สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

การเพ่งสายตา

การใช้สายตา

การเพ่ง (Accommodation)

ในคนสายตายาวเขาต้องใช้การเพ่งนี้มากกว่าธรรมดาอยู่ เสมอๆ ฉะนั้นกำลังที่เหลืออยู่จึงน้อยกว่าปกติ ส่วนคนสายตาสั้นเป็นสายตาที่เหมาะสำหรับดูใกล้ เขาจึงมีโอกาสใช้การเพ่งน้อยกว่าคนสายตาปกติ เพราะเหตุนี้เราดูคล้ายกับว่าคนสายตายาวเป็นสายตาสูงอายุก่อน และคนสายตาสั้นนั้นเหมือนว่าจะไม่ กลายเป็นตาสูงอายุเลย แต่แท้จริงก็ด้วยกันทั้งนั้นจะมากหรือน้อย เร็ว ช้า สุดแต่ว่าเป็นอย่างไหนมาก่อน

คนปกติจะเริ่มรู้สึกว่าต้องใช้ความพยายามเป็นพิเศษในการดูสิ่งของใกล้ๆ เมื่ออายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป และต้องอาศัย แว่นตาเมื่ออายุประมาณ 45 ปี แต่สำหรับชาวไทยเรานี้พบว่าอายุ นี้มาถึงเร็วกว่าฝรั่งหรือญี่ปุ่น ซึ่งพบระหว่าง 38-40 ปี ส่วนใหญ่ พบว่าที่คลินิกของโรงพยาบาลรามาธิบดีจำเป็นต้องใช้แว่นตา สำหรับดูใกล้ ตั้งแต่อายุไม่ถึง 40 ปีเสมอๆ เมื่อถึงอายุที่กล่าว มาแล้วคิดว่าเป็นโอกาสอันดีสำหรับเราทุกคนที่ควรจะได้รับการตรวจตาจากจักษุแพทย์สักครั้งหนึ่ง เพราะบางคนไม่เคยรับการตรวจมาก่อนเลยโดยอาศัยว่าสายตาเขาดีมาตลอด นอกจาก สายตาสูงอายุแล้วยังมีโรคตาอีกหลายชนิดที่มักเริ่มเป็นกันใน อายุนี้ เช่น โรคต้อกระจก ต้อหิน หรือเบาหวาน เป็นต้น จึงใคร่จะแนะนำว่าหากมีความจำเป็นเกี่ยวกับแว่นตาที่อายุใกล้กับที่กล่าวมานี้ ควรจะมาเยี่ยมจักษุแพทย์บ้างเพื่อความปลอดภัยของ สายตาของท่านเอง

แว่นตาดูใกล้นี้มักเป็นเลนส์ชนิดบวก เพราะเป็นการเพิ่ม

กำลังหักเหให้แก่สายตาของเรา สำหรับคนสายตาสั้นนอกจาก แว่นดูไกลแล้วจำเป็นต้องลดกำลังเลนส์จะดูใกล้ชัดขึ้นจึงต้องมี สองคู่คือ อันหนึ่งดูไกล อีกอันหนึ่งดูใกล้หรือว่าเป็นชนิดสองชั้นก็ได้ สุดแต่ความสะดวกสบายและอาชีพของผู้ใช้เป็นหลัก และ แว่นตาดูใกล้คู่แรกนี้เรียกว่าเป็นคู่สำคัญเหมือนแว่นตาคู่แรกใน ชีวิต ควรจะเป็นของที่จักษุแพทย์เขียนใบสั่งให้ เพราะว่าถ้าผู้ที่ไม่มีความรู้สั่งให้โดยมากมักจะให้กำลังมากเกินอายุ ทำให้ตาเราเคยตัว ขี้เกียจเพ่ง ต่อมาไม่นานก็ต้องเปลี่ยนอีก เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ใครเป็นผู้คิดประดิษฐ์แว่นตาขึ้นก่อนนั้นยังไม่ทราบกันแน่ แต่ตามประวัติศาสตร์พบว่า ในศตวรรษที่ 13 ที่ยุโรปเริ่มมีการใช้แว่นตากันแล้ว ที่ประเทศอังกฤษเชื่อกันว่า โรเจอร์ เบคอน (1214-1294) เป็นคนคิด ส่วนชาวอิตาลีเชื่อกันว่าชาวอิตาลีเป็นคนเริ่มคิด แต่คนคิดอาจเป็น Salvino d’ Avmati หรือ Alexan­der della Spina ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่อย่างไรก็ตาม ในประวัติศาสตร์ของมนุษย์เรานี้ แว่นตาก็นับว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ชิ้นเลิศชิ้นหนึ่ง ซึ่งมนุษย์เราได้รับผลประโยชน์มากที่สุด ไม่ว่าสายตาสั้น หรือสายตายาว แม้แต่สายตาปกติก็จำเป็นต้องอาศัยแว่นตาอย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิตของเรา เพราะปัจจุบันนี้ยังไม่มียาชนิดใดที่จะแก้การเปลี่ยนแปลงของสายตาที่ผิดปกติจากการหักเหของตาได้

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า