สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

การใช้ Corticosteroids

ในปัจจุบันมีการใช้ corticosteroids ในการรักษาโรคต่างๆ อยางมากมาย. โดยใช้ในขนาดสูง (Pharmacological desage) steroid ที่ใช้บ่อยคือ  glucocorticoids เช่น   hydrocortisone, cortisone, prednisolone, dexamethazone ส่วนพวก mineralocorticoids มีการใช้น้อย ได้เปรียบเทียบ  potency ของ glucocorticoids ต่างๆ ดังในตาราง

Relative Potencies of Glucocorticoids*

health-0277 - Copy
* Potencies as compared to cortisol.

ฤทธิ์ของ glucocorticoids ในขนาดสูงๆ ที่สำคัญๆ คือ
1. ทำให้ตับเกิด gluconeogenesis เพิ่มขึ้น ทำให้ blood sugar สูง

2. ผลต่อ fat ทำให้มี fat redistribution มือเท้าจะมี fat น้อยลง แต่มี fat deposit มากที่ลำตัวและคอ เกิดเป็น truncal obesity และ buffalo hump, หน้าตาเป็นแบบ moon face

3. anti-inflammation ทำให้มีการอักเสบน้อยกว่าปกติ

4. ผลต่อเม็ดเลือด ทำให้ lymphocyte ลดลง, PMN และ RBC เพิ่มขึ้น

5. มีการใช้ amino acid จาก pool ใน muscle, bone, peripheral tissues อื่นๆ ทำให้มี muscle wasting และ osteoporosis ตามมา

6. เกิด peptic ulcer เนื่องจากมี mucoprotein สร้างน้อยลง มี peptic HC1 และ pepsin หลังมากขึ้น

7. เกิด hypertension, hypernatremia, hypokalemia

ข้อควรพิจารณาก่อนจะให้ glucocorticoids
1. พิจารณาถึงความจำเป็นที่แท้จริงในการใช้ยานี้ในโรคต่างๆ
2. พิจารณาถึงโรคอื่นๆ ที่มีอยู่เดิม ซึ่งอาจเลวลงเมื่อคนไข้ได้รับ gluco¬corticoid ก่อนให้ยาควร check ว่าไม่มีโรคเหล่านี้ หรือโรคเหล่านี้ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอยู่แล้ว โรคเหล่านี้ได้แก่ วัณโรค โรคติดเชื้อแบคทีเรีย ราและปรสิต ความดันโลหิตสูง
3. พิจารณาเลือกชนิดของ glucocorticoids ให้ตรงกับผลที่ต้องการในการรักษาโรคต่างๆ
4. พิจารณาขนาดยา duration ตลอดจนวิธีหยุดยา

ปัญหาที่พบในคนไข้ได้ glucocorticoids นานๆ
1. โรคติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น abscess, septicemia
2. ร่างกายเจริญเติบโตช้า เนื่องจากฤทธิ์ของ glucocorticoid ต่อ metabolism ของคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน
3. Hypothalamo-pituitary-adrenal axis suppression การได้ steroids ในขนาดสูงๆ ทำให้มีการกดการทำงานของ adrenal gland และต่อมาจะกดการทำงานของ hypothalamus และ pituitary โดยจะมีการหลั่ง ACTH ลดลง และเมื่อมีภาวะ stress จากสาเหตุใดก็ตามทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้าง endogenous steroids ออกมามากพอกับความต้องการได้ เกิดภาวะ adrenal crisis ได้
4. Peptic ulcer และ GI bleeding
5. Electrolyte imbalance
6. ความดันโลหิตสูง
7. Osteoporosis
8. Steroid dependent

การดูแลคนไข้ได้รับ  glucocorticoids ที่คลินิกผู้ป่วยนอก

คนไข้เด็กที่ได้รับ steroid นานๆ อาจมาหาเราด้วยอาการต่างๆ ดังกล่าวข้างบน ซึ่งบางปัญหาทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ จึงควรประเมินสภาพอย่างถูกต้อง เช่น

1. โรคติดเชื้อ  เมื่อเริ่มมีโรคติดเชื้อจากแบคทีเรีย พิจารณาให้ยาปฏิชีวนะแต่เนิ่นๆ หรือรับไว้ในโรงพยาบาลเมื่อสงสัยว่าโรคติดเชื้ออาจดำเนินรุนแรงขึ้น เช่น จะเกิด primary peritonitis, septicemia เป็นต้น

2. Peptic ulcer ถ้าเด็กมีอาการปวดท้องแบบ peptic แนะนำให้กินยาหลังอาหาร หรือกิน alum milk ร่วมด้วย

3. Adrenal crisis พบว่าเมื่อให้ glucocorticoid นานเกิน 2 สัปดาห์จะมีการกด adrenal gland ขึ้น ซึ่ง adrenal gland จะกลับมาทำงานเป็นปกติ หลังจากหยุด glucocorticoid แล้วเป็นเวลานาน 9 เดือนถึง 1 ปี ในระหว่างเวลานี้ ถ้ามีภาวะ stress เช่น infection, trauma, การเตรียมผ่าตัด จะต้องให้ gluco-corticoids ในขนาด stress dose หรือคนไข้ที่ขาดยาแล้วมีอาการเบื่ออาหารมาก ซึม อาเจียน หรือรุนแรงถึง shock เหล่านี้ต้องรีบรับไว้รักษาในโรงพยาบาล

การใช้ steroid โดยการทาผิวหนัง มีข้อควรคำนึงถึงคือ
1. การทาในบริเวณกว้าง จะทำให้เกิด systemic effect จาก steroid ได้ เช่น กด adrenal gland, Cushingoid

2. ผิวหนังที่เปียกน้ำก่อนทายา จะมีการดูดซึมยาเพิ่มขึ้นหลายเท่า

3. การปิดผิวหนังที่ทา steroids แล้วด้วยพลาสเตอร์ทำให้ดูดซึมยาเพิมขึ้น

4. ผิวหนังบริเวณหน้า ศีรษะ scrotum รักแร้ ขาหนีบ มีการดูดซึม
ยาดีกว่าบริเวณอื่น

5. ทานานๆ ทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นบาง หรือเกิด eczema หรือ acne ขึ้นได้

ที่มา:นฤมล  ภัทรกิจวานิช

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า