สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

ปัญหาเกี่ยวกับการกินอาหาร (Eating problems)

เบื่ออาหาร
ในที่นี้หมายถึง เด็กมีปัญหาในการรับประทานอาหาร เช่น อมข้าว ไม่ยอมทานอาหาร เบื่ออาหาร ฯลฯ

ประวัติ  
ในการซักประวัติจะต้องดูตามสาเหตุข้างล่างนี้ สาเหตุจาก
1. ผู้ปกครอง
2. ตัวเด็กเอง
3. parent-child interaction
4. อาหารและบรรยากาศ

1. ปัญหาผู้ปกครอง: ผู้ปกครองป่วย เช่น มารดาเจ็บป่วย บิดามารดา ทะเลาะกัน คนในครอบครัวจำกัดอาหารเพื่อลดน้ำหนัก หรือบิดามารดาไม่เข้าใจถึง

ก. ลักษณะเฉพาะตัวของเด็ก ซึ่งเด็กแต่ละคนรับประทานอาหารไม่ เหมือนกัน และไม่เท่ากัน

ข. พัฒนาการของเด็กปกติ จึงเข้าใจผิดว่าเด็กมีปัญหา เช่น
-ไมได้ฝึกให้เด็กรับประทานอาหารเมื่อถึงวัยอันควร
-Physiology เด็กย่างเข้าขวบปีที่ 2 จะมีอัตราการเจริญเติบโต (growth velocity) ลดลง
-เด็กมี autonomy มากขึ้น
-อยากทำอะไรด้วยตนเอง (self-help) มากขึ้น เพราะว่า motor develop ดีขึ้น
-เด็กมีความอยากรู้อยากเห็นมากขึ้น ห่วงเล่นมากกว่ากิน

2. ตัวเด็กเอง เด็กรับประทานอาหารได้น้อยลงในกรณีที่ป่วยทางกาย เช่น เป็นหวัด ไม่สบายใจ กังวล เศร้า จากสาเหตุอื่นๆ หรือเด็กเลียนแบบการรับประทานอาหารจากคนอื่น

3. เมื่อบิดามารดาต้องการให้เด็กทานได้ตามความตั้งใจของตนเอง โดยไม่คำนึงถึงเหตุปัจจัยดังกล่าวข้างต้น ก็จะเกิดปัญหาทำให้มี parent-child interaction ที่ไม่ดี เกิดการต่อต้านจากเด็ก ปัญหายิ่งเพิ่มขึ้น

4. อาหารและบรรยากาศขณะรับประทาน
-อาหารไม่น่ารับประทาน
-มักรับประทานขนม หรืออาหารที่ไม่มีคุณค่าทางอาหารตลอดเวลา หรือไม่เป็นเวลา
-ขณะรับประทาน บิดามารดาจู้จี้ บ่น หรือด่าเด็กในเรื่องราวต่างๆ

การตรวจร่างกาย
ดู growth และ development ของเด็กว่าเจริญสมวัยหรือไม่, ตรวจหา physical illness อื่นๆ

ตรวจสภาพจิต
-เด็กมี separation anxiety สมวัยหรือไม่
– มีปัญหา parent-child interaction หรือไม่
-มีปัญหาพฤติกรรมอื่นๆ ร่วมด้วยหรือไม่
-ทัศนคติของผู้ปกครองต่อการรับประทานอาหารของเด็ก และวิธีแก้ ปัญหาเท่าที่เคยทำมาแล้ว

การรักษา
1. การให้คำปรึกษาแนะนำ

1.1 ก่อนให้คำปรึกษาแนะนำจะต้องเข้าใจถึงสาเหตุในเด็กแต่ละราย ให้ดีเสียก่อน และแก้ไขตามสาเหตุ

1.2 คำปรึกษาแนะนำที่จะให้กับผู้ปกครอง จะได้ผลมากขึ้นถ้าแพทย์และผู้ปกครองมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ควรเป็น mutual participa¬
tion

1.3 ถ้ามีปัญหาพฤติกรรมอื่นๆ ร่วมด้วย หรือพบว่าผู้ปกครองมีความผิดปกติทางจิตใจร่วมด้วย อาจต้องส่งปรึกษาจิตแพทย์เพื่อจิตบำบัด และพฤติกรรมบำบัดต่อไป

2. Medication

ในเด็กบางรายที่มีข้อบ่งชี้ควรให้ยาบำรุง ยากระตุ้นให้รับประทานอาหาร เช่น cyproheptadine (Periactin BC.R) หรือ pizotifen (MosegorR) เป็นต้น

ที่มา:ปิยาณี  ชัยวัฒนพงศ์
ชาญวิทย์  เงินศรีตระกูล

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า