สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

ปอดอักเสบ(Pneumonia)

ปอดอักเสบ

การติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนล่าง (Lower respiratory tract infection)

ปอดอักเสบ (Pneumonia)
ผู้ป่วยมาด้วยอาการไข้ ไอ หอบ ตรวจร่างกายจะพบอาการหายใจลำบาก ได้แก่ หายใจจมูกบาน (nasal flaring) หายใจเร็วกว่า 40 ครั้ง/นาที หรือหายใจเร็วไม่เป็นสัดส่วนกับไข้ (โดยทั่วไปไข้ขึ้น 1๐ซ จะเพิ่มอัตราการหายใจประมาณ 5%) มี intercostal, subcostal และ suprasternal retraction หายใจเสียงดัง และอาจมี grunting ฟังปอดอาจได้ยินเสียง crepitation โดยเฉพาะ fine crepitation เสียงหายใจอาจค่อยไปด้านหนึ่ง และมีเสียง rhonchi ร่วมด้วย การตรวจร่างกายควรสังเกตการหายใจของเด็กขณะที่แม่อุ้มอยู่ก่อนจะจับต้องตัวเด็ก ผู้ป่วยที่เป็น lower lobe pneumonia อาจพบอาการปวดท้องได้ด้วย

การวินิจฉัยทำได้จากประวัติ และตรวจร่างกายโดยไม่จำเป็นต้องส่งภาพถ่ายรังสี ทรวงอก นอกจากในกรณีไม่แน่ใจ เช่น อาการไม่ชัดเจน หรือในเด็กเล็กและเด็กที่ร้องมาก เชื้อที่เป็นสาเหตุพบได้ทั้ง ไวรัส แบคทีเรีย mycobacteria, protozoa และเชื้อรา  เชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อยได้แก่ Streptococcus pneumoniae, H.influenzae, group A streptococci เชื้ออื่นๆ ที่อาจเป็นสาเหตุ ได้แก่ Staphylococcus aureus, Mycoplasma pneumoniae

ลักษณะของปอดอักเสบชนิดต่างๆ พอจะสรุปได้ดังตาราง
health-0168 - Copy

การวินิจฉัยแยกโรคในผู้ป่วยที่มีอาการไข้ ไอ หอบ คล้ายๆ กัน ได้แก่ acute bronchiolitis, asthmatic bronchitis, bronchial asthma และ laryngotracheobronchitis (viral croup)

การตรวจร่างกายอย่างละเอียดและการตรวจทางรังสี จะช่วยแยกโรคได้

การรักษา
ผู้ป่วยที่อาการไม่หนักอาจให้การรักษาที่คลินิกผู้ป่วยนอกได้

1. ยาปฏิชีวนะ เลือกใช้ penicillin หรือ ampicillin นาน 7-10 วัน

ขนาดยาที่ใช้ procaine penicillin G 25,000-50,000 ยูนิต/กก./ วัน โดยฉีดเข้ากล้ามวันละครั้ง เมื่ออาการดีขึ้นตามด้วย penicillin ชนิดรับประทานจนครบ 7-10 วัน ในเด็กโตขนาด procaine penicillin G สูงสุด 1.2 ล้านยูนิต สำหรับ ampicillin ใช้ขนาด 100 มก./กก./วัน แบ่งวันละ 4 ครั้ง

ผู้ป่วยที่แพ้ยากลุ่ม penicillin หรือในรายที่สงสัยเชื้อ Mycoplasma pneumoniae ควรใช้ erythromycin (40-50 มก./กก.) แบ่งวันละ 3-4 ครั้ง 7-10 วัน

แต่ในกรณี Mycoplasma pneumonia ต้องให้ยาปฏิชีวนะในระยะแรกๆ ของโรค จึงจะได้ผล

2. การรักษาโดยทั่วไป ได้แก่
2.1 ยาลดไข้ และเช็ดตัว
2.2 แนะนำผู้ป่วยให้ดื่มน้ำให้มาก
2.3 ยาขับเสมหะ ได้แก่ ammonium salt, glyceryl guiacolate จะช่วยทำให้เสมหะถูกขับออกมาได้ดีขึ้น ยาละลายเสมหะ ได้แก่ bromhexine, acetylcysteine อาจนำมาใช้ร่วมด้วย ในกรณีที่เสมหะเหนียวมาก
2.4 ยาขยายหลอดลม (Bronchodilator) ได้แก่
theophylline, salbutamol และ turbutaline ในผู้ป่วย ที่มี bronchospasm คือ ตรวจพบ wheezing หรือ rhonchi มาก
2.5 กายภาพบำบัดทรวงอก โดยจัดท่าผู้ป่วย และเคาะปอด (postural drainage) เพื่อช่วยทำให้เสมหะถูกขับออกมาจากปอด และหลอดลมได้ดีขึ้น

3. ควรรับผู้ป่วยไว้รักษาในโรงพยาบาล ในกรณีที่
3.1 ผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 3 เดือน
3.2 มีอาการหอบเหนื่อยปานกลางถึงรุนแรง
3.3 มีอาการขาดน้ำปานกลางถึงรุนแรง โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่อาเจียน หรือรับประทานอาหารและน้ำได้ไม่เพียงพอ
3.4 ให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอกแล้วอาการไม่ดีขึ้น
3.5 สงสัยหรือมีโรคแทรกซ้อน ได้แก่ pleural    effusion, empyema เป็นต้น

ที่มา:พรพิมล  พฤกษ์ประเสริฐ

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า