สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

การรักษาโรคด้วยวิธีการกำจัดธาตุโลหะ(Chelation Therapy)

เป็นกระบวนการกำจัดธาตุโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว ปรอท นิคเกิ้ล ทองแดง แค็ดเมี่ยม และอื่นๆ ที่ร่างกายไม่พึงปรารถนาให้ออกไปด้วยความปลอดภัย โดยไม่มีการผ่าตัดและปราศจากความเจ็บปวด

การแก้ไขอาการหลอดเลือดแข็งตัวหรือแอธีโรสเคลอโรซิส(atherosclerosis) ระยะหลังๆ นี้ ก็ได้นำวิธีการแบบ คีเลชั่น เธราพี มาใช้ด้วยเหมือนกัน ด้วยการกำจัดพลัก(plaque) หรือแผ่นคราบที่พอกพูนขึ้นมาในระบบการหมุนเวียนของโลหิต สาเหตุของอาการหลอดเลือดแข็งตัวมาจากปัจจัยที่ซับซ้อนหลายอย่าง รวมทั้งการที่ร่างกายมีธาตุโลหะสะสมอยู่อย่างผิดปกติด้วยเช่นกัน

การก่อตัวของพลักภายในเส้นโลหิตในกรณีของผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดแข็งตัวนั้น การไหลเวียนของโลหิตจะถูกขัดขวางด้วยพลัก ทำให้ร่างกายเกิดปัญหาขึ้นมา เช่น หลอดโลหิตที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบตัน หัวใจวาย พลักเป็นเนื้อเยื่อชนิดเส้นใย ประกอบด้วยสารที่เป็นไขมันและคอเลสเตอรอล ที่โยงเข้าด้วยกันกับแคลเซี่ยมและธาตุอื่นๆ ที่สามารถเชื่อมต่อกันได้

คีเลชั่น เธราพี จะเข้าช่วยกำจัดผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อแคลเซี่ยม ด้วยการกำจัดมันออกไปจากพลักโดยตรงและไม่ต้องผ่าตัด เมื่อแคลเซี่ยมและธาตุโลหะที่เชื่อมโยงกับแคลเซี่ยมออกจากพลักแล้ว ส่วนประกอบที่ยังเหลืออยู่กับพลักก็จะหลุดร่วงออกมาและถูกส่งไปยังตับ และในที่สุดก็จะถูกขับออกจากร่างกาย ก็จะทำให้โรคหลอดโลหิตแข็งตัวที่เป็นอยู่มีอาการต่างๆ ดีขึ้น เส้นผ่าศูนย์กลางของหลอดโลหิตก็จะมีความยาวเพิ่มขึ้น และความยืดหยุ่นของผนังหลอดโลหิตจะกลับมีขึ้นมาใหม่ทำให้การไหลเวียนของโลหิตได้สะดวกมากขึ้น

คีเลชั่น มาจากคำในภาษากรีกว่า คีล(chele) หมายถึง “ก้าม” ของปูหรือกุ้ง กรดอะมิโนสังเคราะห์ที่มีชื่อเรียกว่า เอธีลีน ไดอะมีน เท็ทราอาซีติคแอซิด(ethylene diamine tetraacetic acid) หรือเรียกย่อๆ ว่า เอดีทีเอ หรือเอ็ดต้า(EDTA) เป็นสารที่จะนำมาใช้ในการ “คีเลท” (chelate)หรือทำให้เกิดการเกาะเกี่ยวกันขึ้นมา โดยที่สารนี้จะมีสมรรถนะในการผูกพันหรือติดกับโมเลกุลของโลหะที่มันเข้าไปติดต่อด้วย

โมเลกุลของโลหะจะถูกยึดติดไว้กับโมเลกุลของเอ็ดต้าเมื่อใช้สารเกาะเกี่ยวนี้ และก่อให้เกิดสารประกอบชนิดใหม่ที่ต่างออกไปจากสารชนิดเดิม สารที่ประกอบขึ้นใหม่จะมีความอยู่ตัวและอะตอมของมันจะเกาะกันอย่างเหนียวแน่น และสามารถขับออกร่างกายได้โดยผ่านไต

อาศัยตัวยาที่ฉีดเข้าไปทางเส้นโลหิตในการทำ “คีเลชั่น เธราพี” โดยการฉีดสารละลายเอ็ดต้าในระดับความเข้มข้นและปริมาณที่เหมาะสม เข้าสู่กระแสโลหิตอย่างช้าๆ กินเวลา 3-4 ชั่วโมง จึงจะเสร็จสมบูรณ์ แต่จะไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวด

มีการบำรุงสุขภาพอย่างกว้างขวางประกอบอยู่ด้วยในการรักษาด้วยวิธีกำจัดธาตุโลหะออกจากร่างกาย หรือคีเลชั่นเธราพี ได้แก่ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานวิตามินและแร่ธาตุเสริม การเปลี่ยนอาหารการกินประจำวัน

