สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

ความรู้ทางการแพทย์เกี่ยวกับปัญหาจากสุรา

ส่วนประกอบที่ทำให้เป็นเหล้า = Alcohol, Ethyl alcohol แต่สิ่งที่ทำให้เหล้านั้นมีกลิ่นไม่ใช่ alcohol เป็นสารอื่นๆ ที่ผสมปนอยู่ ตั้งแต่โบราณกาลมาแล้ว เมื่อเริ่มค้นพบ alcohol นั้น มนุษย์มีความรู้สึกว่าเหล้าเปรียบเหมือนนํ้าวิเศษ จึงตั้งชื่อ เหล้าบางชนิดว่า Whisky ซึ่งมีรากศัพท์ภาษา Gaelic ว่า usquebaugh แปลว่า น้ำแห่งชีวิต (water of life) ปัจจุบันนี้ เราทราบแจ่มชัดว่าคุณค่าของสุราทางด้านการรักษาโรค หรือสุขภาพนั้นไม่มี หรือมีน้อยมาก เราให้ความสำคัญกับสุราในส่วนที่เป็นการสังคมมากกว่า

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
1. ฤทธิ์เฉพาะที่
-ทำให้ cell แห้ง แสบตกตะกอน มีฤทธิ์สมาน (astringent )
-มีฤทธิ์ระคายเคืองต่อผิวที่ถลอกและเยื่อบุต่างๆ ยิ่งเข้มข้น ยิ่งมีฤทธิ์มาก
-ผิวหนัง ทำให้เย็น แห้งไม่มีเหงื่อ ใช้ป้องกันแผลกดทับ
-เยื่อบุ ทำให้ระคายเคือง อักเสบ
-ชั้นใต้ผิวหนัง ทำให้เจ็บปวดและชาในภายหลังเพราะทำให้เส้นประสาทอักเสบและเสื่อมสลายได้
-เชื้อโรค ทำให้เชื้อตายได้ ซึ่งใช้เป็นยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดที่ผิวหนัง
-เส้นประสาท ทำให้เส้นประสาทไม่สามารถนำกระแสประสาท

2. ฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง เป็นอวัยวะที่ถูกออกฤทธิ์มากที่สุด ฤทธิ์ของสุราเป็นการกด ตอนแรกจะกดส่วนควบคุม ทำให้ เหมือนเป็นการกระตุ้น แต่ต่อมาจะกดการทำงานทุกอย่าง

สมองส่วนที่ถูกกดก่อนจะเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ซับซ้อนมากๆ โดย เฉพาะการรู้สติ การคิดคำนึงต่างๆ ทำให้คิดไม่เป็นระบบ การ เคลื่อนไหวไม่ราบรื่น ความจำ สมาธิ จะเสื่อม ทำให้มีความเชื่อมั่นตนเองมากกว่าปกติ บุคคลิกจะคึกคัก ร่าเริง พูดจาคล่องแคล้ว บางคราวจะหลักแหลมกว่าปกติ อารมณ์แปรปรวน ปฏิกิริยาต่างๆผิดปกติ ระยะแรกจะเร่งไวขึ้น แต่ต่อมาจะช้าลงจนมีฤทธิ์เหมือนยาสลบ โบราณเคยใช้เป็นยาสลบแต่ระดับที่ทำให้สลบนั้นใกล้เคียงกับระดับที่อันตรายต่อการหายใจมาก

ฤทธิ์มีมากขณะระดับใน เลือดกำลังเพิ่มขึ้น

การดื่มมากๆ เป็นเวลานาน ทำให้สมองเสื่อม ความจำเสื่อม การหลับผิดปกติ และเป็นโรคจิตได้ มักพบมากกว่าคนใช้ alcoholic ไม่กินสารอาหารอื่น ทำให้ขาดอาหารด้วย จะมีอาการขาดไวตามิน หลายๆ ชนิดได้ เช่น Wernieke’s encephaIopahy, Korsakoff’s psychosis, polyneuritis, Nicot inicacid deficiency encephhapopathy

การหายใจ   จะกระตุ้นในระยะแรก ต่อมาจะกดการหายใจถ้ามีมาก 400 mg/100 ml จะทำให้หยุดหายใจได้

การนอนหลับ  ผลไม่แน่นอน ผลดีในระยะแรกๆ ระยะยาวบอกไม่ได้ มีผลเสียต่อการหายใจขณะนอนได้

