สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

ปัญหาสุขภาพวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

ปัญหาสุขภาพระดับประเทศ

1. สาเหตุการตาย จากรายงานสถิติการเกิด-การตายในโรงพยาบาลของรัฐ พ.ศ. 2533- 2537 ของสำนักนโยบายและแผนสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวง สาธารณสุขเกี่ยวกับสาเหตุการตาย 10 อันดับแรก โดยจัดกลุ่มตามบัญชีตารางโรคพื้นฐานจากบัญชีตารางจำแนกโรคระหว่างประเทศ แก้ไขครั้งที่ 10 ปรากฎดังนี้(ดูรายละเอียดจากตาราง ที่ 1.1)

ลำดับที่ 1 โรคระบบไหลเวียนเลือด สาเหตุการตายในกลุ่มนี้ได้แก่ ไข้รูห์มาติค เฉียบพลันและโรคหัวใจรูห์มาติคเรื้อรัง ความดันเลือดสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจอื่นๆ โรคหลอดเลือดในสมอง เส้นเลือดแข็ง โรคระบบไหลเวียนเลือด นอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้น ซึ่ง สาเหตุการตายส่วนใหญ่คือ โรคหัวใจอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 11.3 ของกลุ่มโรคนี้

ลำดับที่ 2 อุบัติเหตุอื่นๆ ได้แก่ อุบัติเหตุจากการขนส่ง การพลัดตกหกล้ม อุบัติเหตุจากการตกนํ้ารวมถึงการจมนํ้า การถูกควันไฟและเปลวไฟ การเป็นพิษโดยอุบัติเหตุอื่นๆ ทั้งหมดจากสาเหตุภายนอก

ลำดับที่ 3 โรคระบบหายใจ สาเหตุการตายในกลุ่มนี้ได้แก่ ไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบ การติดเชื้อเฉียบพลันอื่นๆ ของทางเดินหายใจส่วนล่าง โรคเรื้อรังของทางเดินหายใจส่วนล่าง โรคระบบหายใจนอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้น

ลำดับที่ 4-10 คือ โรคติดเชื้อ และปรสิตบางชนิด โรคเนื้องอก โรคระบบย่อยอาหาร โรคระบบประสาท โรคต่อมไร้ท่อโภชนาการและเมตะบอลิสัม โรคของระบบสืบพันธุ์ร่วมปัสสาวะ โรคเลือดและอวัยวะสร้างเลือดและความผิดปกติเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน

2. สาเหตุการป่วย สำนักนโบายและแผนสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุการป่วยตามกลุ่มสาเหตุ 21 กลุ่มโรค โดยรวบรวมจากผู้ป่วยที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกของสถานบริการสาธารณสุข สังกัด กระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ ปรากฏว่าโรคที่มีอัตราป่วยสูงสุด 5 ลำดับแรก มีดังนี้คือ (ดูรายละเอียดจากตารางที่ 1.2)

ตารางที่ 1.1 สาเหตุการตาย 10 ลำดับแรกในโรงพยาบาลของรัฐทั้งประเทศ(ตามบัญชีตารางโรคพื้นฐานจากบัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศ แก้ไขครั้งที่ 10) พ.ศ. 2537

ลำดับ

สาเหตุการตาย

จำนวน

ร้อยละ

1.

โรคระบบไหลเวียนเลือด

12,193

24.2

2.

อุบัติเหตุอื่นๆ

9,064

18.0

3.

โรคระบบหายใจ

7,538

15.0

4.

โรคติดเชื้อและปรสิตบางชนิด

5,290

10.5

5.

โรคเนื้องอก

3,525

7.0

6.

โรคระบบย่อยอาหาร

2,786

5.5

7.

โรคระบบประสาท

1,588

3.2

8

โรคของระบบสืบพันธุ์ร่วมปัสสาวะ

1,562

3.1

9.

โรคต่อมไร้ท่อ โภชนาการและเมตะบอลิสัม

1,450

2.9

10.

โรคเลือดและอวัยวะสร้างเลือดและความผิดปกติ เกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน

1,021

2.0

หมายเหตุ ร้อยละของการตายทุกอายุในโรงพยาบาลของรัฐทั้งประเทศ

ที่มา : สำนักงานนโยบายและแผนสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถิติการเกิด-การตายในโรงพยาบาลของรัฐ พ.ศ. 2535-2537 กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก 2539 หน้า 8

ตารางที่ 1.2 จำนวนผู้ป่วยนอกตามกลุ่มสาเหตุ (21 กลุ่มโรคจากสถานบริการสาธารณสุขของกระทรวงสาธารณสุขกับอัตราประชากร 1000 คน) พ.ศ. 2538

สาเหตุการป่วย

อัตรา

1. โรคระบบหายใจ

314.40

2. โรคระบบย่อยอาหารรวมโรคในช่องปาก

166.35

3. โรคระบบกล้ามเนื้อรวมโครงร่างและเนื้อยึดเสริม

84.68

4. สาเหตุจากภายนอกอื่นๆ ที่ทำให้ป่วยหรือตาย

79.69

5. โรคติดเชื้อและปรสิต

78.85

6. โรคผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง

68.97

7. โรคระบบไหลเวียนเลือด

48.10

8. โรคระบบอวัยวะสืบพันธุ์ร่วมปัสสาวะ

30.23

9. โรคตารวมส่วนประกอบของตา

28.91

10. อุบัติเหตุจากการขนส่งและผลที่ตามมา

28.51

ที่มา : สำนักนโยบายและแผนสาธารณสุข สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2538กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกพ.ศ. 2539 หน้า 157-158

ลำดับที่ 1 โรคระบบหายใจ

ลำดับที่ 2 โรคระบบย่อยอาหาร (รวมโรคในช่องปาก)

ลำดับที่ 3 โรคระบบกล้ามเนื้อรวมโครงร่างและเนื้อยึดเสริม ลำดับที่ 4 สาเหตุจากภายนอกอื่นๆ ที่ทำให้ป่วยหรือตาย

