สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

ทางเลือกในการป้องกันปัญหาสุขภาพจากสารพิษของประเทศไทย

อากาศนํ้า สัตว์ป่า ไพร ให้ชีวิต                ช่วยลดพิษแก่มนุษย์ถ่วงดุลหล้า
ให้ดินดำ นั้าชุ่ม ลุ่มธารา                          ได้ดื่มมา กินอยู่เย็น สุขสบาย
ช่วย เตือนตน สอนลูกหลาน ให้รู้ค่า        รู้คุณป่า ดินนํ้าลม สมสมัย
ยุคเราท่าน ทำลายมัน ผลาญบรรลัย        รู้เมื่อสาย เกิดทุกข์ภัย โทษใครเอย”

ปัญหามลพิษนั้นเกิดขึ้นมาก่อนในประเทศที่ถูกเรียกว่าพัฒนาแล้ว ในยุโรปและอเมริกา น่าจะเป็นบทเรียนที่เห็นจริงเห็นจังให้ประเทศที่กำลังพัฒนานำไปสู่การแก้ไขป้องกันไม่ให้สิ่งที่เป็นมลพิษเหล่านั้นเกิดได้ในระดับหนึ่ง ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับอำนาจการปกครองและการศึกษาของสังคม และสุขศึกษาอนามัย และการพัฒนาเทคโนโลยีมารองรับที่ต้องทำควบคู่กันไป

เราทราบมาแล้วว่ามลพิษนั้นทำให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ได้จากหลายทาง ทางอากาศ ทางอาหาร ทางผิวหนัง สัมผัสทางหู ทางตา ทั้งนี้เพราะสิ่งแวดล้อมที่เราสัมผัสได้สิ่งเหล่านี้ทุกวัน สิ่งแวดล้อมที่ก่อให้ เกิดมลพิษ เกิดจากการสร้างการพัฒนาทางอุตสาหกรรมทั้งสิ้น ทั้งจากด้านโรงงานอุตสาหกรรม การเกษตร การใช้จ่ายและดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์ ทางเลือกในการป้องกันจึงต้องกระทำในส่วนนั้น

ขณะนี้ เราพบว่ามลภาวะอากาศเป็นพิษในกรุงเทพฯ เกิดจากควันดำ ควันขาว และสารพิษจากไอเสียรถยนต์ ซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจากน้ำมันที่มีตะกั่วเป็นส่วนผสม รัฐก็ได้จัดนํ้ามันไร้สารตะกั่วมาแทนที่ อีกส่วนมาจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดสารพิษคาร์บอนมอน๊อกไซด์ จึงต้องหามาตรการกำจัด หรือจำกัดให้อยู่ในระดับตํ่า ซึ่งมีปัญหาอยู่ที่ ความหนาแน่นของจราจรที่ติดขัด ซึ่งมีส่วนประกอบทั้งจำนวนรถที่มากขึ้น การจราจรที่ไม่คล่องตัวด้วยประการต่างๆ ถนนไม่พอ การจัดระบบบริการที่ไม่คล่องตัว และอุบัติเหตุ เป็นปัญหาใหญ่ที่รัฐพยายามแก้ขึ้นมา แต่ยังมีทางเลือกเสริมเพิ่มเติมที่น่าจะทำได้ง่ายๆ ไม่เปลืองงบประมาณของรัฐเลยก็คือ การที่รัฐมอบอำนาจให้เกิดอู่มาตรฐาน การตรวจสอบและคุณภาพรับรองมาตรฐานไอเสียของรถเป็นประจำปีให้แพร่หลายทั่วประเทศ ถ้าคันใดไม่มีใบผ่านมาตรฐานจากอู่แล้วก็ต่อทะ เบียนรถไม่ได้ เป็นต้น เชื่อว่าจะช่วยลดมลพิษได้ระดับหนึ่ง เพราะอู่นั้น เป็นของเอกชนย่อมต้องทำได้ดี เพราะต้องขายอะไหล่ ต้องขายแรงงาน จึงจะทำกำไร ย่อมไม่ให้มีการซื้อขายใบปลอมแน่ ถึงจะมีบ้างก็เป็นส่วนน้อย และรัฐจะได้ภาษีจากการช่วยนี้เพิ่มขึ้นอีก ต้องมีใบรับรองการตรวจสอบติดไว้หน้ารถอีกด้วย ผลประโยชน์ส่วนหนึ่งให้ตกเป็นสวัสดิการจราจรในการตรวจจับผู้ฝ่าฝืน น่าจะเป็นวงจรช่วยปรับปรุงมลภาวะได้

การสร้างตรอกซอยตัดถนนให้โล่งขึ้นโดยย้ายผู้ที่ถูกเวรคืนที่ดินมาอยู่ในคอนโดใกล้ที่เดิม พร้อมสร้างศูนย์การค้าให้ผู้ที่ถูกเวรคืนได้ทำกิน น่าจะ เป็นทางเลือกอันหนึ่ง เพราะผู้ถูกเวรคืนไม่ได้สูญเสียมากเกินไปกับการที่ได้ผลตอบแทนคืนในอีกรูปหนึ่ง

ส่วนการสร้างโครงการระดับยักษ์ต่างในการขนถ่ายก็กระทำกันอยู่แล้ว ต้องใช้เงินมหาศาล แต่ 2 ข้อดังกล่าวแล้ว เสียงบประมาณน้อยกว่า

