สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมต่อการเจริญเติบโตของเด็กไทย

ที่มา:บูรณะ ชวลิตธำรง

พันธุกรรมกับสิ่งแวดล้อม

ในปัจจุบันเด็กไม่ใช่ผลผลิตจากพันธุกรรมของพ่อและแม่ที่ถ่ายทอดมาแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นการผสมผสานระหว่างการถ่ายทอดทางพันธุกรรม กับสิ่งแวดล้อม ทางพันธุกรรมคงจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่ทางด้านสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปจะมีอิทธิพลต่อชีวิตและอนาคตของเด็ก นับตั้งแต่คลอดออกมาลืมตาดูโลก พ่อ แม่ พี่ น้อง ในครอบครัวเป็นสังคมแรกที่เด็กได้สัมผัส นอกจากนั้น ขนบธรรมเนียมประเพณี เศรษฐกิจ สังคม ศาสนา การศึกษา การบริการสาธารณสุข สื่อมวลชน ภาวะแวดล้อมจากอุบัติภัย รวมทั้งนโยบายของรัฐบาลและการเมือง มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตทั้งสิ้น

การให้กำเนิดบุตร

ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่การคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ เด็กที่เกิดจากพ่อแม่ที่มีการศึกษาดีและมีความพร้อมที่จะมีบุตรมีมากขึ้น นอกเหนือไปจากครอบครัวที่ไม่มีการวางแผนครอบครัวมีบุตรตามธรรมชาติทำให้เด็กที่เกิดจากครอบครัวที่พร้อมจะมีบุตรมีโอกาสดีกว่าเด็กที่เกิดจากครอบครัวที่ไม่พร้อมที่จะมีบุตร นอกจากนั้นความก้าวหน้าทางการแพทย์สามารถให้การวินิจฉัยความผิดปรกติของทารกที่จะคลอดออกมา เช่น การตรวจน้ำคร่ำให้การวินิจฉัยโรคกลุ่มอาการดาวน์ และ โรคโลหิตจาง ธาลัสสีเมีย เมื่อทราบถึงความผิดปรกติ และโรคที่จะเกิดขึ้นกับทารก พ่อและแม่สามารถตัดสินใจร่วมกับแพทย์ว่าจะยอมรับทารกที่พิการหรือจะหยุดการตั้งครรภ์แท้งบุตรเสียก่อน ในทางกลับกันพ่อแม่ที่มีบุตรยากหรือไม่มีบุตร สามารถผสมและฝังไข่ที่ผสมแล้วในมดลูกให้ทารกเจริญในครรภ์ ความ เจริญก้าวหน้าต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแก่ครอบครัวและทารกที่จะลืมตาดูโลก

การเติบโตของทารก

เมื่อทารกคลอดในสมัยโบราณ เติบโตจากการกินนมแม่ ต่อมาเมื่อวิทยาศาสตร์ก้าวหน้า สามารถพัฒนาใช้นมวัวทำเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และสามารถเก็บนมวัวในลักษณะต่างๆ นมผงเก็บไว้ได้นานสะดวกในการใช้เลี้ยงทารก จึงมีการใช้นมผงเลี้ยงทารกแทนนมแม่ แต่เมื่อพบว่านมแม่ เหมาะสมที่สุดในการเลี้ยงทารก รวมทั้งระยะเวลาเริ่มต้นเมื่อทารกอายุ ๓-๔ เดือน ชนิดของอาหาร

ตารางที่ ๑ อัตราตายของทารกแรกคลอดนํ้าหนักตัว ๑,๐๐๐-๑,๙๙๙ กรัม ในปี ๒๕๒๒ และ ๒๕๒๘

นํ้าหนักแรกคลอด

อัตราตาย

(กรัม)

(ร้อยละ)

