สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

การติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ (Urinary tract infection)

ทางเดินปัสสาวะ
หมายถึง การติดเชื้อโรคที่เนื้อเยื่อส่วนใดส่วนหนึ่งของไต ตลอดจนระบบทางเดินปัสสาวะ ตั้งแต่ Renal cortex จนถึง urethral meatus ได้แก่ pyelonephri tis, cystitis, urethritis เป็นต้น

ในทารกแรกเกิด พบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิง หลังจากนั้นพบในเด็กหญิงมากกว่าเด็กชาย

“Significant Bacteriuria” หมายถึง เพาะเชื้อจาก clean catch mid-stream urine ได้มากกว่า 105 coloniesต่อมล. หรือเพาะได้เชื้อจากปัสสาวะ จาก suprapubic aspiration

ลักษณะอาการทางคลินิค
เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปี จะแสดงอาการไม่แน่นอน เช่น ไข้ ตัวเหลือง เบื่ออาหาร อาเจียน ท้องเสีย ซึม เลี้ยงไม่โต ชัก

เด็กโตอายุมากกว่า 2 ปี จะแสดงอาการชัดเจนของการอักเสบของทางเดินปัสสาวะ เช่น ไข้ หนาวสั่น ปัสสาวะแสบขัด และปวดปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะรดที่นอน ปัสสาวะเป็นเลือด ปวดท้องน้อย ปวดและกดเจ็บบริเวณชายโครงด้านหลัง

เชื้อที่เป็นสาเหตุ
ส่วนใหญ่เป็นเชื้อ Gram negative organisms ที่พบมากที่สุดคือ E.coli รองลงไปได้แก่ klebsiella, proteus, enterobacter, pseudomonas เป็นต้น ส่วนน้อยเป็น Gram positive organisms ได้แก่ Staphylococcus aureus, Staphylococcus albus และ enterococcus เป็นต้น และ viruses เช่น adenovirus type 11 และ 21 เป็นต้น

การวินิจฉัย
อาศัยลักษณะอาการทางคลินิกร่วมกับ “Significant bacteriuria”

การตรวจพบแบคทีเรีย 1 ตัวต่อ oil field ในปัสสาวะไม่ปั่นที่นำมาทำการย้อมสีกรัมมีค่าเท่ากับเพาะเชื้อได้มากกว่า 105 colonies ต่อมล.

การตรวจวินิจฉัยโดยภาพถ่ายรังสี
เนื่องจากพบความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะในเด็กพวกนี้ได้บ่อย คือ ประมาณร้อยละ 10 มีการอุดตันของทางเดินปัสสาวะ, agenesis, horseshoe kidney หรือ duplication และร้อยละ 35 มี vesicoureteral reflux ดังนั้นจึงแนะนำให้ทำ IVP และ voiding cystourethrogram (VCUG) ในกรณีต่อไปนี้

1. เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ปี
2. เด็กโตอายุมากกว่า 3 ปี ในเด็กชายที่มีการติดเชื้อครั้งแรก และในเด็กหญิงที่มีการติดเชื้อซ้ำ
3. มีการติดเชื้อรุนแรง, sepsis หรือมีอาการและอาการแสดงของ acute pyelonephritis
4. ตรวจร่างกายพบความผิดปกติ เช่น ความดันโลหิตสูง ปัสสาวะออกผิดที่ โตช้า คลำกระเพาะปัสสาวะหรือไตที่โตได้
5. มีหน้าที่ของไตผิดปกติ เช่น ทำให้ปัสสาวะเข้มข้นไม่ได้ มี persistent proteinuria, BUN และ creatinine เพิ่มขึ้น GFR ลดลง

การทำ IVP และ VCUG ควรทำเมื่อผู้ป่วยหายแล้วอย่างน้อย 4 สัปดาห์ ในรายที่จำเป็นสามารถทำได้เลย พร้อมกับให้ยาปฏิชีวนะไปด้วย (VCUG ทำในเด็กทุกราย ที่อายุน้อยกว่า 5 ปี เด็กที่อายุมากกว่านี้พิจารณาเป็นรายๆ ไป)

การรักษา
1. ในกรณีที่ไม่รุนแรง ไม่มีภาวะแทรกซ้อน หรือเป็นการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง ยาที่นิยมใช้คือ ampicillin หรือ cotrimoxazole รับประทานนาน 10-14 วัน

ยาที่ใช้โดยการรับประทานสำหรับการติดเชื้อระบบปัสสาวะที่ไม่รุนแรงในผู้ป่วยนอก
health-0211 - Copy

2. พิจารณารับไว้ในโรงพยาบาลในราย acute pyelonephritis อาการรุนแรงไม่ตอบสนองต่อการรักษา มีความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ และมีภาวะแทรกซ้อน

3. พวกที่มีการติดเชื้อซ้ำโดยไม่มีความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ (recurrent simple UTI) ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีปัจจัยชักนำให้เกิดเป็นซ้ำๆ ได้แก่

-การรักษาความสะอาดบริเวณ perineum และการชำระหลังการขับถ่ายไม่ถูกต้อง
-ท้องผูกเป็นประจำ
-กลั้นปัสสาวะบ่อยๆ
-ดื่มน้ำน้อย
-สวมกางเกงคับ
-มี colonization ของ subpreputial sac ในเพศชาย
-ไม่มี IgA ใน vaginal secretions
-มี bacterial adherence ที่ vaginal และ/หรือ bladder mucosa

ผู้ป่วยพวกนี้ควรได้รับการแนะนำแก้ไขสาเหตุชักนำ และให้ยาป้องกัน ได้แก่ cotrimoxazole ขนาด 2 มก./กก./วัน ของ TMP, nitrofurantoin 1-2 มก./ กก./วัน ให้วันละครั้งก่อนนอน นาน 6-12 เดือน

การติดตามผลรักษา ควรทำการเพาะเชื้อจากปัสสาวะซ้ำเมื่อ

1. ให้การรักษาไปแล้ว 48 ชั่วโมง ซึ่งไม่ควรจะมีเชื้อหรือมีน้อยกว่า 104
2. หยุดให้การรักษาแล้ว 24 ชั่วโมงหรือ 1 สัปดาห์
3. หลังการรักษาแล้วทุก 2-3 เดือน อย่างน้อย 1-2 ปี ทั้งนี้เนื่องจาก ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มีปัญหาการติดเชื้อซ้ำมักจะเกิดขึ้นในระยะนี้

ที่มา:พรศักดิ์  ดิสนีเวทย์

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า