ลำดับที่ 5 โรคติดเชื้อและปรสิต

ปัญหาสุขภาพระดับภาค

1. สาเหตุการตาย จากการรวบรวมข้อมูลของกองสถิติสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข เกี่ยวกับอัตราตายจำแนกตามภาคต่อประชากร 1 แสนคนในปี พ.ศ. 2531 พบว่า

1.1 ภาคเหนือมีสาเหตุการตายเรียงลำดับ 1 ถึง 5 ดังนี้คือ

1. หัวใจวาย

2. ถูกฆ่าและถูกทำร้ายโดยผู้อื่น

3. วัณโรคปอด

4. อุบัติเหตุยานยนต์ในการจราจร

5. ปอดอักเสบ

1.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีสาเหตุการตายเรียงลำดับ 1 ถึง 5 ดังนี้คือ

1. หัวใจวาย

2. โรคตับและตับแข็งเรื้อรัง

3. วัณโรคปอด

4. ปอดอักเสบ

5. โรคติดเชื้อของลำไส้

1.3 ภาคกลาง (รวมกรุงเทพมหานคร) มีสาเหตุการตาย เรียงลำดับ 1 ถึง 5 ดังนี้คือ

1. หัวใจวาย

2. อุบัติเหตุยานยนต์ในการจราจร

3. ถูกฆ่าและถูกทำร้ายโดยผู้อื่น

4. ปอดอักเสบ

5. วัณโรคปอด

1.4 กรุงเทพมหานคร มีสาเหตุการตายเรียงลำดับ 1 ถึง 5 ดังนี้คือ

1. หัวใจวาย

2. ถูกฆ่าและถูกทำร้ายโดยผู้อื่น

3. ปอดอักเสบ

4. อุบัติเหตุยานยนต์ในการจราจร

5. วัณโรคปอด

1.5 ภาคใต้ มีสาเหตุการตายเรียงลำดับ 1 ถึง 5 ดังนี้คือ

1. หัวใจวาย

2. อุบัติเหตุยานยนต์ในการจราจร

3. ถูกฆ่าและถูกทำร้ายโดยผู้อื่น

4. วัณโรคปอด

5. ปอดอักเสบ

อาจกล่าวได้ว่า สาเหตุการตายของประชากรในภาคต่างๆ 5 อันดับแรก มีความคล้ายคลึงกันมาก ยกเว้น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีโรคตับ และตับแข็งเรื้อรัง และโรคติดเชื้อของลำไส้ แทนที่จะเป็นอุบัติเหตุยานยนต์ในการจราจร ถูกฆ่าและถูกทำร้ายโดยผู้อื่น เช่น เดียวกับภาคอื่นๆ และถึงแม้การเรียงลำดับสาเหตุการตายของแต่ละภาคจะคล้ายคลึงกัน แต่อัตราตายก็แตกต่างกัน เช่น โรคหัวใจวายทุกภาคมีอัตราตายเป็นอันดับ 1 เหมือนกัน แต่อัตราตายของกรุงเทพมหานครสูงสุดคือ 37.8 คนต่อประชากร 1 แสนคน และภาคใต้มีอัตราตายตํ่าสุดคือ 15.4 คนต่อประชากร 1 แสนคน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแม้สภาพปัญหาจะคล้ายคลึงกันแต่ความรุนแรงของปัญหาไม่เท่ากันโดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีสภาพปัญหาที่แตกต่างไปจากภาคอื่น (ดูรายละเอียดจากตารางที่ 1.3)

ตารางที่ 1.3 อัตราตายด้วยสาเหตุสำคัญต่อประชากร 1 แสนคน จำแนกตามภาค พ.ศ. 2531

สาเหตุการตาย

รวมทุกภาค

เหนือ

ต.อ.เฉียง เหนือ

กลาง (รวมกทม.)

กทม.

ใต้

ลำดับ

อัตรา

ลำดับ

อัดรา

ลำดับ

อัดรา

ลำดับ

อัตรา

ลำดับ

อัตรา

ลำดับ

อัตรา

– หัวใจวาย

1

23.8

1

20.8

1

16.4

1

36.7

1

37.8

1

15.4

– อุบัติเหตยานยนต์ในการจราจร

2

10.0

4

8.0

6

5.2

2

16.2

4

9.3

2

9.9

– ถูกฆ่าและถูกทำร้ายโดยผู้อื่น

3

10.0

2 .

11.7

7

3.9

3

11.2

2

20.9

3

7.8

– วัณโรคปอด

4

8.1

3

8.03

3

10.5

5

6.4

5

3.6

4

5.6

– โรคตับและดับแข็งเรื้อร้ง

5

7.5

7

4.3

2

15.0

6

3.9

6

3.4

7

1.9

– ปอดอักเสบ

6

6.3

5

6.7

4

6.5

4

6.6

3

9.5

5

4.4

– โรคติดเชื้อของลำไส้

7

3.7

6

4.6

5

5.5

8

1.3

8

0.2

6

3.5

– ไข้มาลาเรีย

8

2.7

8

2.7

8

2.7

7

3.1

7

0.3

8

1.6

ที่มา : กองสถิติสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2531 กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก 2533 หน้า 126, 130, 138, 146, 155, 165, 185 และ 201

2. สาเหตุการป่วย สำนักนโยบายและแผนสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุขได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุการตายตามกลุ่มสาเหตุ 21 กลุ่มโรค โดย รวบรวมจากผู้ป่วยที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกของสถานบริการสาธารณสุข สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำแนกตามภาค ผลปรากฎว่า

2.1 ภาคเหนือ มีสาเหตุการป่วย เรียงลำดับดังนี้

ลำดับที่ 1 โรคระบบหายใจ

ลำดับที่ 2 โรคระบบย่อยอาหารรวมโรคในช่องปาก

ลำดับที่ 3 โรคระบบกล้ามเนื้อรวมโครงร่างและเนื้อยึดเสริม

ลำดับที่ 4 โรคติดเชื้อและปรสิต

ลำดับที่ 5 โรคผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง

2.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีสาเหตุการป่วยเรียงลำดับดังนี้