๒๕๒๒

๒๕๒๘

๑,๐๐๐-๑,๔๙๙

๔๙.๖

๒๕.๐

๑,๕๐๐-๑,๙๙๙

๑๔.๘

๗.๔

การให้ความรู้แก่ประชาชน ทำให้ครอบครัวที่มีเศรษฐฐานะดีสามารถเลือกอาหารที่เหมาะสมและถูกสุขลักษณะได้มากขึ้นดีขึ้น ความเจริญทางการแพทย์ ทำให้อัตราตายของทารกแรกคลอดลดลงอย่างมาก เด็กคลอดก่อนกำหนดน้ำหนัก ๑,๐๐๐-๒,๐๐๐ กรัม มีอัตรารอดมากขึ้น จากสถิติหน่วยทารกแรกเกิด โรงพยาบาลศิริราช พบว่าทารกน้ำหนักแรกคลอด นํ้าหนัก ๑,๐๐๐-๑,๔๙๙ กรัม ในปี ๒๕๒๒ มี อัตราตายร้อยละ ๔๙.๖ ในปี ๒๕๒๘ อัตราตายลดลงเหลือร้อยละ ๒๕.๐ ส่วนทารกแรกคลอดน้ำหนัก ๑,๕๐๐-๑,๙๙๙ กรัม ในปี ๒๕๒๒ มีอัตราตายร้อยละ ๑๔.๘ ในปี ๒๕๒๘ อัตราตายลดลงเหลือร้อยละ ๗.๔ อัตราตายของทารกแรกคลอด น้ำหนัก ๑,๐๐๐-๑,๙๙๙ กรัม ลดลงประมาณครึ่ง ในระหว่างปี ๒๕๒๒ เปรียบเทียบกับปี ๒๕๒๘ (ตาราง ที่ ๑)

การป้องกันและการรักษาโรค

ทารกในวัยขวบปีแรก ได้รับการปัองกันโรคมากขึ้น วัณโรค โรคโปลิโอ โรคคอตีบ โรคไอกรน โรคบาดทะยัก โรคตับอักเสบไวรัส บี โรคหัด โรคคางทูม โรคหัดเยอรมัน สามารถป้องกันได้อย่างสมบูรณ์ จากรายงานของกองระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข โรคคอตีบทั้งประเทศ ปี ๒๕๒๖ มี ๑,๐๓๘ ราย หรือประมาณ ๒.๐๑ ราย ต่อประชากรแสนคน เทียบกับ ปี ๒๕๓๓ มีผู้ป่วยคอตีบทั่วประเทศ ๕๘ ราย หรืออัตราป่วย ๐.๑ ต่อ ประชากรแสนคน

การเปรียบเทียบโรคคอตีบ ในปี ๒๕๒๖ และ ปี ๒๕๓๓ เนื่องจากโรคคอตีบสามารถวินิจฉัยทาง เวชกรรมได้แน่นอน และผู้ป่วยอาการหนักจำเป็น ต้องหาแพทย์เพื่อให้การบำบัดรักษา โรคอื่น เช่น โรคหัด เมื่อวินิจฉัยได้เองว่าออกหัดมักไม่ไปหาแพทย์ ทำให้การรายงานข้อมูลไม่สมบูรณ์ หรือโรคไอกรน พ่อ แม่ ผู้ปกครองอาจคิดว่าเป็นหวัด แพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยอาจไม่สามารถให้การวินิจฉัยทางเวชกรรมได้แน่นอนได้ การรายงานข้อมูลจึงไม่สมบูรณ์เช่นเดียว กัน

การที่โรคร้ายแรงสามารถป้องกันได้ ทำให้อัตราการเจ็บป่วยของทารกและเด็กลดลง การที่เด็กไม่เจ็บป่วยการเจริญเติบโตของเด็กไม่ต้องหยุดชะงักจากโรคร้ายแรงเหล่านี้ แม้แต่โรคฝีดาษไม่มีการบันทึกรายงานว่าปรากฏโรคนี้ทั่วโลก และองค์การอนามัยโลกประกาศงดการปลูกฝีเพื่อป้องกันฝีดาษแล้ว ความก้าวหน้าทางวิทยาการทำให้โรคร้าย แทบจะสูญสิ้นไป แต่พบว่าสัดส่วนอุบัติการโรคภูมิแพ้และอุบัติการโรคมะเร็งในเด็กกลับเพิ่มมากขึ้น