ส่วนด้านโรงงานอุตสาหกรรมนั้นเป็นผู้ปล่อยมลภาวะได้ทิ้งลงน้ำ ลงดินและสู่อากาศ การควบคุมนั้นพลังประชาชนเป็นส่วนหนึ่งที่จะควบคุมได้อย่าง เช่นที่เกิดมาแล้ว ดังนั้น พลังมวลชนจึงควรเฝ้ามอง และโวยวายออกมา เพื่อให้รัฐได้เข้าไปตรวจสอบความจริงแล้วเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมรู้ดีว่ามลพิษนั้นจะกำจัดอย่างไร แต่การควบคุมนั้นไปไม่ถึง ไม่รัดกุม หรือเทคโนโลยีที่ใช้แพงเกินไป แต่อาจมีเทคโนโลยีถูกๆ ก็มีได้ เช่น มลพิษที่แม่เมาะ การทำลายควันกรด กาซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และไนโตรเจนไดออกไซด์ น่าจะกระทำได้โดยไม่ยาก เพียงแต่ทำทาง เดินเป็นข้องอจากปล่องลงมา ย่านผิวนํ้าตื้นๆ หรือ พ่น spray น้ำปูนขาวคลุมม่านควัน ก็น่าจะช่วยลดควันพิษได้ง่าย โดยไม่ต้องทุ่มเงินเป็นหมื่นล้านสร้างโรงกำจัดอย่างที่ได้มีผู้เสนอได้ และทันกาลต่อการบรรเทาปัญหามลพิษ จะช่วยให้ลดความรุนแรง และความถี่ในการเกิดภัยจากมลพิษในหมู่ประชาชนที่อาศัยอยู่รอบข้างได้ และพิจารณาดำ เนินการป้องกันและควบคุมมลพิษระยะยาวต่อไป

health-0285 - Copy
อุตสาหกรรมอื่นก็เช่นกันน่าจะใช้วิธีเดียวกัน ที่โรงงานบริเวณศรีราชาก็ เช่นกันมองเห็นไฟลุกโพรงที่ปากปล่องอยู่ตลอดเวลา น่าจะมีการผันความร้อนนั้นมาเป็นพลังไอน้ำ ทำอะไรสักอย่างได้ และใช้ระบบสเปรย์น่าจะช่วยลดมลพิษลงได้ด้วย

ส่วนกรณี น้ำเสียลงแม่น้ำนั้น ถังเก็บกักของเสียตามบ้าน อาหารร้านค้า ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องหามาตรการบังคับการใช้หม้อกรองไขมันตามปั๊ม อู่รถยนต์ให้รัดกุม หรือ recycle ให้ครบวงจร หรืออาจดัดแปลงให้เป็นปุ๋ยได้

นั้าเน่าจากบ่อเลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา เหล่านี้อุดมด้วย protein ทั้งนั้น ควรที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ น่าจะศึกษาและดัดแปลงผันทำให้เป็นปุ๋ยได้ ก็จะไม่มีการปล่อยลงแม่น้ำให้เน่า

สิ่งเหล่านี้โรงงานในประเทศไทยมีไม่มากมายนัก น่าจะกำจัดหรือจำกัดได้

มลพิษทางการเกษตรก็เช่นกัน การจัดการอบรมหมู่บ้านเกษตรให้ทั่วถึง น่าจะกระทำได้โดยไม่ยากนัก

กระทรวงศึกษา มักเพ่งเล็งถึงการให้การศึกษาในภาคบังคับ เป็นสิ่งดี แต่การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในปัจจุบันก็ควรกระทำควบคู่กันไปด้วยนั่นคือ การศึกษานอกโรงเรียน คือการศึกษาวิชาชีพนอกโรงเรียน เชื่อว่าวิดีทัศน์ทางวิชาชีพกระจายไปอย่างรวดเร็ว ถึงทั่วประเทศแล้ว น่าที่จะมีการกระจาย วิชาชีพภาคค่ำ เข้าสู่โรงเรียนทั่วประเทศดีกว่าจะปล่อยให้โรงเรียนว่างเปล่า เหล่านี้ จะเป็นการเสริมวิชาชีพนอกโรงเรียน เป็นการป้องกันอะไรๆ ได้หลายอย่างทั้งด้านสังคม และมลพิษทางกายและทางใจด้วย

ทางกองอาชีวเวชศาสตร์ และสิ่งแวดล้อมยังเล็กเกินไปที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาระดับประเทศ เพราะบุคคลากรด้านนี้มีน้อย แต่ก็พยายามจะ เป็นแหล่งข้อมูล และขยายฐานเข้าสู่โรงงานอุตสาหกรรมให้มากที่สุด โดยหวังว่าจะช่วยลด หรือแก้ปัญหาในบางส่วน สำหรับสมาคม เรายินดีรับให้คำปรึกษาได้ ถ้าเราได้เข้าไปสัมผัสถึงในโรงงานของท่าน เราหวังอย่างยิ่งว่า เราจะได้รับการร่วมมือสนับสนุน โดยทางสมาคมจะจัดหน่วยร่วมทีม พร้อมทั้งนักวิทยาศาสตร์ วิศวกรด้านอาชีวเวชศาสตร์ แพทย์ นักสังคม จิตวิทยา นักวิชาการสาธารณสุข นักวิชาการส่งเสริมสุขภาพ และนักวิชาการอื่นๆ ไปพบท่าน เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาสังคมนี้ ท่านอยู่ไม่ได้ด้วยความสบายใจทั้งทางธุรกิจ ถ้าหากมีฐานของสิ่งแวดล้อมและสังคมรอบตัวท่านไม่ดีด้วย ทั้งนี้ เพื่อลูกหลานของท่าน เองในวันหน้า

ที่มา:นายแพทย์บรรหาร ลิ้มสุวรรณ
โรงพยาบาลราชวิถี

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า