ลำดับที่ 1 โรคระบบหายใจ

ลำดับที่ 2 โรคระบบย่อยอาหารรวมโรคในช่องปาก

ลำดับที่ 3 โรคติดเชื้อและปรสิต

ลำดับที่ 4 สาเหตุจากภายนอกอื่นๆ ที่ทำให้ป่วยหรือตาย

ลำดับที่ 5 โรคระบบกล้ามเนื้อรวมโครงร่างและเนื้อยึดเสริม

2.3 ภาคกลาง (ไม่รวมกทม.) มีสาเหตุการป่วยเรียงลำดับดังนี้

ลำดับที่ 1 โรคระบบหายใจ

ลำดับที่ 2 โรคระบบย่อยอาหารรวมโรคในช่องปาก

ลำดับที่ 3 สาเหตุจากภายนอกอื่นๆ ที่ทำให้ป่วยหรือตาย

ลำดับที่ 4 โรคผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง

ลำดับที่ 5 โรคระบบกล้ามเนื้อรวมโครงร่างและเนื้อยึดเสริม

2.4 ภาคใต้ มีสาเหตุการป่วยเรียงลำดับดังนี้

ลำดับที่ 1 โรคระบบหายใจ

ลำดับที่ 2 โรคระบบย่อยอาหารรวมโรคในช่องปาก

ลำดับที่ 3 สาเหตุจากภายนอกอื่นๆ ที่ทำให้ป่วยหรือตาย

ลำดับที่ 4 โรคผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง

ลำดับที่ 5 โรคติดเชื้อและปรสิต

จะเห็นได้ว่าการเจ็บป่วยของประชากรภาคต่างๆ ใน 2 ลำดับแรก เหมือนกัน คือ โรคระบบหายใจและโรคระบบย่อยอาหาร ส่วนลำดับอื่นๆ มีความคล้ายคลึงกันแต่สลับลำดับกันบ้าง อัตราป่วยโรคระบบหายใจนั้นภาคเหนือมีอัตราสูงสุดคือ 363.02 คน ต่อประชากร 1000 คน ส่วนโรคระบบย่อยอาหารภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราป่วยสูงสุดคือ 192.13 คน ต่อประชากร 1000 คน (ดูรายละเอียดจากตารางที่ 1.4)

ปัญหาสุขภาพจำแนกตามวัย

การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ให้ความสำคัญกับความแตกต่างระหว่างวัยคือ วัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ตอนต้น วัยผู้ใหญ่ตอนกลาง และวัยสูงอายุ ในการพิจารณาปัญหาสุขภาพ จึงพิจารณาตามความแตกต่างของแต่ละวัยด้วย ปัญหาสุขภาพในวัยต่างๆ มีดังต่อไปนี้คือ

ตารางที่ 1.4 จำนวนผู้ป่วยนอกตามกลุ่มสาเหตุ (21 กลุ่มโรค) จากสถานบริการสาธารณสุขของกระทรวงสาธารณสุขกับอัตราประชากร 1000 คน จำแนกรายภาค พ.ศ. 2538

 

สาเหตุการป่วย(กลุ่มโรค)

เหนือ

ตะวันออกเฉียงเหนือ

กลาง (ไม่รวมกทม.)

ใต้

ลำดับ

อัตรา

ลำดับ

อัดรา

ลำดับ

อัตรา

ลำดับ

อัตรา

– โรคระบบหายใจ

1

363.02

1

293.49

1

296.64

1

340.74

– โรคระบบย่อยอาหาร

2

181.82

2

192.13

2

136.51

2

132.85

รวมโรคในช่องปาก

– โรคระบบกล้ามเนื้อรวมโครงร่าง

3

135.31

5

78.90

5

62.83

6

65.49

และเนื้อยึดเสริม

– โรคติดเชื้อและปรสิต

4

180.87

3

92.73

6

60.30

5

74.35

– โรคผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง

5

80.59

6

60.69

4

67.58

4

78.79

– สาเหตุจากภายนอกอื่นๆ

6

80.57

4

80.03

3

79.97

3

80.04

ที่ทำให้ป่วยหรือตาย

– โรคระบบไหลเวียนเลือด

7

70.60

7

32.54

7

57.32

7

41.43

– โรคระบบอวัยวะสืบพันธุ์รวมปัสสาวะ

8

37.34

8

31.89

10

23.53

9

28.02

– โรคตารวมส่วนประกอบของตา

9

31.95

9

26.97

9

30.75

10

27.41

– อุบัติเหตุจากการขนส่งและผลที่ตามมา

10

26.62

10

26.78

8

31.81

8

31.30

ที่มา: สำนักนโยบายและแผนสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข สถิติ สาธารณสุข พ.ศ. 2538 กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ. 2539 หน้า 157-158

1. ปัญหาสุขภาพในวัยรุ่น พัฒนาการของวัยรุ่นทางด้านต่างๆ มีผลกระทบต่อสุขภาพของวัยรุ่นมากปัญหาสุขภาพของวัยรุ่นส่วนใหญ่เกิดจากการมีแบบแผนการดำเนินชีวิตที่ไม่ถูกต้อง ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในวัยรุ่นได้แก่

1.1 โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคที่เป็นปัญหามากที่สุดในขณะนี้คือโรคเอดส์ การติดต่อโรคเอดส์ในวัยรุ่น จากการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโรคเอดส์ของกองระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข พบว่าจนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2534 ผู้ที่มีอายุ 15-19 ปีมีการติดเชื้อเอดส์โดยไม่มีอาการ มีอาการสัมพันธ์กับเอดส์และผู้ป่วยเอดส์ทั้งหมด 4,064คน เป็นชาย 1,066 คน หญิง 2,998 คน เมื่อเทียบกับกลุ่มอายุอื่นๆ แล้ว เพศหญิงอายุ 15-19 ปี ติดเชื้อเอดส์มากที่สุด

โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ นอกจากโรคเอดส์แล้ว ยังมีโรคซิฟิลิส หนองในช่องคลอด อักเสบจากเชื้อรา ทริโคโมแนส และแบคทีเรีย และโรคติดต่อจากเชื้อไวรัส (โรคเริมที่บริเวณช่องคลอด)

1.2 อุบัติเหตุต่างๆ ได้แก่ ภยันตรายที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดมาก่อน ปัญหา อุบัติเหตุในวัยรุ่นมักเกิดจากการยกพวกตีกัน การทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน และอุบัติเหตุจราจรโดยเฉพาะจากจักรยานยนต์ซึ่งวัยรุ่นนิยมใช้เป็นพาหนะในการไปพบปะเพื่อนฝูง เที่ยวเตร่ หรือใช้เป็นอุปกรณ์ในการแข่งขันเพื่อพิสูจน์ความสามารถให้เพื่อนต่างเพศเห็นว่าเป็นวีรบุรุษ ทำให้เกิดอุบัติเหตุ บาดเจ็บและพิการเป็นจำนวนมาก

1.3 การติดยาเสพติด ปัจจุบันผู้ติดยาเสพติดซึ่งเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมีอายุน้อยลงทุกที คือ อายุเฉลี่ยส่วนใหญ่ 16-24 ปี และเด็กวัยรุ่นเป็นผู้ที่ติดยาเสพติดมากที่สุด เมื่อเทียบกับบุคคลวัยอื่น (อรัญ สุวรรณบุปผา และคณะ 2519:20) และการติดยาเสพติดเป็น เหตุทำให้ติดเชื้อเอดส์ได้ สาเหตุของการติดยาเสพติดส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาครอบครัวและผลการศึกษาพบว่าส่วนใหญ่มีสาเหตุจากเพื่อนชักชวน (วิทยา มณีสุวรรณ 2523:บทคัดย่อ)

1.4 ปัญหาสุขภาพจิต เป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญอีกปัญหาหนึ่งของวัยรุ่น ปัญหาเหล่านี้ได้แก่ การย้ำคิดยํ้าทำ ไม่ชอบติดต่อกับคนอื่น ซึมเศร้า วิตกกังวล หวาดระแวง กลัวโดยไม่มีเหตุผล สาเหตุของปัญหาสุขภาพจิตส่วนใหญ่มาจากครอบครัวเพราะเป็นสถาบันที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาบุคลิกภาพของเด็กวัยรุ่น เมื่อมีพื้นฐานทางบุคลิกภาพบกพร่อง ก็มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคจิตได้ง่าย เมื่อพบอุปสรรคในชีวิต ซึ่งปัญหาเหล่านี้มักจะพบว่าเกิดขึ้นในวัยรุ่นหญิง มากกว่าวัยรุ่นชาย(เปรมสุรีย์ เชื่อมทอง 2526:บทคัดย่อ)

1.5 ปัญหาสุขภาพอื่นๆ เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในวัยรุ่น ได้แก่ โรคอ้วน ฟันผุ ตากุ้งยิง เลือดกำเดาไหล เป็นสิว อาการปวดประจำเดือน และการทำแท้ง ตับอักเสบ ไตพิการ (nephrotic syndrome)

2. ปัญหาสุขภาพในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น วัยผู้ใหญ่ตอนต้นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมเข้าสู่ความเป็นผู้ใหญ่เต็มที่ ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ได้แก่

2.1 อุบัติเหตุ จากสถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2531 ของกองสถิติสาธารณสุข (2531 : 121-202) เกี่ยวกับอัตราตาย (ร้อยละ) ของโรคสำคัญ 10 โรค ซึ่งจำแนกอัตราตายตามอายุ พบว่ากลุ่มอายุ 20-39 ปี ตายจากถูกฆ่าและถูกทำร้ายโดยผู้อื่น และตายจากอุบัติเหตุยานยนต์ในการจราจร มากกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ และพบว่าร้อยละ 65 ของคนที่บาดเจ็บและตายจากอุบัติภัยนั้น เป็นคนหนุ่มสาวและครึ่งหนึ่งของคนพิการทั่วประเทศซึ่งมี 1.2 ล้านคนนั้นเป็นหนุ่มสาว (ปรากรม วุฒิพงศ์ และคณะ 2532:67-69)

2.2 โรคติดเชื้อ วัยผู้ใหญ่ตอนต้นมีโอกาสป่วยจากโรคติดเชื้อได้สูงพอๆ กับวัยอื่น โรคติดเชื้อที่สำคัญ ซึ่งพบเป็นอัตราตายรองลงมาจากอุบัติภัยคือไข้มาลาเรีย (กองสถิติสาธารณสุข 2531 : 187) พบว่าอัตราตาย (ร้อยละ) ด้วยไข้มาลาเรียในกลุ่มอายุ 20-24 ปี เท่ากับ 10.7 โดย ชายตายร้อยละ 8.1 และหญิงตายร้อยละ 2.6 ส่วน โรคติดเชื้ออื่น เช่น โรคปอดอักเสบ โรคติดเชื้อลำไส้ พบอัตราตายน้อยกว่ากลุ่มอายุอื่น แต่เป็นโรคติดเชื้อที่มีอัตราป่วยสูง โรคติดเชื้อที่น่าจะให้ความสำคัญในวัยนี้คือ โรคติดเชื้อของอวัยวะสืบพันธุ์ โดยเฉพาะในสตรีมักพบว่ามีการติดเชื้อที่อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก และติดเชื้อภายในอุ้งเชิงกราน นอกจากนี้ยังมีการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะได้แก่ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ การติดเชื้อที่ตา เช่น ตาแดง ตากุ้งยิง ริดสีดวงตา เป็นต้น

