมี
health-0041 - Copy
สรุป
1. ผลการตรวจเลือด    (Complete blood count) ไม่แสดงลักษณะการติดเชื้อแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง เนื่องจากจำนวนเม็ดเลือดขาวรวมกันไม่เกิน .10,000 cell/cu.mm โดยเฉพาะไม่มีลักษณะของ การติดเชื้อ bacteria เนื่องจาก PMN ไม่เกิน 75 % และไม่มีการติดเชื้อของไวรัส เนื่องจากจำนวน lymphocyte ไม่เกิน 25 % แต่มีลักษณะของ allergic reaction ให้เห็นได้อย่างชัดเจน โดยมีค่า EosinophiI เกินมาตรฐาน

2. ผลการตรวจปัสสาวะ (Urine analysis) ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในลักษณะขาดนํ้า (dehydration) เนื่องจาก urine specific gravity มีค่าสูง ผลการตรวจนํ้าตาลและไข่ขาวในปัสสาวะอยู่ในเกณฑ์ ปกติ ผลการตรวจเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะพบว่า 56.9 % ของผู้ป่วยที่ทำการตรวจ พบเม็ดเลือดขาวจำนวนเล็กน้อยถึงมาก ผลตรวจเม็ดเลือดแดงในปัสสาวะพบว่า 10 % ของผู้ป่วยมีเม็ดเลือดแดงออกมาในปัสสาวะจำนวนเล็กน้อยจนถึงมาก ตรวจพบ Calcium oxalate crystal คิดเป็น 35 % ของผู้ป่วย

3. ผลการตรวจทางชีวเคมี (Biochemistry) ไม่พบความผิดปกติในการทำงานของตับ จากการตรวจค่าSGOT,SGPT,Cholesterol,Triglyceride อยู่ในเกณฑ์ปกติ ตรวจไม่พบความผิดปกติในการทำงานของไต จากการตรวจค่า BUN, Creatinine ตรวจไม่พบความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ เนื่องจากค่า CPK อยู่ในเกณฑ์ปกติ และไม่พบความผิดปกติของตับอ่อน เนื่องจากค่า amylase อยู่ในเกณฑ์ปกติ

ข้อเสนอแนะ
1. จากการสุ่มผู้ป่วยจำนวน 20% จากผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยโรคอันเนื่องจากมลพิษในอากาศ อำเภอแม่เมาะ ช่วงวันที่ 20 ตุลาคม 2535 ได้ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่สนับสนุนการวินิจฉัยโรค จากการตรวจ และซักประวัติที่ดำเนินการในภาคสนามอย่างชัดเจน โดยเฉพาะการตรวจเลือดแบบ complete blood count สามารถแยกโรคที่เกิดจากการได้รับมลพิษ (allergy) ออกจากโรคติดเชื้อทั่วไป เพราะฉะนั้นควรใช้การตรวจเลือดแบบ complete blood count เป็นตัวช่วยยืนยันในการ วินิจฉัยโรคต่อไป

2. ไม่มีความจำเป็นในการตรวจวินิจฉัยทางชีวเคมี เนื่องจากไม่มีลักษณะผิดปกติที่จำเพาะสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับมลภาวะ

3. มีข้อน่าสังเกตว่าผู้ป่วยที่ได้รับมลภาวะ มี calcium oxalate crystal ออกมาในปัสสาวะมากกว่าในภาวะปกติทั่วไป แต่ไม่จำ เพาะสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับมลภาวะ เพราะฉะนั้นควรมีการหาวิธีการ ตรวจหาผลึก หรือสารขับทิ้งของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย

ที่มา : นายแพทย์ไชยนันท์  ทยาวิวัฒน์
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแม่เมาะ จ.ลำปาง

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า