สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

จิตบำบัดคืออะไร?

การที่จะอธิบายและให้คำจำกัดความที่ถูกต้องและรัดกุมของคำว่า “จิตบำบัด” คือ อะไรนั้น เป็นเรื่องที่ยุ่งยากและสลับซับซ้อน เหมือนกับเขียนเรื่องปรัชญา ตัวอย่างเช่น ในตำราของ Wolberg (1977) ได้ให้คำจำกัดความไว้ถึง 37 ชนิด ถ้านับรวมกับตำราเล่มอื่นๆ แล้ว คงจะได้ตัวเลขที่สูงกว่านี้อีกมาก แต่อย่างไรก็ตาม คำจำกัดความที่ผู้เขียนชอบใจมาก ที่สุดคือ คำจำกัดความของนายแพทย์ Wolberg (1977) เอง ซึ่งกล่าวว่า

“Psychotherapy is the treatment, by psychological means, of problems of an emotional nature in which a trained person deliberately establishes a professional relationship with the patient with the object of (1) removing, modifying, or retarding existing symptoms, (2) mediating disturbed pattern of behavior, and (3) promoting positive personality growth and development.

ผู้เขียนขออนุญาตถอดข้อความเป็นภาษาไทย ดังนี้ “จิตบำบัดคือการรักษาชนิดหนึ่ง โดยวิธีทางจิตใจ (ไม่รวมวิธีอื่น เช่น การใช้ยา การทำช็อกไฟฟ้า การผ่าตัดสมอง เป็นต้น) สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาทางอารมณ์หรือจิตใจ โดยที่ผู้รักษาซึ่งได้รับการฝึกอบรมมาโดยเฉพาะ จงใจ หรือมีเจตนาที่จะสร้างความสัมพันธ์หรือมนุษยสัมพันธ์กับผู้ป่วย บนรากฐานของความเป็น Professional (ผู้เขียนไม่สามารถหาคำแปลที่ถูกใจได้ จึงขอใช้การอธิบายแทนดังนี้ ความสัมพันธ์หรือมนุษยสัมพันธ์ของคนเรานั้น แบ่งออกได้เป็นหลายระดับ เช่น เป็นเพื่อนกันก็ได้ เป็นคู่รักกันก็ได้ เป็นอย่างลูกศิษย์กับอาจารย์ก็ได้ เป็นแบบนายจ้างกับลูกจ้างก็ได้ เป็นแบบบิดามารดากับบุตรธิดาก็ได้ ฯลฯ เมื่อเป็นอย่างนี้ ความสัมพันธ์หรือมนุษยสัมพันธ์ระหว่างผู้รักษากับผู้ป่วยจะต้องเป็นแบบหน้าที่การงานหรืออาชีพ คือ ผู้ป่วย เป็นผู้มาขอรับการรักษา ส่วนผู้รักษาคือผู้ให้บริการ จะเป็นแบบเพื่อนฝูง หรือ ญาติพี่น้อง หรือคู่รัก ฯลฯ ไม่ได้) เมื่อสร้างความสัมพันธ์ชนิดนี้กับผู้ป่วยได้แล้ว ผู้รักษาก็จะใช้ความเร็วเกินไปเท่านั้น ตัวอย่างเช่น การทำจิตบำบัดในผู้ป่วยโรคจิตเภทชนิดที่เรียกว่า Fulminating Schizophrenia เป็นต้น การทำจิตบำบัดชนิดนี้เรียกว่า Palliative Treatment

คำว่า “ช่วยลดหรือปรับปรุงพฤติกรรมที่ไม่ดีของผู้ป่วย” หมายความว่า ผู้ป่วยโรคจิตเวช นอกจากจะมีอาการไม่สบายแล้ว บางครั้งยังมีพฤติกรรมที่ไม่ดีหรือไม่เหมาะสมด้วย พฤติกรรมเหล่านี้จะแสดงให้เห็นได้จากอาชีพการงาน ความสามารถในการเรียน  ปัญหาของคู่สมรส มนุษยสัมพันธ์กับคนทั่วไป และปัญหาของสังคม เป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนี้ เป้าหมายของการทำจิตบำบัดในบางราย จึงมีส่วนในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ด้วย

ประโยคสุดท้ายที่ต้องอธิบายคือ “ส่งเสริมให้มีการพัฒนาและเจริญเติบโตของบุคลิกภาพของผู้ป่วย ในลักษณะที่ก่อประโยชน์ยิ่งขึ้น” หมายความว่า ปัญหาทางอารมณ์และจิตใจนั้น ยังเป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าในทางการงาน ขัดขวางความสำเร็จของชีวิต และเป็นต้นเหตุทำให้บุคคลเหล่านี้ไม่สามารถดำรงชีวิตในลักษณะที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม รวมทั้งไม่อาจแสวงหาความสุขในการดำรงชีวิตในลักษณะที่ควรจะเป็นไปได้ด้วย

คำจำกัดความที่ได้อธิบายมานี้ ไม่รวมจิตบำบัดที่มีอยู่ตามธรรมชาติในสังคมของมนุษย์ ก่อนที่จะกล่าวถึงจิตบำบัดที่มีอยู่ตามธรรมชาติ จะต้องกล่าวถึงการแบ่งชนิดของจิตบำบัดก่อน