นอกจากโรคติดเชื้อดังกล่าวแล้ว โรคเอดส์นับเป็นโรคติดเชื้อที่มีความสำคัญมากในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น จากการรวบรวมข้อมูลของกองระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ผลปรากฎว่า กลุ่มอายุที่มีการติดเชื้อเอดส์สูงสุดคือ กลุ่มอายุ 20-34 ปี เนื่องจากอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งมีการติดเชื้อเอดส์สูงถึง 21,021 คน เป็นชาย 17,451 คน หญิง 3,570 คน ในจำนวนเหล่านี้ กลุ่มที่มีการติดเชื้อสูงสุดคือ ชายอายุ 25-29 ปี

2.3 โรคไร้เชื้อ มีโรคไร้เชื้อเป็นจำนวนมากที่เกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โรคเหล่านี้กระจายอยู่ในระบบต่างๆ ของร่างกาย เช่น โรคของระบบประสาท ได้แก่ ไมแอส ทีเนียแกรวีส (myasthenia gravis) เนื้องอกในสมอง ลมชัก โรคของตา เช่น ต้อหิน เลือดออกในช่องหน้าลูกตา จอตาหลุด (retinal detachment) โรคของหู เช่น หูชั้นกลางอักเสบ แก้วหูทะลุ โรคของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น ไตพิการ ไตหย่อน (nephroptosis) นิ่ว โรคของระบบหัวใจ และหลอดเลือด ได้แก่ ลิ้นหัวใจตีบ ลิ้นหัวใจรั่ว หลอดเลือดดำอุดตันหลอดเลือดดำโป่งพอง โรคเลือด เช่น โลหิตจาง มะเร็งเม็ดเลือดขาว เนื้องอกของต่อมน้ำเหลือง โรคของต่อมไร้ท่อ เช่น ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ เบาหวาน โรคอวัยวะสืบพันธุ์สตรี เช่น การตั้งครรภ์นอกมดลูก ครรภ์ ไข่ปลาอุก การแท้งบุตร กลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (premenstral syndrome) และโรคมะเร็งของอวัยวะต่างๆ เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก เป็นต้น

2.4 ปัญหาสุขภาพจิต เนื่องจากวัยผู้ใหญ่ตอนต้นต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในชีวิตหลายๆ ด้าน และบทบาทรับผิดชอบในสังคมเพิ่มขึ้นจากวัยรุ่นหลายอย่าง จึงต้องอาศัยการปรับตัวที่ดี จึงจะสามารถมีชีวิตอยู่ในวัยนี้ได้อย่างมีความสุข แต่มีบุคคลไม่น้อยที่ต้องประสบกับ ปัญหาทางด้านจิตใจ ซึ่งอาจแสดงออกมาในรูปของอาการป่วยทางกาย เช่น ไมเกรน (migrain) การทำงานของลำไส้ผิดปกติ (functional bowel disease) นอนไม่หลับ ใจเต้น มีเหงื่อออก อ่อนเพลีย มือสั่น (trembling hand) หรือมีอาการกลัว ตื่นเต้นตกใจง่าย หรือมีความวิตกกังวลสูง บางคนอาจติดสุรา ยาเสพติดและบุหรี่ หรือมีความผิดปกติของพฤติกรรมทางเพศ เป็นต้น

3. ปัญหาสุขภาพในวัยผู้ใหญ่ตอนกลาง วัยผู้ใหญ่ตอนกลางเป็นวัยที่เริ่มมีการเสื่อมของระบบต่างๆ จึงทำให้มีปัญหาสุขภาพตามมามากมาย ปัญหาดังกล่าวอาจจำแนกเป็นกลุ่มคือ

3.1 โรคไร้เชื้อ จากสถิติสาธารณสุข (2531 : 156) พบว่าสาเหตุการตายของโรคตับ และตับแข็ง ซึ่งจำแนกตามเพศนั้น เพศชายตายมากกว่าเพศหญิง 2 เท่า สาเหตุของตับแข็ง ที่สำคัญคือการดื่มเหล้า นอกจากนี้โรคไร้เชื้ออื่นที่มีอัตราตายสูงในวัยกลางคนคือ โรคหัวใจ มะเร็ง และเลือดออกในสมอง และโรคไร้เชื้อที่พบอัตราป่วยสูง ได้แก่ เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุลิน เกาท์ อาการปวดหลัง ข้อเสื่อม โรคกระเพาะ หลอดอาหารอักเสบ

3.2 โรคติดเชื้อ ได้แก่ ปอดอักเสบ โดยเพศชายมีอัตราตายสูงกว่าเพศหญิง และวัณโรคเพศชายมีอัตราตายสูงกว่าเพศหญิงเช่นกัน (กองสถิติสาธารณสุข 2531 : 121, 131) และโรคติดเชื้ออื่นที่พบได้ในวัยนี้ได้แก่ มีหนองในช่องเยื่อหุ้มปอด

3.3 ปัญหาสุขภาพจิต ปัญหาสุขภาพจิตในวัยกลางคน เกิดขึ้นได้จากความล้มเหลวในการปรับตัวซึ่งภาระงานพัฒนาการในวัยกลางคนที่จะต้องทำให้สำเร็จ คือ พัฒนาความพอใจใหม่กับคู่สมรสของตนโดยพยายามปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ถ้าทำไม่สำเร็จอาจมีการหย่าร้างเกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตตามมาได้ นอกจากนี้จะต้องเปลี่ยนเจตคติในการทำงานใหม่ โดยแบ่งงานให้ผู้เยาว์วัยกว่าได้รับผิดชอบงานมากขึ้น และพยายามถ่ายทอดประสบการณ์ให้โดยไม่เกิดความรู้สึกว่าทำงานสู้เด็กไม่ได้ แต่ถ้าปรับตัวไม่สำเร็จพัฒนาการทางจิตใจอาจถอยกลับไปสู่วัยหนุ่มสาวที่มีการแสดงออกของพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม จะพยายามแยกตนเอง จิตใจหมกมุ่นคิดถึงแต่ตนเอง สูญเสียความสัมพันธ์กับผู้อื่น คู่สมรสบางรายอาจเป็นหม้ายจากการเสียชีวิตของสามีหรือภรรยา หรือหย่าร้าง และพ่อหม้าย มักจะแต่งงานใหม่ ผู้ที่อยู่เป็นหม้าย อาจจะกลายเป็นคนมีปัญหาทางจิตหรือติดสุราเรื้อรัง

