สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

ความดันโลหิตสูงในเด็ก (Hypertension in children)

ความดันสูง
ความดันโลหิตสูงในเด็กพบได้ไม่บ่อย ยังไม่ทราบอุบัติการแท้จริงในเด็กไทย ตามคำจำกัดความจะเรียกว่ามีความดันโลหิตสูง เมื่อวัดค่าความดันโลหิต (systolic หรือ diastolic pressure) ได้มากกว่าค่าเฉลี่ย +2 เท่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน หรือมากกว่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 95 ในเด็กเพศเเละช่วงอายุเดียวกัน

การวัดจะต้องใช้ขนาดกว้างของ cuff ประมาณ 2/3 ของความยาวของต้นแขนช่วงบน ควรวัดทั้งแขนและขาเมื่อมีความดันโลหิตสูง และค่าผิดปกตินั้นจะต้องวัดได้มากกว่า 2 หรือ 3 ครั้งในโอกาสต่างๆ กัน

ค่า upper normal limit ของความดันโลหิตในช่วงอายุต่างๆ กัน
health-0198 - Copy

ความดันโลหิตสูงแบ่งตามความรุนแรงเป็น

Mild hypertension : เมื่อความดันโลหิตสูง < 10 มม.ปรอทเหนือค่า 95th percentile for age หรือ upper limit

Moderate hypertension : เมื่อความดันโลหิตสูงอยู่ระหว่าง 10-20 มม.ปรอทเหนือค่า 95th percentile for age หรือ upper limit

Severe hypertension : เมื่อความดันโลหิตสูง > 20 มม.ปรอทเหนือค่า 95th percentile for age หรือ upper limit

สาเหตุของความดันโลหิตสูงในเด็ก แบ่งเป็น 2 กลุ่มตามสาเหตุดังนี้
1. Primary หรือ essential hypertension พบประมาณร้อยละ 20
2. Secondary hypertension พบประมาณร้อยละ 80 โดยมีสาเหตุจาก intrinsic renal lesion ประมาณร้อยละ 75-80 มากที่สุด

โดยทั่วไปอาจแบ่งผู้ป่วยเด็กเป็น 2 กลุ่มตามอาการดังนี้
1. มีอาการชัดเจน (overt symptoms) มักมีดวามดันโลหิต diastolic สูงกว่า 100-110 มม.ปรอท ผู้ป่วยเด็กกลุ่มนี้มักจะเป็น secondary hypertension และหาสาเหตุได้ถึงร้อยละ 63-94

2. ไม่มีอาการชัดเจน (asymptomatic) มักพบความดันโลหิตสูงโดยบังเอิญ และไม่สูงมาก ผู้ป่วยเด็กในกลุ่มนี้มักจะเป็น essential hypertension (ประมาณร้อยละ 95)

สาเหตุของความดันโลหิตสูงในเด็ก
health-0200

แผนภูมิแสดงแนวทางในการวินิจฉัย
health-0201

แนวทางการรักษา
การมุ่งสาเหตุและให้การรักษาแก้ไขสาเหตุเป็นสิ่งสำคัญ การซักประวัติและตรวจร่างกายโดยละเอียด รวมทั้งการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็น (ดังแผนภูมิ) จะช่วยหาสาเหตุของ secondary hypertension เป็นส่วนใหญ่

ถ้าผู้ป่วยไม่มีอาการและค่าความดันโลหิตสูงกว่า upper limit ไม่เกิน 10 มม.ปรอท (mild hypertension) ควรติดตามผู้ป่วยเป็นระยะ รวมทั้งการตรวจทางห้องปฏิบัติการง่ายๆ โดยยังไม่ต้องให้การรักษาด้วยยา ในราย essential hypertension ประวัติทางครอบครัวมีส่วนช่วยในการวินิจฉัย ส่วนการรักษานั้นอาจทำได้โดยการจำกัดเกลือ ควบคุมอาหาร ลดน้ำหนักตัว ก็จะช่วยลดความดันโลหิตได้บางส่วน โดยไม่จำเป็นต้องใช้ยา ถ้าความดันโลหิตสูงกว่า upper limit เกิน 10 มม.ปรอท ควรรับไว้ในโรงพยาบาล เพื่อหาสาเหตุและให้การรักษา โดยเฉพาะในพวก hypertensive crisis เช่น hypertensive encephalopathy, intracranial hemorrhage เป็นต้น

ที่มา:ศิริ  ขอประเสริฐ

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า