สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

วิธีการรักษาโรคด้วยพิษผึ้ง(Bee Venom Therapy)

เป็นการรักษาโรคต่างๆ ที่เกี่ยวกับข้อต่อ โดยการใช้พิษผึ้งในการรักษา วิธีการรักษามีอยู่ 2 แบบ คือ การใช้เข็มฉีดยาเพื่อฉีดพิษ หรือการจับผึ้งเป็นๆ ให้มาต่อย

พิษผึ้งที่ใช้ด้วยวิธีฉีดจากเข็มฉีดยา ต้องเป็นพิษที่ผ่านกระบวนการทางเภสัชกรรมมาแล้ว โดยที่พิษจะถูกสกัดมาจากตัวผึ้งแล้วนำมาตากแห้งภายใต้การควบคุม จากนั้นก็นำมาใส่ลงในน้ำเกลือ ผ่านการกรอง และบรรจุปิดผนึกอยู่ในภาชนะแก้วที่ปลอดเชื้อ ส่วนการใช้ผึ้งเป็นๆ มาต่อยนั้น ก็ให้นำผึ้งมาปล่อยให้ต่อยตรงผิวที่ต้องการ

แพทย์ในสหรัฐฯ ได้ดูถูกวิธีการรักษาโดยใช้พิษผึ้งนี้ แต่ในส่วนต่างๆ มากมายในโลกได้มีการยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าวิธีนี้เป็นการรักษาโรคไขข้อและข้ออักเสบได้ และในเวลาต่อมาวิธีการรักษาด้วยวิธีนี้ก็ได้มีการทำงานวิจัยและทดสอบในโรงพยาบาลจากนักวิทยาศาสตร์ในสวิตเซอร์แลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี และอังกฤษ และในมูลนิธิโรคข้ออักเสบของอเมริกาก็ยังได้เริ่มศึกษาวิธีการรักษาชนิดนี้แล้ว

วาย. ยูริช นักวิทยาศาสตร์ชาวรัสเซีย ได้กล่าวอ้างไว้ในหนังสือเรื่อง “คุณสมบัติในทางรักษาของน้ำผึ้งและพิษผึ้ง”(Curative Properties of Honey and Bee Venom)ว่า จากการศึกษามากาย พบว่า การใช้พิษผึ้งได้ผลดีเยี่ยม

มีประวัติที่ยาวนานเกี่ยวกับการใช้พิษผึ้งเพื่อประโยชน์ในการบำบัดรักษาโรค และฮิปโปเครตีสก็เคยใช้วิธีนี้เพื่อรักษาโรคที่เกี่ยวกับข้ออักเสบและอาการเจ็บอื่นๆ มาแล้วเมื่อเกือบ 2,000 ปีก่อน ผู้คนในชนบทมีความเชื่อมาเป็นเวลานับร้อยๆ ปีแล้วว่า เหล็กไนของผึ้งเป็นยาอย่างดีเยี่ยมในการรักษาโรคไขข้อ ข้ออักเสบ เกาต์ และอาการปวดบั้นเอว และเพราะเหล็กในของผึ้งที่ทำให้ ซาร์อิวาน ผู้หฤโหดของรัสเซีย และกษัตริย์ชาร์ลส์มหาราชของอังกฤษหายจากโรคเก๊าต์ได้

การรักษาโดยใช้พิษผึ้งจะส่งผลในลักษณะการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยส่วนของร่างกายที่โดนพิษผึ้งจะเกิดการอักเสบขึ้นและจะผลิตฮอร์โมนแก้อักเสบและสารอื่นๆ มาช่วยแก้ การจงใจฉีดพิษผึ้งในบริเวณที่มีการอักเสบอยู่แล้วจะทำให้ฮอร์โมนต่อต้านการอักเสบที่ร่างกายหลั่งออกมาเพื่อจัดการกับพิษนั้น ซึ่งมีพลังมากพอที่จะรักษาอาการเดิมที่มีสาเหตุจากการอักเสบไปด้วย

จากการวิเคราะห์ได้แสดงให้เห็นว่า พิษผึ้งเป็นสารที่มีความซับซ้อนมาก ซึ่งจะประกอบไปด้วย กรดฟอร์มิค(formic acid) ฮีสตามีน(histamine) และแม็กนีเซียมฟอสเฟต(magnesium Phospate) ตัวยาในพิษผึ้งจะมีสารที่เป็นองค์ประกอบสำคัญคล้ายคลึงกับในพิษงู มีความเป็นพิษของสารที่มีฤทธิ์เป็นด่างเหมือนสตริคนิน(strychnine) หรือเบลลาดอนนา(belladonna)ด้วย

พิษผึ้งมีประสิทธิภาพในการรักษาอาการอักเสบเรื้อรังที่บริเวณข้อต่อทุกชนิด รวมทั้งโรคข้อเสื่อม ข้ออักเสบชนิดรูมาตอยด์ เอ็นอักเสบ ประสาทอักเสบ และการอักเสบของเบอร์ซา(bursa)หรือถุงน้ำที่อยู่บริเวณข้อต่อ ซึ่งเป็นการค้นพบของนายแพทย์คริสโตเฟอร์ คิม ในนิวเจอร์ซีย์

การรักษาโดยใช้พิษผึ้ง ไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีไหนจำเป็นต้องรักษาเป็นชุด มิใช่เป็นการรักษาแบบ “เข็มเดียวเลิก” เพราะเป็นการช่วยร่างกายรักษาตัวเอง ในบางคนอาจจะแพ้พิษผึ้ง แต่ผู้ที่อาจช็อกเพราะพิษผึ้งจนถึงตายก็มีน้อยคนมาก ซึ่งส่วนใหญ่พบได้อัตราไม่ถึง 2%

สามารถขอข้อมูลเพิ่มเติมจากการติดต่อที่สมาคมการรักษาโรคโดยใช้พิษ(American Apitherapy Society Inc. ที่มี ดร.แบรดฟอร์ด วีคส์(Bradford Weeks) เป็นนายกสมาคมฯ ได้ตามที่อยู่ดังต่อไปนี้
American Apitherapy Society, Inc.
34 Heron Road,
Middletown, NJ 07748,
USA.

เรียบเรียงโดย:สุวิชญ์ ปรัชญาปารมิตา

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า