วิวัฒนาการในการรักษาโรคติดเชื้อได้เปลี่ยนแปลงไป ภายหลังจากการค้นพบยาปฏิชีวนะ โดยเฉพาะในระยะแรกได้พบยาเพนิศิลลิน ทำให้อุบัติการโรคติดเชื้อต่างๆ ลดลงหรือสามารถรักษาหายได้ ลดอัตราการตายของทารกและเด็ก โรคติดเชื้อแทรกซ้อนจากหวัดลดน้อยลงมาก การดำเนินของโรคสั้นลง ยาต้านจุลชีพที่พบเพิ่มขึ้นทำให้สามารถรักษาโรคติดเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรียได้แทบทุกชนิด โรคติดเชื้อที่เกิดจากไวรัสเริ่มมียาที่สามารถรักษาได้ หลายชนิด เชื้อไวรัสที่เป็นต้นเหตุหวัดบางชนิด สามารถรักษาหายได้ เชื้อ เรสปิราทอรีย์ สีย์นศัยเทียล ไวรัส เฮอร์ปีส์ ไวรัส สามารถรักษาหายได้เด็ดขาด ปัญหาจากเชื้อไวรัสภูมิคุ้มกันบกพร่องในมนุษย์ (HIV) ยังไม่มียารักษาได้ แต่มียาที่สามารถลดความรุนแรงลงและยับยั้งการดำเนินโรคได้

สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปจากสมัยก่อนที่ใช้สมุนไพรเป็นยาหลัก ได้เปลี่ยนมาใช้ยาสังเคราะห์มากขึ้น ร้านจำหน่ายยาปัจจุบันได้มีแพร่หลายทั่วไปมีการรักษาโรคโดยตรงมากยิ่งขึ้น เพราะสามารถซื้อยาบางจำพวกบริโภคได้เอง ทำให้อุบัติการพิษของยาเพิ่มขึ้นมากมาย เนื่องจากประชาชนทั่วไปทั้งเด็กและผู้ใหญ่ไม่รู้ฤทธิ์ คุณสมบัติ และส่วนประกอบของยา ทำให้การกินยาผิด และการใช้ยาไม่ถูกต้องเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดโทษของยาเพิ่มมากขึ้น นอกจากพิษโดยตรงจากยา อุบัติการแพ้ยาก็เพิ่มสูงขึ้น อัตราอุบัติเหตุกินยาผิด กินยาเกินขนาดจนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นประมาณ ๕ เท่า โดยที่ปี ๒๕๒๖ มีประมาณ ๐.๔๙ ราย ต่อ ประชากรแสนคน เพิ่มเป็น ๒.๘๒ รายต่อประชากรแสนคน ในปี ๒๕๓๓ เนื่องจากยังมีการบริโภคยาโดยไม่จำเป็น ซึ่งต้องการแกไขทัศนคติโดยส่วนรวม

อาหาร

ประช่าชนเริ่มมีความรู้ เลือกกินอาหารที่ถูกต้อง กินสารอาหารครบถ้วน และเริ่มสนใจเกี่ยวกับสารอาหารและวิตามินมากขึ้น ในกรุงเทพฯ เริ่มมี ร้านจำหน่ายสารอาหารโดยเฉพาะ ครอบครัวที่มี

ตารางที่ ๒ การเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการใน เด็กอายุต่ำกว่า ๕ ปี ระหว่างปี ๒๕๒๕-๒๕๓๓

 

พ.ศ.

เด็กขาดสารอาหาร (ร้อยละ)

ระดับ ๑

ระดับ ๒

ระดับ ๓

๒๕๒๕

๓๕.๖๖

๑๓.๐

๒.๑๓

๒๕๒๙

๒๒.๒๙

๓.๐๖

๐.๑๑

๒๕๓๓

๑๘.๔๐

๐.๘๕

๐.๐๑

 

เศรษฐฐานะดีและสนใจเริ่มให้สารอาหารแก่ทารก และเด็ก ผลระยะยาวเป็นเช่นใดยังไม่สามารถประเมินได้ ในปัจจุบันยังไม่มีผลใดปรากฏเด่นชัด

ภาคเหนือ ในอดีตมีอุบัติการโรคต่อมธัยรอยด์ จำนวนมาก ปัจจุบันได้มีการเพิ่มสารไอโอดีนในเกลือที่บริโภคในภาคเหนือ จากโครงการควบคุมโรคขาดสารไอโอดีน ใน ๑๔ จังหวัด ทำให้อุบัติการโรคขาดสารไอโอดีนลดลง ภาคเหนือและจังหวัดเลยได้ดำเนินงานมาเป็นเวลา ๓ ปี ระยะ เวลาระหว่าง ปี ๒๕๓๒-๒๕๓๕ จากการดำเนินงานที่ผ่านมา พบว่าอัตราคอพอกในเด็กนักเรียน โดยรวมลดลงจากร้อยละ ๑๙.๓๑ ในปี ๒๕๓๒ เป็นร้อยละ ๑๖.๗๘ ในปี ๒๕๓๓ และเหลือร้อยละ ๑๔.๘๖ ในปี ๒๕๓๔

