สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

ต้อกระจกแต่กำเนิด (Congenital cataract)

ต้อกระจก
แก้วตาที่ปกติจะใสเป็น biconvex เมื่อเกิดความขุ่นขึ้นในแก้วตา ไม่ว่าจากสาเหตุใด เรียกว่า cataract

congenital cataract เป็นโรคตาที่พบบ่อย และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้สายตาเลวลง Francois ได้รายงานว่าร้อยละ 10-38.8 ของเด็กที่ตาบอด มีสาเหตุมาจาก congenital cataract

ลักษณะทางคลินิก
ผู้ป่วยที่เป็นต้อกระจกจะมีสายตาเลวลง ในเด็กจะสังเกตเห็น white reflex จากรูม่านตาที่เรียกว่า leukokoria บิดามารดาจะสังเกตว่าบุตรของตนไม่สนใจต่อสิ่งแวดล้อม ในเด็กที่มีต้อกระจกและไม่พบมี nystagmus จะพบความชัดเจนของสายตา (visual acuity) ประมาณ 20/100 ถึง 20/200 ในกรณีที่กระจกตาเพียงแต่ขุ่น และทำให้ความชัดเจนของสายตาเลวลงเพียง 20/50 ถึง 20/100 บิดามารดาผู้ป่วยอาจไม่สังเกตเห็นความผิดปกติได้

อาการอย่างอื่นที่สำคัญ ได้แก่ nystagmus of the searching หรือ wandering type ซึ่งจะบ่งชี้ว่าความชัดเจนของสายตาเลวลงกว่า 20/200

การที่ความชัดเจนของสายตาเลวลงในตาข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างอาจมีผลต่อ ocular alignment ในบางครั้งบิดามารดาสังเกตเห็นลูกมีตาเข ซึ่งเป็นสาเหตุทุติยภูมิต่อการที่มีแก้วตาขุ่น นอกจากนี้ในเด็กที่มี optic atrophy และสายตาไม่ดีอาจมาด้วยอาการ strabismus ได้ ได้มีรายงานว่า esotropia เป็นอาการนำที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยretinoblastoma

การเกิดความขุ่นของแก้วตาอาจเกิดจาก intrauterine infection เช่น rubella การได้รับยา corticosteroid ทาง systemic มักเกิดขึ้นภายใน 2 ปี

สาเหตุ
เมื่อเด็กคลอดแล้ว ตรวจพบว่าเป็นต้อกระจก ไม่ว่าจะเป็นข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง ควรที่จะต้องค้นหาสาเหตุต่อไป สาเหตุของต้อกระจกในเด็กมีมากมาย แต่ 1 ใน 3 ที่พบเป็น idiopathic ดังตาราง

สาเหตุของต้อกระจกในทารกและเด็ก
health-0329 - Copy

การรักษา
ข้อชี้บ่งในการทำผ่าตัดต้อกระจกในทารก และเด็ก จะทำผ่าตัดเมื่อต้อกระจกเป็นมากจนกระทั่งไปบัง visual development ที่ปกติ

ใน congenital cataract ที่เป็นข้างเดียวจะเป็นปัญหาในการรักษา การที่สายตาเลวลงซึ่งเป็นผลจากต้อกระจก จะทำให้มีโอกาสเกิด amblyopia ได้ เด็กจะเรียนรู้การเห็นจากตาข้างดี และในขณะเดียวกันตาข้างที่เป็นต้อกระจกจะเกิด depriva¬tion amblyopia การเอาต้อกระจกออก และให้ผู้ป่วยใส่แว่นตาจะไม่สามารถให้สายตากลับคืนมาเห็นเท่ากันได้ เนื่องจากแว่นที่ใส่ให้ผู้ป่วยหลังผ่าตัดต้อกระจกไปแล้ว จะมีกำลังขยายของภาพใหญ่กว่าข้างที่ปกติถึง 25% แม้จะให้ผู้ป่วยเปลี่ยนไปใส่เลนส์สัมผัส ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ทั้งหมด เนื่องจากการใส่เลนส์สัมผัสในเด็กเป็นปัญหาใหญ่ เช่น อาจเกิดการสูญหายของเลนส์สัมผัสได้ง่าย

ที่มา:วิสูตร  ฉายากุล

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า