สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

ตาอักเสบจากเชื้อหนองใน(Gonococcal ophthalmia neonatorum)

เป็นการติดเชื้อหนองในขณะคลอดของทารกจากช่องคลอดของมารดา

อาการ
ทารกมักจะมีอาการตาอักเสบ หนังตาบวมแดง ลืมตาไม่ได้ และมีขี้ตาแฉะ ลักษณะขี้ตาเป็นหนองสีเหลืองหรือสีเขียว หลังจากคลอดได้ประมาณ 1-4 วัน

ภาวะแทรกซ้อน
โรคอาจลุกลามจนทำให้เป็นแผลกระจกตา ทำให้สายตาพิการได้ถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องตาอักเสบจากเชื้อหนองใน

การรักษา
ควรนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลด่วนหากไม่แน่ใจหรือสงสัยว่าจะเกิดโรค อาจต้องตรวจหนองที่ตาด้วยกล้องจุลทรรศน์ ซึ่งมักจะพบเชื้อหนองในจากการตรวจ

แพทย์มักจะให้การรักษาด้วยการฉีดเซฟทริอะโซน ขนาด 50 มก./กก.เข้ากล้ามเนื้อครั้งเดียว และทุกชั่วโมงต้องล้างตาด้วยน้ำเกลือหรือยาล้างตา จนกว่าหนองจะแห้ง ในทารกคลอดก่อนกำหนดหรือมีอาการตัวเหลืองควรใช้ยานี้ด้วยความระมัดระวัง

ข้อแนะนำ
ควรนึกถึงการติดเชื้อหนองในและควรรีบนำทารกส่งโรงพยาบาล ในกรณีที่พบทารกแรกเกิดมีอาการตาบวมตาแฉะซึ่งเกิดขึ้นภายใน 4 วันแรกหลังคลอด

การป้องกัน
เพื่อป้องกันมิให้เกิดโรคนี้ควรใช้ยาหยอดตา เช่น ซิลเวอร์ไนเทรต ชนิด 1% หรือยาป้ายตาเตตราไซคลีน ในทารกหลังคลอดทุกราย

2. ขณะคลอดควรป้องกันไม่ให้ทารกติดเชื้อหนองในจากมารดาด้วยการฉีดเซฟทริอะโซนในขนาดเดียวกับที่ใช้รักษา

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า