ในอดีตประชาชนในภาคอิสานบริโภคอาหารดิบ ๆ สุก ๆ เช่น ลาบ ก้อย ที่ทำจากปลาดิบ ซึ่งเป็นแหล่งแพร่เชื้อพยาธิในตับ ปัจจุบันการสาธารณสุขดีขึ้นมีการประชาสัมพันธ์ให้ทำอาหารให้สุกเสียก่อนบริโภค ทำให้อุบัติการโรคพยาธิใบไม้ตับลดลง มะเร็งตับลดลง ทารกและเด็กไม่เป็นโรคนี้

ในภาคตะวันออก ที่จังหวัดระยอง ได้เกิดโรคพิษสารตะกั่วในผู้ใหญ่และเด็กจำนวนมาก จากการตรวจพบว่ามีสาเหตุจากน้ำบ่อที่บริโภคมีสารตะกั่วเจือปน เนื่องจากขุดบ่อน้ำในย่านกองขยะเก่า การเกิดพิษดังกล่าวเกิดจากปัญหาจากสิ่งแวดล้อม และจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นไม่สามารถขจัดขยะที่มีอยู่มากมายได้

อาหารเป็นสิ่งจำเป็นในการเจริญเติบโตของทารกและเด็ก และเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตของมนุษย์นับตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิในครรภ์มารดา ความรู้เกี่ยวกับอาหารและโภชนาการของเด็กแม้จะมีมานานแล้วก็ตาม แต่วิวัฒนาการปรากฏในระยะหลังได้ความรู้ใหม่ ๆ ทางวิทยาศาสตร์และเทคโน โลยีสามารถได้ความกระจ่างเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของเซลล์แทบทุกระบบ สังคมได้เปลี่ยนแปลงไปมากมาย จำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น แม้ประเทศจะสามารถผลิตอาหารและสารอาหารได้เพียงพอที่จะบริโภคในประเทศ และยังสามารถส่งไปขายต่างประเทศด้วย แต่ทารกและเด็กยังคงมีการขาดสารอาหารอยู่ แม้อุบัติการจะน้อยลง จากการรายงานผลการเฝ้าระวังและติดตามทางโภชนาการ ระยะปี ๒๕๒๕-๒๕๓๓ พบว่าอัตราเด็กอายุตากว่า ๕ ปี มีภาวะขาดสารอาหารลดลงจากร้อยละ ๕๐ ในปี ๒๕๒๕ เหลือร้อยละ ๒๕ ในปี ๒๕๒๙ และลดลงเหลือร้อยละ ๑๙ ในปี ๒๕๓๓ และความรุนแรงก็ลดน้อยลงด้วย อาหารการกินได้มีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตมนุษย์ไป แม้จะเป็นการเริ่มต้น แต่การเปลี่ยนแปลงได้เริ่มปรากฏการพัฒนาการเลี้ยงวัว นำมารีดนม ทำให้นมและผลผลิตของนมเป็นอุตสาหกรรมหลายอย่าง เช่น อุตสาหกรรมนมกล่อง นมผง ช็อกโกแลต และอาหารอื่น ทำให้ทารก และเด็กมีอาหารที่มีคุณค่าหลายอย่างให้เลือกทำให้อัตราการขาดสารอาหารของทารกและเด็กลดลง ต่อมาได้มีการเลี้ยงวัวเพื่อใช้เนื้อเป็นอาหารบริโภค ทางการแพทย์พบว่าไขมันเนื้อสัตว์หากบริโภคมากเกินไปเป็นประจำ ทำให้ผู้บริโภคมีอุบัติการโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันเพิ่มมากขึ้น อายุเฉลี่ยของ ประชากรที่บริโภคเนื้อเป็นอาหารจะสั้นกว่าประชากรที่บริโภคอาหารมังสะวิรัติหรือผักแต่เพียงอย่างเดียว พฤติกรรมบริโภคเริ่มเปลี่ยนแปลงไปเริ่มต้นจากคนลดไม่กินเนื้อสัตว์เลยกินแต่นมและไข่ บางกลุ่มไม่กินเนื้อสัตว์เลย ไม่กิน ไข่ กินแต่นม บางกลุ่มเคร่งครัดมากไม่กินทั้งเนื้อสัตว์ ไข่และนมเลย ยิ่ง ไปกว่านั้นที่เคร่งครัดมากที่สุดได้แก่ พวกที่ไม่กินเนื้อสัตว์ ไข่ นม และแม้แต่ผักที่มีกลิ่น เช่น หอม กระเทียม ตะไคร้ ฯลฯ. กลุ่มชนเหล่านี้เริ่มกิจกรรม และค่อย ๆ แผ่ขยายกว้างออกไป เริ่มต้นจากการจัดทำเป็นเทศกาล ๑ สัปดาห์ต่อปีเช่น เทศกาลกินเจที่ภูเก็ต กลุ่มชนพวกนี้หากกินผักแต่เพียงอย่างเดียวจะขาดสารอาหารโปรเทอิน แต่ได้ชดเชยสารอาหารโปรเทอิน ด้วยพืชจำพวกถั่วแทน จึงไม่มีปัญหาต่อสุขภาพ การเปลี่ยนแปลงเริ่มต้นและมีแนวโน้มว่าค่อยๆ มากขึ้น พฤติกรรมเหล่านี้ย่อมมีอิทธิพลต่อทารกและเด็กที่ไม่สามารถจัดหาอาหารเองได้ ต้องบริโภคตามบิดามารดาและคนในครอบครัว ความเคยชินต่างๆ เหล่านี้ค่อยๆ เปลี่ยนอุปนิสัยในการบริโภคของเด็ก นอกจากนั้นทางการแพทย์ยังพบว่าเกลือหรืออาหารเค็มทำให้เกิดโรคความดันเลือดสูงในผู้ใหญ่ การประชาสัมพันธ์ทางการแพทย์ ให้ความรู้แก่ประชาชนแนะนำไม่ให้เติมเกลือลงในอาหารทารกและเด็ก ไม่ให้ทารกและเด็กเคยชินกับอาหารรสจัดทำให้เด็กเมื่อโตขึ้นไม่บริโภคอาหารเค็ม เป็นการช่วยลดอันตรายจากโรคความดันเลือดสูง เมื่อโตขึ้นหรือเมื่อเป็นผู้ใหญ่

