สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

ความดันโลหิตเท่าไรจึงนับว่าเป็นโรคความดันสูง

ร้อยยี่สิบ แปดสิบ (120/80) , เก้าสิบ หกสิบ (90/60) , ร้อยเก้าสิบ ร้อย (190/100) ฯลฯ เรามักจะได้ยินตัวเลขเหล่านี้จากหมอหรือพยาบาลที่ทำการวัดค่าความดันโลหิตให้เรา และมักจะบอกให้เราจำตัวเลขไว้เสมอ คนไข้บางคนรับทราบว่ามีค่าเท่าไรแล้ว ยังต้องถามต่อว่า “แล้วมัน ปกติไหม” บางคนจำตัวเลขได้ตัวเดียว บางคนเอาเลขมาบวกกัน แล้วตอบเป็นค่าความตันโลหิตของตนเอง และบางคนไม่เคยจำอะไรได้เลย

ความดันโลหิตสูง

เหตุที่ต้องมีค่าตัวเลขสองตัว เป็นเลขบนและเลขล่าง (ยังกับหวย) ก็เพราะตัวเลขแรก (หรือเลขบน) หมายถึงค่าแรงดันสูงสุด ขณะหัวใจบีบตัวฉีดเลือดเข้ามาในหลอดเลือดแดง และตัวเลขหลัง (เลขล่าง) คือค่าความดันต่ำสุดขณะที่หัวใจคลายตัว ตัวเลขทั้งสอง ค่าจึงสำคัญและเป็นตัวเลขที่ใช้ในการพิจารณาว่า คนๆนั้นเป็น โรคความดันโลหิตสูงหรือไม่ องค์การอนามัยโลกได้กำหนดระดับความดันโลหิตของคนวัยผู้ใหญ่ไว้ว่าถ้าระดับความดันโลหิตต่ำกว่า 140/90 ม.ม.ปรอท จัดว่าปกติ แต่ถ้าความดันโลหิตสูงกว่า 160/95 ม.ม.ปรอท จัดว่าเป็น ‘‘โรคความดันโลหิตสูง’’

โรคความดันโลหิตสูง มักพบในคนวัยกลางคนขึ้นไป โดยมากจะมีอาการปวดศีรษะมาก บางครั้งปวดจนเวียนและมีนงง มักปวดตรงท้ายทอยในเวลาเช้า ยิ่งเครียดมากก็ยิ่งทำให้มีอาการมากขึ้น สาเหตุที่แน่นอนของโรคยังไม่ทราบ อาจมีสาเหตุจากกรรมพันธุ์ อาหารการกิน อาชีพ ภูมิประเทศ ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือโรคหัวใจ ก็มักจะพบอาการของโรคความดันโลหิตสูงด้วย

เราต้องสนใจโรคความดันโลหิตสูง เพราะถ้าปล่อยให้อาการหนักมาก ๆ อาจถึงแก่ความตายได้ ถ้าไมตายก็มีโรคแทรกหลาย ระบบ เช่น โรคของระบบหลอดเลือดและหัวใจ ชึ่งมักจะเป็นสาเหตุ ของโรคหัวใจและอัมพาต โรคไต แม้แต่อาจทำให้ตาบอดก็เป็นได้ วงการแพทย์ได้คิดค้นยามากมายเพื่อรักษาโรคนี้ แต่การรักษาก็ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ป่วยเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเรื่องอาหาร

,

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า