4. ปัญหาสุขภาพในวัยสูงอายุ วัยสูงอายุเป็นวัยที่มีอัตราตายสูงที่สุด เมื่อเทียบกับวัยอื่นๆ และอัตราตายจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนอายุที่มากขึ้น คืออายุ 60-64 ปี มีอัตราตายต่อประชากรตามหมวดอายุ 1,000 คน เท่ากับ 15.5 แต่เมื่ออายุ 65-69 ปี จะเพิ่มเป็น 23.1 และ เมื่ออายุเกิน 70 ปี ขึ้นไป มีอัตราตายสูงถึง 67.9 (กองสถิติสาธารณสุข 2531 : 51) ผู้สูงอายุจึงเป็นผู้ที่มีปัญหาสุขภาพมากที่สุด เมื่อเทียบกับวัยอื่นๆ ปัญหาดังกล่าวได้แก่

4.1 ปัญหาสุขภาพทั่วๆ ไป เนื่องจากวัยสูงอายุเป็นวัยที่มีความเสื่อมโทรมทางด้านร่างกายมาก ทำให้ผู้สูงอายุต้องประสบกับความเดือดร้อนในการดำรงชีวิตประจำวันหลายอย่าง ปัญหาสุขภาพที่สำคัญคือ

4.1.1 ภาวะขาดสารอาหาร ผู้สูงอายุมักจะได้รับอาหารไม่เพียงพอทั้งในแง่ปริมาณและคุณค่า ซึ่งอาจเนื่องจากมีเงินจำกัดในการซื้ออาหาร หรือมีความอ่อนแอตามอายุจนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองในการรับประทานอาหาร หรือเกิดจากการถูกทอดทิ้งแยกตนเองจากสังคมจนทำให้รู้สึกเบื่ออาหาร ประกอบกับปัญหาเกี่ยวกับฟัน ซึ่งพบว่ามีปัญหาสูงถึง 65% (ศรีจิตรา บุญนาค 2532 : 251-263) การเปลี่ยนแปลงของระบบย่อยอาหารที่ทำให้การย่อยและการดูดซึมอาหารของผู้สูงอายุลดลง จากสาเหตุดังกล่าวทำให้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ โดยเฉพาะผู้สูงอายุในชนบทมีปัญหาทุพโภชนาการถึง 75% (ศรีจิตรา บุญนาค 2532 : 251-263)

4.1.2 นอนไม่หลับ การนอนหลับเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุด แต่ผู้ที่นอนไม่หลับ ก็เป็นผู้ที่มีความรู้สึกทรมานมากที่สุด การนอนหลับในผู้สูงอายุมักจะนอนหลับในช่วงสั้น ตื่นง่าย และหลับยาก สาเหตุของการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุ อาจเนื่องจากการเจ็บป่วยทางกาย เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดแดงไปเลี้ยงหัวใจตีบ โรคทางเดินหายใจอุดกั้นเรื้องรัง (COPD) หรืออาจเกิดจากภาวะเครียดทางอารมณ์ (emotional stress) เช่นรู้สึกสูญเสีย เกิดความเหงา ว้าเหว่ (Colling, 1983 : 36-44) หรืออาจเกิดจากประสาทรับความรู้สึกพิเศษ เช่นการมองเห็น การได้ยินลดลง การนอนไม่หลับของผู้สูงอายุ นอกจากจะทำให้เกิดปัญหาแก่ตัวผู้สูงอายุเองแล้ว ยังทำให้เกิดปัญหาแก่ญาติ และบุคคลข้างเคียงด้วย เช่น ญาติบางคนอาจถูกปลุกให้ตื่นขึ้นมาหุงข้าวใส่บาตรตั้งแต่ตี 3 หรือปลุกให้ตื่นไปทำงานตั้งแต่ตี 4 เป็นต้น จากการศึกษาพบว่าผู้สูงอายุประสบกับปัญหานอนไม่หลับสูงถึงร้อยละ 36.91%(บรรลุ ศิริพานิช 2533 :434) และผู้สูงอายุที่อยู่ในโรงพยาบาลนานๆ มีอัตราการนอนไม่หลับสูง (พัชรินทร์ วนิชานนท์ 2529 559-563)

4.1.3 ความดันโลหิตตํ่าจากการเปลี่ยนท่า (postural hypotension) ความดันโลหิตตํ่าจากการเปลี่ยนแปลงท่าทำให้กระทบกระเทือนต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุมาก เป็นปัญหาใหญ่ที่ขัดขวางต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพ ทำให้เกิดการหกล้ม กระดูกหัก เป็นอัมพาต กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปเลี้ยง ซึ่งโรคเหล่านี้เป็นโรคที่คุกคามต่อชีวิตผู้สูงอายุ ความดันโลหิตต่ำจากการเปลี่ยนท่าเกิดจากกลไกการควบคุมความดัน (baroreceptor reflex mechanism) เสื่อมไม่สามารถทำงานชดเชยเมื่อผู้สูงอายุเปลี่ยนท่าได้ ทำให้มีอาการมึนงง โคลงเคลง เสียการทรงตัว กล้ามเนื้ออ่อนแรงและเป็นลม อาการเหล่านี้พบบ่อยตอนเช้ามืดขณะลุกจากเตียง และอาการรุนแรงขึ้นเมื่ออาบนํ้าอุ่น รับประทานมาก อากาศร้อน หรือหลังออกกำลังกาย การถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะแล้วเป็นลมก็เป็นปรากฏการณ์ที่พบได้บ่อย ภาวะความดันโลหิตตํ่าจากการเปลี่ยนท่านี้พบได้ในผู้สูงอายุมากถึง 33% และพบบ่อยขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น (Cunha, 1987 : 61-68)