การพัฒนาทางสังคมได้เปลี่ยนคติชีวิตและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างมาก การขนส่ง การใช้รถเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งของประชาชนในกรุงเทพฯ ขณะที่พื้นที่ถนนไม่ได้เพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากร จำเป็นต้องเสียเวลาส่วนหนึ่งของชีวิตไปกับการเดินทาง เด็กวัยเรียนในกรุงเทพฯ ได้รับผลจากสังคมนี้เช่นเดียวกัน ก่อให้เกิดผลกระทบคือ เด็กได้รับการหลับนอนไม่เพียงพอ อยู่ในภาวะอดนอนเรื้อรัง เรียนหนังสือไม่รู้เรื่อง มึนงง หงุดหงิด ผลการเรียนไม่ดีเท่ากับความรู้ความสามารถของเด็ก นอกจากนั้นภาวะที่บีบบังคับเด็กบางคนจำเป็นต้องกินอาหารเช้าในรถ อยู่กับบิดามารดาที่เคร่งเครียดที่จะฝ่าการจราจรส่งบุตรไปโรงเรียนให้ทันในตอนเช้า เด็กเองก็พกความเครียดไปโรงเรียน ความสบายสนุกสนาน เล่นตามปรกติวิสัยเด็กหมดไป มีแต่ความเครียดแทนที่ผสมกับการนอนที่ไม่เพียงพอทำให้เด็กไม่ได้เจริญเติบโตด้านความคิด สมอง เหมือนเด็กสมัยก่อน นอกจากนั้นการแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้น การสอบแข่งขันแสดงความพร้อมที่จะเข้าเรียนในโรงเรียนตั้งแต่อนุบาล ชั้นประถมและชั้นมัธยม เพิ่มความเครียด และความรู้สึกในการแข่งขันมากขึ้นตามลำดับ แทนการพัฒนาความคิดทางปัญญาตามลำดับขั้นตอน การแข่งขันทำให้ความอ่อนโยนเห็นอกเห็นใจผู้อื่นลดน้อยลง เพื่อความอยู่รอดของตนเอง การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจมองไม่เห็นด้วยตาในระยะแรก แต่ในระยะหลังจะส่งผลสู่เด็กที่จะเป็นกำลังของชาติต่อไป