ระยะยาวสมองจะเหี่ยว เลือดคั่งในสมองชนิดเรื้อรัง เกิดได้ง่าย

3. ระบบหัวใจและหลอดเลือด
ชีพจรจะเร็วขึ้นบ้าง แต่ถ้าดื่มมากๆ จะทำให้ความดันโลหิตลดลง ดื่มนานๆ จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อม (Cardiomyopathy) ถ้าหัวใจวายจะหายยาก การเต้นผิดจังหวะ โดยเฉพาะถ้าดื่มอย่าง รวดเร็ว ดื่มไม่มากทำให้หลอดเลือดขยาย ผิวหนังอุ่น แดง เนื่องจาก vasomotor depression และฤทธิ์โดยตรงต่อกล้ามเนื้อที่ผนังหลอด เลือด ทำให้คนไข้โรคหลอดเลือดหัวใจอาการแย่ลง

ถ้าระดับ alcohol ในเลือดสูงมากๆ ทำให้เลือดผ่านสมองมากขึ้นมาก แต่มีบางจุดที่หลอดเลือดสมองกลับหดรัด ทำให้สมองนั้นขาด เลือดแม้ว่าเลือดผ่านสมองทั้งหมดมีมากขึ้น

พบว่าคนไข้ที่ดื่มมากๆ ต่อเนื่องจะมีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูงและอัมพาต ( strike )

ไขมันในเลือด    มีผลให้ไขมันดีสูงขึ้นได้ High density Lipoprotein

กล้ามเนื้อทั่วไป     บางครั้งรู้สึกว่าทำได้มากกว่าปกติ เป็นเพราะไม่รู้สึกล้า ความจริงแล้ว alcohol กดการทำงานมากกว่า และเป็นพิษต่อกล้ามเนื้อด้วย ทำให้กล้ามเนื้อเสื่อมสลาย(myopathy)

อุณหภูมิร่างกาย  จะรู้สึกอุ่นขึ้น เพราะทำให้เลือดผ่านผิวหน้าและกระเพาะอาหารมากขึ้น เหงื่อออกด้วย แต่ทั้งหมดทำให้ร่างกายเสียความร้อนไป การควบคุมอุณหภูมิทางร่างกาย(โดยสมอง) ก็เสียไป ทำให้อุณหภูมิร่างกายต่ำถึงขีดอันตรายได้ การดื่มเพียงเล็กน้อยอาจช่วยได้บ้างแต่ถ้าดื่มมากในอากาศเย็น จะเป็นอันตรายมากๆ

4. ระบบทางเดินอาหาร
มีฤทธิ์ที่ขึ้นกับหลายๆ อย่างด้วย เช่น มีโรคเบาหวานหรือไม่ มีอาหารในกระเพาะหรือไม่ ประเภทใด สภาพทางจิตใจ ฯลฯ น้ำย่อย น้ำลาย จะมีการหลั่งเพิ่มขึ้น กระเพาะหลั่งกรด เพิ่มสาร gastrin และ histamine ก็เพิ่มจึงห้ามให้คนไข้โรคกระเพาะ กระเพาะจะมีเลือดมาคั่ง และอักเสบ (congestive hyperemia, gastritis) ทุก 3 คนที่ดื่มหนักจะเป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง (chronic gastritis)

เราทราบว่ายาแอสไพรินทำให้เลือดออกในกระเพาะได้ alcohol ทำให้ฤทธิ์นี้มีมากขึ้น
-ทำให้ท้องผูก
-ทำให้ขาดวิตามิน
-ทำให้อาเจียน
-ทำให้ตับอ่อนอักเสบ ท่อตับอ่อนตัน

5. ตับ
ทำให้ไขมันและสารโปรตีนคั่งค้างในเซลตับ ระยะนานๆ จะเป็นตับแข็งการเก็บสะสมวิตามินในตับเสียไปทำให้มีการขาดวิตามิน (ซึ่งคนที่เป็น alcoholic มักไม่กินอาหารอื่นอยู่แล้ว) การสะสมแป้ง เสียไป ทำให้ระดับนํ้าตาลในเลือดต่ำ ทำให้ระดับสารตะกั่วในเลือดสูงขึ้น เพราะตับทำลายไม่ได้

6. ผลต่อทารกในครรภ์

เกิด Fetal Alcohol Syndrome IQ ต่ำ สมองเล็ก โตช้า ภูมิต้านทานลด เชื่อว่าเกิดจากการกดการเติบโตของตัวอ่อนในครรภ์ พบโรคนี้ได้ถึง 1/3 ของลูกที่มีแม่ที่ติดเหล้า

ปริมาณที่น้อยที่สุดทำให้เป็นได้ = 75 ml/วัน
ทำให้แท้ง มากกว่าปกติ 3 เท่า
ทำให้ตายคลอด มากกว่าปกติ 3 เท่า

7. ผลต่อปฏิบัติการทางเพศ
มักเป็นที่เข้าใจกันว่า alcohol ช่วยเพิ่มอารมณ์เพศ เช่น พบว่าทำให้ปฏิบัติอย่างก้าวร้าว (ตามจริงเกิดจากการกดการยับยั้ง) สุราทำให้เกิดความปรารถนา แต่ทำให้สมรรถภาพหายไป อวัยวะเพศตอบ สนองน้อยกว่าปกติ ทั้งชายและหญิง

