สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

ความผิดปกติของหนังตาและLacrimal apparatus

ความผิดปกติของหนังตา

Hordeolum
Hordeolum หรือ stye เป็น acute suppurative inflammation ของ glands of Zeis และ Moll สาเหตุที่พบได้บ่อยจาก staphylococcal infection

อาการแสดง ตรวจพบเปลือกตาบวม ซึ่งอาจบวมทั้งเปลือกตาและตามมาด้วยเป็นตุ่มแดง เฉพาะที่ที่เปลือกตา

การรักษา  ให้ warm compression หยอดยาปฏิชีวนะ (antibiotic eye drop) ถ้าต้องกรีดหนอง (drainage) ต้องดมยาสลบในเด็ก

Chalazion
เป็น chronic inflammatory lipogranuloma ของ meibomion gland ซึ่งเกิดจากมีการอุดตันของ gland duct ลักษณะทั่วไบ chalazion จะอยู่ที่ตำแหน่งตรงกลางของ tarsus ห่างจากขอบหนังตา

ลักษณะทางคลินิก chalazion เป็นก้อนโต ไม่เจ็บ บริเวณหนังตา ก้อนอาจโตขึ้นได้

การรักษา  ถ้าเป็น chalazion ขนาดเล็ก อาจหายได้เอง แต่ถ้าเป็นก้อนโต หรือมีการติดเชื้อเกิดขึ้น ต้องให้การรักษาเช่นเดียวกับ hordeolum ในบางรายถ้ายังไม่ดีขึ้นอาจต้องทำผ่ากรีดหนอง ในเด็กควรดมยาสลบ

Blepharitis
เป็นการอักเสบเรื้อรังของขอบหนังตา บางครั้งอาจมีเยื่อตาอักเสบร่วมด้วย เรียกว่า blepharoconjunctivitis นอกจากนี้อาจพบขนตาร่วง (madarosis) และบริเวณขอบหนังตาหนาขึ้น (tylosis ciliaris)

หนังตาอักเสบมีอยู 2 ชนิดคือ ชนิด simple squamous และชนิด ulcera-ted

Simple squamous จะพบมี hypertrophy และมี desquamation ของ
epidermis ที่บริเวณขอบหนังตา เป็นผลให้เกิด erythema,และมี scaling ของขอบหนังตา มักพบบ่อยที่เกิดร่วมกับ seborrheic dermatitis ของหนังศีรษะ

ulcerated type เกิดจาก acute และ chronic suppurative inflammation ของ follicles ของขนตาและ glands of Zeis และ Moll เชื้อที่เป็นสาเหตุที่พบบ่อยคือ staphylococcus aureus บริเวณขอบหนังตาจะบวมแดง และเป็นแผล

การรักษาทำความสะอาดบริเวณหนังตาด้วยไม้พันสำลีชุบ isotonic shampoo ร่วมกับการใช้ antibiotic และ steroid ointment.

Epicanthus
เป็น semi lunar fold ของหนังที่ยื่นจากส่วนด้านข้างของจมูกไปยังหนังตาล่าง ไปปกคลุมบางส่วนของ inner canthus มักพบเป็นทั้งสองข้าง พบได้บ่อยและมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบ autosomal dominant ส่วนของหนังที่ยื่นออกมานี้อาจไปคลุมส่วน nasal sclera ทำให้ดูเหมือนว่าตาเขเข้าใน โดยเฉพาะเวลาให้มองไปทางด้านข้าง เรียกว่า pseudoesophoria ไม่ต้องให้การรักษา

ที่มา:วิสูตร  ฉายากุล

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า