บิดา มารดา เหลือเวลาน้อยลงที่จะดูแลเด็ก โทรทัศน์กลับมีอิทธิพลต่อการพัฒนาความคิดของเด็ก เด็กได้เห็นตัวอย่างจากโทรทัศน์ การพัฒนา คำพูด การแต่งตัวล้วนได้มาจากเพื่อนและโทรทัศน์ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นผลจากอิทธิพลสิ่งแวดล้อมโดยตรง

เวลาของเด็กที่มีอยู่น้อยลงได้แบ่งไปใช้ในการเดินทาง วัยเด็กเป็นช่วงระยะแรกระยะหนึ่งของชีวิต เวลาพักผ่อนหย่อนใจน้อยลง เด็กไม่ได้เล่นวิ่งเล่น ออกกำลังกาย ซึ่งเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อความสัมพันธ์การควบคุมกล้ามเนื้อ สมาธิในการควบคุม

แม้ภาวะสิ่งแวดล้อมจะเปลี่ยนแปลงไป อันควรมีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็ก แต่โดยทั่วไปเด็กทั่วประเทศไม่ได้มีความสูงเพิ่มอย่างชัดเจน เด็กชายไทยในกรุงเทพฯ ปี ๒๕๑๘ และเด็กชายไทยทั่วประเทศ ปี ๒๕๒๘ เมื่ออายุ ๑๘ ปี มีส่วนสูงไม่เปลี่ยนแปลงเฉลี่ยสูง ๑๖๕ ซม. เท่ากัน เด็กหญิงไทยกรุงเทพฯ ปี ๒๕๑๘ และเด็กหญิงไทยทั่วประเทศ ปี ๒๕๒๘ ที่มีอายุ ๑๘ ปี มีส่วนสูงไม่แตกต่างกันโดยมีส่วนสูงเฉลี่ย ๑๔๔ ซม. แต่น้ำหนักทั่งเด็กชายและหญิงมีน้ำหนักเฉลี่ยเพิ่มขึ้น เมื่อ

ตารางที่ ๓ เปรียบเทียบส่วนสูง (ซม.) ของเด็กไทย ในปี ๒๕๑๘ และปี ๒๕๒๘ กับเด็กที่มีเศรษฐฐานะดี

อายุ

ชาย

หญิง

๒๕๑๘

กรุงเทพฯ

๒๕๒๘ ทั่วประเทศ

๒๕๒๘ เศรษฐฐานะดี

๒๕๑๘

กรุงเทพฯ

๒๕๒๘ ทั่วประเทศ

๒๕๒๘ เศรษฐฐานะดี

แรกคลอด

๕๐.๐

๕๐.๕

๕๐.๕

๕๐.๕

๕๐.๒

๕๐.๕

๖ปี

๑๑๑.๒

๑๑๑.๖

๑๑๔. ๕

๑๑๐.๕

๑๑๐.๘

๑๑๓.๐

๑๒ ปี

๑๓๙.๘

๑๕๑.๓

๑๔๓.๕

๑๔๓. ๑

๑๔๕.๐

๑๔๖.๕

๑๘ ปี

๑๖๕. ๑

๑๖๕.๓

๑๗๑.๐

๑๕๔. ๑

๑๕๔.๕

๑๕๗.๕

 

ตารางที่ ๔ เปรียบเทียบน้ำหนัก (กก.) ของเด็กไทย ในปี ๒๕๑๘ และปี ๒๕๒๘ กับเด็กที่มีเศรษฐฐานะดี