ทำให้ impotence, เป็นหมัน, testicular atrophy gynecomastia

8. ไต ขับปัสสาวะ โดยมีฤทธิ์ที่สมอง กดการหลั่ง A.D.H. จะมีเมื่อความเข้มข้นกำลังเพิ่มขึ้น ฤทธิ์ต่อไตไม่ค่อยมีเท่าไร

9. Biogenic Amines มีระดับสูงขึ้น ความดันเลือดสูงเล็กน้อย

10. ต่อมไร้ท่อ โดยมีฤทธิ์ต่อ Hypothalamus และ pituitary รบกวนการหลั่ง prolactin, growth hormone, A.D.H.

11. เลือด  เลือดจาง (Folate metabolism) โรคไขกระดูก เกล็ด เลือดน้อย เม็ดเลือดขาวไม่สามารถไปที่ๆ มีการอักเสบได้ดี จึงติดเชื้อง่ายและรุนแรงกว่าปกติ

12. คนแก่    อาจมีประโยชน์บ้างในด้านสังคม การกระตุ้นให้มีชีวิตชีวาแต่จะต้องระวังภาวะขาดอาหาร ขาดไวตามิน สารนํ้าและ เกลือแร่ผิดปกติ โรคกระเพาะติดเชื้อ ประสาทอักเสบ สมองเสื่อมฤทธิ์ต่อยา อื่นๆ ก็มีการเสริมฤทธิ์ หรือต้านฤทธิ์กันได้มาก

13. ความมีอายุยืน  ดื่มมากอายุสั้น จะเป็นมะเร็งทางปาก คอหอย กล่องเสียง หลอดอาหาร ตับ ปอด โรคตับแข็ง อุบัติเหตุ โรคปอด

ฤทธิ์ต่อยาอื่น (Interaction with other Drugs)
-ยากล่อมประสาท ยานอนหลับ ยากันชัก ยาลดความเศร้า ยาที่มีโครงสร้างคล้ายฝิ่น จะเสริมฤทธิ์กัน
-ยาเบาหวาน  ฤทธิ์ไม่แน่นอน วูบวาบ

การดูดซึม  ง่ายมากจากทางเดินอาหาร แม้การหายใจก็เป็นไปได้

กระเพาะ  ดูดซึมรวดเร็วมากในระยะแรก ต่อมาจะช้าลงหมดภายใน 2-6 ชั่วโมง ถ้ามีอาหารจะดูดซึมช้า โดยเฉพาะนม เบียร์

ลำไส้  ดูดซึมเร็วมาก

การกระจาย  ไปทุกที่ รวมทั้งผ่านรกไปทารก

การทำลาย 98% ถูก oxidised ที่ตับ ให้ acetaldehyde ให้ Acetyl CoA ด้วยอัตราส่วนคงที่ ไม่ขึ้นกับความเข้มข้น แต่ขึ้นกับขนาดของตับ และนํ้าหนักตัว ประมาณ 30 ml/3 ชั่วโมง (120 mg/ kg/hr) หรือวันละ 450 ml ให้พลังงาน 7 Kcal/gm

อีก 2% ออกทางไตและลมหายใจ

alv. air มี 0.05% ของในเลือด ในปัสสาวะมี 130% ของในเลือด

การดื้อยา  เกิดได้ ( เสพติดได้)

การเป็นพิษ    ทุกคนรู้จักดี

การได้กลิ่น  เหล้าจากลมหายใจใช้ไม่ได้ เชื่อไม่ได้ว่า เมาจริงหรือไม่ต้องวัดจากเลือด ปัสสาวะ หรือลมหายใจ (ใช้เครื่องวัด) กลิ่นเหล้าที่ได้นั้นมาจากส่วนผสมอื่น ไม่ใช่กลิ่น alcohol

การรักษา
ให้ความอบอุ่น ล้างท้อง (กาแฟไม่มีประโยชน์) ช่วยหายใจ ล้างไต (hemodialysis) ส่วนมากรอให้หายเมาเอง

การให้ยาพวก sedatives ต้องระวังการเสริมฤทธิ์กับ alcohol

ระดับที่มีผลต่อการทำงานทางร่างกาย 20-30 mg % ที่เห็นว่าเมาจะประมาณ 150 mg% ระดับถึงฆาต 400 mg %

ห้ามเหล้าในภาวะใดบ้าง
โรคตับ แผลในกระเพาะ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ กล้ามเนื้อทั่วไป หญิงมีครรภ์ คนที่เคยติดเหล้า

ประโยชน์ทางเภสัช
-ทาภายนอก
-แก้ฤทธิ์ methanol intexication

ที่มา:นายแพทย์มัยธัช สามเสน
พบ., วว. ประสาทศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลราชวิถี

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า