4.1.4 กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่เป็นอาการที่พบได้บ่อยในหญิงสูงอายุ ลักษณะอาการอาจเป็นแบบปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะรดที่นอน หรือปัสสาวะเล็ด ราด เวลาไอหรือจาม สาเหตุเกิดจากการสูญเสียการตึงตัวของกล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกรานอันเป็นผลจากขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ทำให้ผู้สูงอายุขาดความมั่นใจ ทำให้รู้สึกไม่อยากเดินทางไปไหนไกลๆ เกรงว่าคนอื่นเข้าใกล้แล้วจะรังเกียจ เนื่องจากอาจมีกลิ่นปัสสาวะรบกวน เกิดความรู้สึกว่าตนเองต้องเป็นภาระแก่ผู้อื่น ทำให้ผู้อื่นต้องทำความสะอาดห้องนํ้าบ่อยขึ้นเพราะปัสสาวะราด ต้องเปลี่ยนผ้าปูที่นอนหรือเปลี่ยนผ้านุ่งบ่อยขึ้นเพราะเปื้อนปัสสาวะ การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่อาจทำให้บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์อับชื้นและมีการติดเชื้อได้ง่าย

4.2 อุบัติเหตุ อุบัติเหตุที่เกิดในผู้สูงอายุมีลักษณะแตกต่างไปจากวัยรุ่น และวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ลักษณะอุบัติเหตุในผู้สูงอายุ เกิดจากการพลัดตกหกล้มมากที่สุด คือร้อยละ 35.4 และสาเหตุของการหกล้มเป็นผลจากการเกิดพยาธิสภาพในสมอง เนื่องจากความดันโลหิตสูง ร้อยละ 3.8 (อนันต์ ตัณมุขยกุล 2526 : 253) ลักษณะของการบาดเจ็บจากการหกล้มพบว่า มีกระดูกหักมากที่สุด ตำแหน่งที่หักบ่อยคือ แขน ต้นขา สาเหตุของการหกล้มในผู้สูงอายุมีปัจจัยร่วมหลายอย่าง ได้แก่ การมองเห็น และการได้ยินลดลง การทรงตัวไม่ดี คือความสามารถในการยืนบนขาข้างเดียวลดลง ทั้งขณะลืมตาและหลับตา (Felsenthal, 1989 : 81-90) ความแข็งแรงของกระดูกและกล้ามเนื้อลดลง ความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนท่า ทำให้ผู้สูงอายุพร้อมที่จะหกล้มได้ทุกเวลาถ้ามีปัจจัยอย่างอื่นเสริม เช่น การเดินบนพื้นที่ลื่น เช่น ในห้องน้ำ การเดินบนพื้นที่ไม่เรียบหรือมีสิ่งของวางเกะกะ เช่น ของเล่นเด็ก สายไฟ ทำให้ผู้สูงอายุหกล้มได้ง่าย

นอกจากการหกล้มแล้ว ผู้สูงอายุยังประสบกับอุบัติเหตุจราจร ซึ่งพบได้มากถึง 22.1% ของอุบัติเหตุในผู้สูงอายุ สาเหตุของอุบัติเหตุจราจรที่พบมากเกิดจากการเดินถนนถูกรถชน รถที่ชนผู้สูงอายุมากที่สุดคือ รถจักรยานยนต์ และรถยนต์ (อนันต์ ตัณมุขยกุล 2526 : 157) ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากสายตาไม่ดีและการรับเสียงไม่ดี กรณีที่เป็นผู้โดยสารแล้วเกิดอุบัติเหตุมักเกิดในช่วงเวลาขึ้นและลงรถ และรถเกิดเคลื่อนที่ไปก่อน หรือรายที่อยู่ในรถก็เกิดจากผู้ขับรถหยุดรถอย่างกระทันหันหรือออกรถอย่างกระโชกกระชาก

อุบัติเหตุอื่นๆ ซึ่งพบได้ในผู้สูงอายุ ได้แก่ การถูกของมีคมบาด การถูกวัตถุหล่นใส่ ได้รับอันตรายจากสัตว์เลี้ยง ก้างปลาติดคอ และถูกทำร้ายร่างกายเพื่อชิงทรัพย์

ผู้สูงอายุที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุมักจะเจ็บรุนแรงกว่าวัยอื่นๆ และเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญของผู้สูงอายุ และอัตราตายจากอุบัติเหตุมักจะสูงกว่าวัยอื่น เมื่อเปรียบเทียบในแต่ละกลุ่มอายุ

4.3 โรคติดเชื้อ โรคติดเชื้อที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ได้แก่ ปอดอักเสบ ซึ่งมักมีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียและเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญ โดยมีอัตราตายสูงกว่าผู้ใหญ่วัยอื่นๆ ผู้สูงอายุชายมีอัตราตายสูงกว่าผู้สูงอายุหญิง กลุ่มอายุที่มีอัตราตายสูงที่สุดคือ 60-64 ปี โดยมีอัตราตาย 8% ผู้สูงอายุชายมีอัตราตายสูงกว่าผู้สูงอายุหญิงประมาณ 1 เท่า (กองสถิติสาธารณสุข 2531 : 133) องค์ประกอบที่ทำใหัผู้สูงอายุติดเชื้อได้ง่ายคือ การทำหน้าที่ปกป้องตนเองของถุงลมปอดลดลง สภาพของโรคและภาวะแวดล้อมของผู้สูงอายุส่งเสริมให้ติดเชื้อได้ง่าย เช่น การสำลักอาหารและนํ้า การเคลื่อนไหวของหลอดอาหารผิดปกติ ผู้สูงอายุที่เป็นอัมพาต มะเร็ง หรือขาดสารอาหาร มีโอกาสเสี่ยงต่อโรคนี้สูง เชื้อที่เป็นสาเหตุการตายของปอดอักเสบมากที่สุดในผู้สูงอายุ คือ นิวโมคอกค่อน นิวโมนิเอ (pneumococcal pneumoniae) ซึ่งเป็นสาเหตุการตายของคนอายุมากกว่า 70 ปี ถึงร้อยละ 54-61 (บำรุง อดุลยานุภาพ และสุรชัย ทรัพย์โมกข์ 2529 : 55-71)