อายุ

ชาย

หญิง

๒๕๑๘

๒๕๒๘

๒๕๒๘

๒๕๑๘

๒๕๒๘

๒๕๒๘

กรุงเทพฯ

ทั่วประเทศ

เศรฐฐานะดี

กรุงเทพฯ

ทั่วประเทศ

เศรษฐฐานะดี

แรกคลอด

๓.๐

๓.๐

๓.๑

๓.๐

๓.๑

๓.๑

๖ ปี

๑๗.๒

๑๘.๐

๑๙.๐

๑๖.๘

๑๗.๙

๑๘.๐

๑๒ ปี

๒๙.๑

๓๒.๑

๓๒.๘

๓๒.๕

๓๕.๔

๓๘.๕

๑๘ ปี

๕๐.๔

๕๓.๑

๕๘.๐

๔๕.๕

๔๗.๕

๔๗.๐

 

อายุ ๑๘ ปี เด็กชาย ปี ๒๕๑๘ มีน้ำหนักเฉลี่ย ๕๐.๔ กก. ปี ๒๕๒๘ มีน้ำหนักเฉลี่ย ๕๓.๑ กก. เด็กหญิงอายุ ๑๘ ปี เมื่อปี ๒๕๑๘ เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กหญิงอายุ ๑๘ ปี เมื่อปี ๒๕๒๘ มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น ๒ กก. (ตารางที่ ๓ และ ๔)

หากเทียบเด็กกรุงเทพฯ เด็กทั่วประเทศ กับเด็กที่มาจากครอบครัวเศรษฐฐานะดี พบว่าเด็กทั้งชายและหญิงจากครอบครัวเศรษฐฐานะดีมีนํ้าหนัก มากกว่าและส่วนสูงสูงกว่าเด็กกรุงเทพฯ เมื่อ ปี ๒๕๑๘ และเด็กทั่วประเทศ เมื่อ ปี ๒๕๒๘ อย่างเห็นได้ชัด (ตารางที่ ๓, ๔) เด็กที่ฐานะดีครอบครัวดูแลใกล้ชิด ได้สารอาหารครบถ้วน ดูแลสุขภาพอนามัยดี มีการให้วัคซีนป้องกันครบถ้วน เด็กจะตัวโตขึ้น สูงขึ้นมากกว่าเด็กที่ด้อยโอกาส

ผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อเด็กที่กล่าวข้างต้น เป็นเพียงตัวอย่างทางกายที่สามารถเปรียบเทียบและมีข้อมูลหลักฐานให้ปรากฏ แต่ผลพวงสิ่ง แวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม ทางด้านจิตใจและสังคมยังไม่มีข้อมูลหลักฐานที่จะสามารถเปรียบเทียบให้ปรากฏเด่นชัดได้ คงต้องรอให้กาลเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ในภายหลัง

สรุ,

การเจริญเติบโตของเด็กอยู่ภายใต้อิทธิพลของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม พันธุกรรมของเด็กไทยไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง หรือเปลี่ยนแปลงน้อยมาก แต่สิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัจจัยทางสังคม เศรษฐฐานะ และปัจจัยทางอาหารได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ส่งผลให้การเจริญเติบโตของเด็กไทยเปลี่ยนแปลงไป คุณภาพของชีวิตและมาตรฐาน ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ด้วยการสุขาภิบาลที่ดีขึ้น ความรู้ทางสุขภาพ และการดูแลรักษาพยาบาล พัฒนาดีขึ้น การให้วัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคแพร่หลายโดยสาธารณสุขขั้นมูลฐาน และการพัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการ เจริญเติบโตของเด็ก เพื่อประเมินอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมต่อการเจริญเติบโตของเด็กให้แน่ชัดได้มีการศึกษาส่วนสูงและน้ำหนักตัวของเด็กไทย พบว่าเด็กที่อยู่ในสังคมเศรษฐฐานะที่ดีที่ส่วนสูงสูงกว่าและน้ำหนักตัวมากกว่าเด็กไทยที่เคยศึกษาไวัในอดีด เด็กไทยอายุ ๑๘ ปี: ชายสูงเฉลี่ย ๑๗๑ ซม. นํ้าหนักตัวเฉลี่ย ๕๘ กก.หญิงสูงเฉลี่ย ๑๕๗.๕ ซม. น้ำหนักตัวเฉลี่ย ๔๗ กก. อัตราการเจริญเติบโตของคนไทยจะดียิ่งขึ้น หากสิ่งแวดล้อมและมาตรฐานความเป็นอยู่ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นในอนาคต

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า