อัลเฟรด เวอร์เนอร์ (Alfred Werner) ชาวสวิสผู้ได้รับรางวัลโนเบล ได้เสนอทฤษฎีเรื่องการเกาะตัวกับโลหะซึ่งเป็นรากฐานของวิชาเคมีเกี่ยวกับการทำให้ธาตุต่างชนิดเข้ามาเกาะตัวเข้าด้วยกันในปี ค.ศ.1893 ต่อมา มอร์แกน(Morgan) และดรูว์(Drew) ได้นิยามคำว่า การทำให้ธาตุต่างชนิดเกาะตัวเข้าด้วยกัน หรือคีเลชั่นนี้ เอาไว้ในปี ค.ศ.1920 ว่า “การประกอบเข้าด้วยกันของไอออนของโลหะชนิดหนึ่งจะเข้าไปในโครงสร้างที่มีลักษณะเป็นวงแหวนที่มีวงจรต่างกัน”

ในราวปี ค.ศ.1934-1935 เอ็ดต้า ได้ถูกสังเคราะห์ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศเยอรมนี ด้วยฝีมือของ เอฟ.มันซ์(F.Munz) ในขณะนั้นเขากำลังพยายามพัฒนาสารที่จะนำมาใช้แทนกรดไซตริค โดยการใช้สารคีเลชั่นที่อุตสาหกรรมทอผ้าใช้เพื่อจำกัดแคลเซี่ยมออกจากน้ำกระด้าง และน้ำที่มีแคลเซี่ยมปนเปื้อนอยู่มีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดรอยเปื้อนด่างขึ้นมาเป็นสีประหลาด ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ผลิตเสื้อผ้าและสิ่งทอยอมรับไม่ได้ ในปี ค.ศ.1941 ได้มีการพัฒนากระบวนการที่แตกต่างออกไปในการสังเคราะห์เอ็ดต้า และได้จดทะเบียนสิทธิบัตรกระบวนการสังเคราะห์นี้ด้วย โดยเฟรดเดอริค ซี. เบิร์นสเวิร์ธ(Frederick C. Bernsworth) และในปี ค.ศ. 1948 การบำบัดรักษาโรคด้วยวิธีคีเลชั่นก็ได้เริ่มนำมาใช้ในสหรัฐฯ

ในระหว่างปี ค.ศ.1950-1990 ได้มีการศึกษาทดลองใช้รักษากับคนไข้จริงหลายครั้ง และผลการทดลองนั้นได้แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ในการรักษาโรคแบบคีเลชั้น โดยมีผู้ปฏิบัติงานด้านแพทย์ให้การยอมรับวิธีการนี้กันทั่วโลก ซึ่งถือว่าเป็นการบำบัดสภาพความเป็นพิษที่เกิดจากโลหะหนัก ความเป็นพิษที่เกิดจากกำมันตภาพรังสี การแก้พิษงู การบำบัดอาการเมายา และแก้อาการหัวใจเต้นผิดปกติ

เนื่องจากวิธีการจาก คีเลชั่นบำบัด มีประโยชน์จากการทำให้โลหิตไหลเวียนได้มากขึ้น ในทศวรรษที่ 1950 ดร.นอร์แมน อีคลาร์ค(Norman E.Clarke)ได้ตรวจพบ จากการสังเกตว่า สุขภาพของผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษจากตะกั่วมีสุขภาพโดยทั่วไปดีขึ้น ผู้ป่วยที่มีอาการเส้นโลหิตไปเลี้ยงหัวใจติดขัดหายจากอาการนี้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่ว่าปัญหาทางกายจะเป็นอย่างไรหากมีการหมุนเวียนของโลหิตที่ดีจะเป็นเงื่อนไขสำหรับสุขภาพที่ดีของคนๆ นั้น ดังนั้น คีเลชั่นบำบัดจึงเป็นวิธีการรักษาเสริมที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับจะนำมาใช้บำบัดรักษาโรคที่เกี่ยวกับความเสื่อมของสังขารอย่างเรื้อรังทุกชนิด

คลาร์ค กับเพื่อนร่วมงานได้รักษาผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจ โดยใช้เอ็ดต้าและรายงานผลลัพธ์ที่ได้ในวารสารวิทยาศาสตร์การแพทย์ของอเมริกัน(American Journal of Medical Science) เพราะเขาทราบดีถึงความเกี่ยวพันระหว่างแคลเซี่ยมกับการต่อตัวของพลัก และคะเนว่าการกำจัดแคลเซี่ยมออกไปอาจจะเป็นประโยชน์ต่อคนไข้ที่ป่วยเป็นโรคหลอดโลหิตแข็ง กับอาการอื่นๆ ที่มีควบมาด้วยกันกับโรคนี้

แพทย์ที่ให้การรักษาแบบคีเลชั่น ควรจะได้ผ่านการฝึกพิเศษมาในสาขานี้โดยเฉพาะ แม้ว่าในทางกฎหมายจะอนุญาตให้แพทย์ที่มีใบประกอบโรคศิลป์ทุกคนสามารถใช้วิธีการรักษาโรคแบบคีเลชั่น ด้วยการฉีดเอ็ดต้าเข้าเส้นเลือดได้ทุกคนก็ตาม ซึ่งปัจจุบันนี้มีสถาบันการแพทย์ระดับสูงของอเมริกา(American College of Advancement in Medicine) ได้เปิดฝึกสอนการใช้วิธีการคีเลชั่นบำบัดอย่างปลอดภัย และแพทย์ที่ผ่านการฝึกอบรมก็จะได้ประกาศนียบัตรในด้านนี้ด้วย

เรียบเรียงโดย:สุวิชญ์ ปรัชญาปารมิตา

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า