นอกจากปอดอักเสบแล้วโรคติดเชื้อที่พบได้บ่อยและเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญของผู้สูงอายุคือ วัณโรคปอด โดยมีอัตราตายจากโรคนี้สูงกว่าวัยอื่น กลุ่มอายุที่มีอัตราตายสูงสุดคือ 65- 69 ปี โดยมีอัตราตายร้อยละ 12.8 ผู้สูงอายุชายตายจากวัณโรคปอดสูงกว่าผู้สูงอายุหญิง 1 เท่า (กองสถิติสาธารณสุข 124) นอกจากนี้ยังมีโรคติดเชื้ออื่นๆ ได้แก่ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ จากเชื้อแบคทีเรีย เมื่อป่วยแล้วทำให้มีอัตราตายสูง เชื้อมาจากบาดแผลที่ศีรษะโดยตรง จากการผ่าตัดสมอง หรือกระจายมาจากหูชั้นกลาง หรือมาทางกระแสเลือดก็ได้ ทางเดินปัสสาวะอักเสบก็เป็นโรคติดเชื้อที่พบได้บ่อย ซึ่งพบว่าผู้ที่อายุ 70 ปีขึ้นไป เป็นโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ ถึงร้อยละ 20 ในผู้สูงอายุหญิงที่อายุมากกว่า 80 ปี พบได้ถึงร้อยละ 23-50 โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยอยู่โรง พยาบาลจะพบอัตราป่วยสูงขึ้นกว่าผู้สูงอายุที่อยู่บ้าน (บำรุง อดุลยานุภาพ และสุรชัย ทรัพย์โมกข์ 2529 : 55-71)

4.4 โรคเรื้อรัง โรคเรื้อรังในผู้สูงอายุเป็นโรคที่ผู้สูงอายุป่วยสะสมมาตั้งแต่วัยหนุ่มสาวหรือวัยกลางคน และบางโรคเพิ่งเริ่มป่วยเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ โรคเรื้อรังที่พบบ่อยได้แก่ โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ความดันโลหิตสูง พบได้ร้อยละ 28 ของโรคในผู้ฐงอายุ (จรวย ศรีทอง และคณะ 2532 : 213-216) โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคเกาท์ โรคไตวายเรื้อรัง โรคตับ เป็นต้น ซึ่งพบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่ป่วยมากกว่า 1 โรค (จรวย ศรีทอง และคณะ 2532 : 213-216)

4.5 โรคจากความเสื่อมของร่างกาย มีโรคหลายโรคที่พบมาก ในผู้สูงอายุซึ่งมีสาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายตามวัย โรคเหล่านี้ ได้แก่ โรคต้อกระจก โรคกระดูกหูยึดติดกัน (otoscleroosis) ต่อมลูกหมากโต โรคข้อเสื่อม (osteoarthritis) ภาวะกระดูกพรุน (osteoporosis) โรคสันนิบาตลูกนก (parkinsonism) โรคเหล่านี้บางโรคสามารถรักษาได้ บางโรคต้องใช้กายภาพบำบัดช่วย

4.6 ปัญหาสุขภาพจิต ผู้สูงอายุมีปัญหาทางด้านจิตใจได้ง่าย ซึ่งมักพบบ่อยในผู้ที่ไม่สามารถปฏิบัติภาระงานพัฒนาการได้สำเร็จ จากการศึกษาพบว่าผู้สูงอายุมีปัญหาความวิตกกังวลร้อยละ 20.08 ของปัญหาทั้งหมด (บรรลุ ศิริพานิช 2533 : 434) และจากการสำรวจของ จรวย ศรีทอง และคณะ (2532 : 213-216) พบว่าผู้สูงอายุมีปัญหาทางจิตเวช 10% และอาการทางประสาท (neurosis) ร้อยละ 28 และจากการสำรวจของศรีจิตรา บุนนาค (2532 : 251-263) พบว่าผู้สูงอายุในชนบทมีปัญหาสุขภาพจิตถึงร้อยละ 42 และจากการศึกษาของ บรรลุ ศิริพานิช (2531 : 70) โดยตรวจสอบความสมบูรณ์ทางจิตในผู้สูงอายุที่มีความสมบูรณ์ทางกายพบว่า ผู้สูงอายุที่มีความสมบูรณ์ทางกาย 244 คน มีความสมบูรณ์ทางจิตเพียง 138 คน อีก 106 คน มีภาวะซึมเศร้าและภาวะจิตเสื่อม ซึ่งนับเป็นความผิดปกติทางจิตที่พบบ่อยที่สุด

สรุป

ปัญหาสุขภาพในวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุใช้มุมมอง 3 มิติ คือ ปัญหาระดับประเทศ ระดับภาค และจำแนกตามวัย ปัญหาสุขภาพระดับประเทศ เป็นภาพรวมของสุขภาพประชากรในประเทศทั้งหมด โดยใช้อัตราตายและอัตราป่วยเป็นตัวชี้วัด ปัญหาสุขภาพระดับภาคเป็นภาพรวมของภาวะสุขภาพของประชากรแต่ละภาค ซึ่งใช้อัตราตายและอัตราป่วยของประชากรแต่ละภาคเป็นตัวชี้วัด โดยเปรียบเทียบกับภาคอื่นๆ ส่วนปัญหาสุขภาพตามวัยนั้น มองปัญหาโดยแบ่งปัญหา สุขภาพออกเป็นปัญหาสุขภาพวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ตอนต้น วัยผู้ใหญ่ตอนกลาง และวัยสูงอายุ โดยพิจารณาว่าปัญหาสุขภาพหรือโรคต่างๆ มีโอกาสเป็นปัญหาในประชากรกลุ่มใดมากที่สุด การมองปัญหาสุขภาพทั้ง 3 มิตินี้จะช่วยให้มองเห็นภาพของปัญหาในวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุได้กว้างและลึก ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค แก้ปัญหาสุขภาพและฟื้นฟูสภาพของประชากรวัยนี้ต่อไป

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า