สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

ดียูบี(Dysfunctional uterine bleeding/DUB)

เป็นภาวะที่มีเลือดออกจากโพรงมดลูกอย่างผิดปกติโดยไม่พบว่ามีพยาธิสภาพเฉพาะ เช่น เนื้องอกหรือการอักเสบของมดลูกหรือการตั้งครรภ์ดียูบี

สามารถพบภาวะนี้ได้ในผู้หญิงทุกวัย พบมากในระยะเข้าสู่วัยสาวเมื่อมีประจำเดือนครั้งแรก และวัยกลางคนที่ใกล้จะหมดจำเดือนอย่างถาวร

มักพบว่าเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยของภาวะมีเลือดออกทางช่องคลอดมากหรือนานผิดปกติ

สาเหตุ
เกิดจากฮอร์โมนเอสโทรเจนและโพรเจสเทอโรนในเพศหญิงเกิดการเสียสมดุล เกิดภาวะเอสโทรเจนในร่างกายสูงกว่าปกติทำให้มดลูกหนาตัวขึ้น ทำให้มีเลือดออกจากโพรงมดลูกตามมา มักเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด มักพบในผู้หญิงที่มีรอบเดือนที่ไม่มีการตกไข่

อาการ
ผู้ป่วยจะมีเลือดออกคล้ายเลือดประจำเดือนออกมากหรือกะปริดกะปรอยนานเป็นสัปดาห์ ผู้ป่วยอาจมีภาวะซีด และอ่อนเพลียจากการที่มีเลือดออกมาก แต่ไม่มีอาการปวดท้องร่วมด้วย ผู้ป่วยอาจมีประวัติประจำเดือนขาดนำมาก่อนสัก 2-3 เดือนในบางราย

สิ่งตรวจพบ
มักจะตรวจไม่พบสิ่งที่ผิดปกติได้ชัดเจน แต่อาจตรวจพบภาวะซีดในรายที่มีเลือดออกมาก

ภาวะแทรกซ้อน
การเสียเลือดอาจทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง หรืออาจเกิดภาวะช็อกเกิดขึ้นได้ในรายที่มีเลือดออกมากและเร็ว

การรักษา
ควรนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลหากไม่แน่ใจหรือสงสัยว่าจะเกิดโรค เพื่อดูว่ามีการหนาตัวของเยื่อบุมดลูกหรือไม่ โดยแพทย์จะทำการตรวจภายในช่องคลอด ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจอัลตราซาวนด์ผ่านทางช่องคลอด และอาจต้องตรวจพิเศษอื่นๆ ถ้าสงสัยมีพยาธิสภาพในโพรงมดลูก เช่น ตรวจชิ้นเนื้อในรายที่สงสัยเป็นมะเร็งเยื่อบุมดลูกในผู้ป่วยอายุมากกว่า 35 ปี

แพทย์มักให้การรักษาดังนี้
1. แพทย์จะให้ยาบำรุงโลหิต ในรายที่มีเลือดออกน้อย ไม่ซีดหรือซีดเล็กน้อย ยังดำเนินชีวิตได้ตามปกติ และอาจให้ฮอร์โมนเพื่อควบคุมให้เลือดออกน้อยในรายที่มีภาวะซีด ด้วยยาชนิดใดชนิดหนึ่งดังนี้
-ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดรวม 1 เม็ด วันละ 4 ครั้ง นาน 4-7 วัน
-โพรเจสเทอโรน เช่น medroxyprogesterone acetate ขนาด 10 มก. กินวันละครั้ง นาน 10-13 วัน/เดือน ในวันที่ 1-10 ของทุกเดือนเป็นเวลา 1-2 เดือน หรือให้กินนอร์เอทิสเทอโรน 5 มก. วันละ 3 ครั้ง นาน 10 วัน และต่อมาให้กิน 5 มก. วันละ 2-3 ครั้ง ในวันที่ 19-26 ของทุกเดือนเป็นเวลา 3 เดือน

2. แพทย์จะรับไว้รักษาในโรงพยาบาลในรายที่มีเลือดออกมาก มีภาวะซีดมาก หรือมีชีพจรเต้นเร็ว หรือภาวะช็อก ในรายที่เสียเลือดมากก็จะให้เลือด และเพื่อควบคุมภาวะเลือดออกด้วยการให้ยาฮอร์โมนชนิดใดชนิดหนึ่ง ดังนี้
-ให้ conjugated equine estrogen 25-50 มก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุก 6 ชั่วโมง หรือให้กินชนิดเม็ด 2.5 มก. ทุก 6 ชั่วโมง และเลือดมักจะหยุดได้ภายใน 24 ชั่วโมง หลังจากนั้นให้กินชนิดเม็ด 10 มก./วัน เป็นเวลา 21-25 วัน และให้เพิ่มยา medroxyprogesterone acetate 10 มก. วันละครั้ง ใน 7-10 วันสุดท้ายก่อนที่จะหยุดยา

-ให้กินยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดรวม วันละ 3-4 เม็ด จนเลือดหยุดแล้วให้กินต่อไปอีก 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้เปลี่ยนเป็น medroxyprogesteron acetate วันละ 10 มก. นาน 10 วัน แล้วจึงหยุดยา

ผู้ป่วยมักจะมีเลือดออกตามมาหลังหยุดยา 1-2 สัปดาห์ และเพื่อช่วยให้ประจำเดือนมากเป็นปกติควรให้ผู้ป่วยกินยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดรวมติดต่อกันอีกอย่างน้อย 3-6 เดือน

4. แพทย์อาจทำการขูดมดลูกและทำการตรวจชิ้นเนื้อเพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้เป็นมะเร็งโพรงมดลูก ถ้าให้ยาฮอร์โมนแล้วเลือดยังไม่หยุด หรือพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี และเพื่อตรวจพยาธิสภาพในโพรงมดลูกของผู้ป่วยแพทย์อาจต้องใช้กล้องส่องตรวจโพรงมดลูกในผู้ป่วยบางราย

เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำหลังจากขูดมดลูกเพื่อช่วยให้เลือดหยุดไหล ผู้ป่วยควรกินยาเม็ดคุมกำเนิดนานอย่างน้อย 3-6 เดือน

แพทย์อาจทำการรักษาด้วยการผ่าตัดมดลูกในรายที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาฮอร์โมนหรือมีความผิดปกติของโพรงมดลูก เช่น เนื้องอกมดลูก มะเร็งมดลูก เป็นต้น

ข้อแนะนำ
อาจมีสาเหตุจากดียูบีในผู้ป่วยที่มีเลือดประจำเดือนออกมากหรือกะปริดกะปรอย มักไม่มีสาเหตุจากความผิดปกติของมดลูก เช่น เนื้องอกมดลูก มะเร็งเยื่อบุมดลูก มะเร็งปากมดลูก เป็นต้น และมักไม่มีอันตรายร้ายแรง ซึ่งมักพบได้ในผู้หญิง 35 ปีขึ้นไป และจากภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ เช่น ครรภ์นอกมดลูก แท้งบุตร เป็นต้น หากไม่แน่ใจหรือสงสัยควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุโรคให้แน่ชัด

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า