จิตบำบัดนั้นแบ่งออกเป็นหลายชนิด ตำราบางเล่มแบ่งออกเป็น 2 ชนิด บางเล่มแบ่งเป็น 3 ชนิด และบางเล่มก็แบ่งออกเป็นถึง 4 ชนิด ตำราแต่ละเล่มเรียกชื่อชนิดของจิตบำบัดแตกต่างกันไป เพื่อให้เป็นการง่ายเข้า ผู้เขียนจะขอแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ

1. จิตบำบัดชั้นต้น หรือ Supportive Psychotherapy
2. จิตบำบัดชั้นกลาง หรือ Supportive Relationship Psychotherapy
3. จิตบำบัดชั้นสูง หรือ Insight Psychotherapy

ถ้าท่านผู้อ่านเปิดดูในตำราต่างๆ จะพบว่าถึงแม้การแบ่งชนิดของจิตบำบัดจะแตกต่างไปบ้าง แต่การอธิบายความหมายจะไม่แตกต่างกันมาก

จิตบำบัดชั้นต้น  หมายถึง จิตบำบัดที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ตามความจริงแล้ว จิตบำบัดชนิดนี้ มีมานานเท่าประวัติศาสตร์ของมวลมนุษย์ ในสมัยโบราณเวลามีความไม่สบายใจคนในสมัยนั้นก็จะกราบไหว้บูชาผีสางเทวดาต่างๆ ต่อมาเมื่อศาสนาเจริญขึ้น พวกพระและบาทหลวงก็ได้ทำหน้าที่นี้ แม้ในสมัยปัจจุบัน สิ่งเหล่านี้ก็ยังมีอยู่ จิตบำบัดชั้นต้นนี้ ทุกคนทำได้ถ้าสนใจ จิตบำบัดชนิดนี้อาศัยศรัทธา (Faith Healer) ความสัมพันธ์หรือมนุษยสัมพันธ์ที่ดี บุคลิกภาพ และความมีชื่อเสียงของผู้รักษา รวมทั้งศิลปในการจูงใจคนที่แทบไม่น่าจะเชื่อก็คือ คนบางอาชีพที่สังคมถือว่าเป็นคนชั้นต่ำนั้น ก็ยังสามารถทำจิตบำบัดระดับนี้ได้ ผู้เขียนขอยกเอาบทความ “เหะหะพาที” เอะอะโดย “ซูม” เรื่อง “ฮ่องเต้ไทยแลนด์” จากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ปีที่ 15 ฉบับที่ 6062 ประจำวันอังคารที่ 16 กรกฎาคม 2517 เขียนไว้ดังนี้

“ว่ากันว่า การพัฒนาประเทศกับ “จิตแพทย์” มักจะเป็นของคู่กัน ประเทศชาติ พัฒนาไปมากเท่าไร ความต้องการที่จะใช้จิตแพทย์ก็มากขึ้นเท่านั้น ผู้คนก็มักจะพลอยว้าวุ่นไปด้วย และในที่สุดก็มักจะเกิดปัญหา เมื่อคับอกคับใจขึ้นมาก็ต้องไปคุยกับคุณหมอไว้ก่อน ในประเทศอย่างเช่นอังกฤษหรืออเมริกา จึงปรากฏว่า คุณหมอโรคจิตรํ่ารวยไปตามๆ กัน

สำหรับเมืองไทยเรา ซึ่งกำลังเร่งรัดพัฒนากันสุดเหวี่ยงนั้น ก็ชักจะปรากฏว่าผู้คนมีปัญหามากขึ้น แต่บ้านเราจิตแพทย์มีน้อย ไม่พอกับความต้องการ เวลามีปัญหาว้าวุ่นใจ ผู้คนจึงมักจะไปหา “ทัศนาแพทย์” หรือ “หมอดู” ซะมากกว่าอาชีพที่ขึ้นหน้าขึ้นตาในท่ามกลางการแสวงหาอันสับสนของคนไทยทุกวันนี้ ก็เห็นจะเป็นหมอดูนี่แหละครับ นอกจากหมอดูแล้วก็ได้แก่ ศาลพระภูมิบ้าง ศาลพระพรหมบ้าง ที่เป็นที่พึ่งทางใจของคนไทยเวลานี้ และที่แทบไม่น่าเชื่อจากการสังเกตสังกาของผมพบว่า ที่ปรึกษาทางใจที่คนไทยนิยมมากอีกอย่างได้แก่ “ดร. นวด” ตามโรงอาบอบนวดต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนไทยเชื้อสายจีน ประเภท “อาเสี่ย” ทั้งหลาย มักจะชอบเป็นพิเศษ จากการสัมภาษณ์คุณหมอนวดอย่างไม่เป็นทางการ พอประมวลได้ว่า “อาเสี่ย” หรือนักธุรกิจ เป็นลูกค้าที่ไปอุดหนุนกิจการนวดเป็นจำนวนไม่น้อย มีเรื่องกลุ้มใจเกี่ยวกับการงานการค้าขาย ก็มักจะระบายให้คุณหมอนวดฟัง อันที่จริงคุณหมอนวดเธอก็ไม่รู้หรอกครับว่า ปัญหาเกิดขึ้น เธอจะช่วยได้ยังไง สิ่งที่เธอประพฤติปฏิบัติก็คือ การเอาอกเอาใจหรือไม่ก็ให้กำลังใจ

ที่มา:ปราโมทย์  เชาวศิลป์

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า