สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

วิธีในการลดระดับคอเรสเตอรอล โดยไม่ต้องใช้ยา

คอเรสเตอรอล เป็น สารในร่างกายที่มีผลให้เกิดโรคทางระบบหลอดเลือด โรคหัวใจ และภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ในการลดระดับคอเรสเตอรอลนั้น ในปัจจุบันนี้มีวิธีการที่แพทย์เลือกใช้ในการรักษาอยู่ 2 ประการ คือ

1.    ให้ยาในกลุ่มทีเรียกกันว่า สแตติน (statins)

2.    เปลี่ยนพฤติกรรมในการดำรงชีวิต อันประกอบไปด้วย การรับประทานอาหาร ,ออกกำลังกาย และพักผ่อน

ทั้งนี้การที่แพทย์จะเลือกวิธีการใดในการรักษานั้น ขึ้นอยู่กับระดับปริมาณของคอเรสเตอรอลในร่างกายผู้ป่วย และความรุนแรงของโรค
ในอเมริกาทุกคนที่เป็นโรคหัวใจ โรคเบาหวาน ซึ่งมีระดับคอเรสเตอรอลชนิดเลว (LDL cholesterol) สูงกว่า 190 และ ผู้มีอายุ 10 ปี  ที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจมากกว่า 7.5 % จะได้รับยาสแตตินเพื่อช่วยในการลดระดับปริมาณคอเรสเตอรอล

แต่สำหรับผู้ที่ไม่ได้มีระดับคอเรสเตอรอลสูงถึงกับต้องใช้ยามาช่วยในการลดระดับอย่างเร่งด่วน สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดำรงค์ชีวิตเพื่อลดระดับคอเรสเตอรอลในร่างกาย ได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

วิธีในการลดระดับคอเรสเตอรอล

ลดคอเรสเตอรอลโดยไม่ใช้ยา

1.    ลดน้ำหนัก

คุณสามารถลดปริมาณของคอเรสเตอรอลได้ด้วยการลดน้ำหนักตัวลงจากเดิม 5-10%

ถึงแม้ว่าการลดน้ำหนักจะเป็นเรื่องยาก แต่คุณสามารถที่จะเริ่มต้นได้ทันทีด้วยการออกกำลังกาย เปลี่ยนมาเดินขึ้นลงบันได แทนใช้ลิฟท์ , รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพแทนอาหารฟาสต์ฟู๊ด เป็นต้น

การออกกำลังกายสม่ำเสมอ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ จะช่วยให้น้ำหนักตัวของคุณเริ่มลดลง ซึ่งจะส่งผลให้คอเรสเตอรอลลดระดับลงด้วยเช่นกัน

2.    เลือกกิน

การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการกินจะส่งผลต่อระดับคอเรสเตอรอลได้อย่างมากมาย

คุณควรเลือกรับประทานอาหาร โดยลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวปริมาณสูง ซึ่งที่เหมาะสมนั้นพลังงานที่คุณได้รับในแต่ละวันควรมาจากไขมันอิ่มตัวน้อยกว่า 7%
เปลี่ยนมารับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ และควรเป็นไขมันชนิดดี ซึ่งได้แก่ไขมันประเภท ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (monounsaturated fat) ที่ได้จาก น้ำมันมะกอก ,ถั่วลิสง และน้ำมันคาโนลา เป็นต้น

หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารทอด อบ ที่ผ่านกระบวนการปรุง โดยใช้น้ำมันที่ผลิตจากการเติมไฮโดรเจนเติมลงไปในน้ำมันพืช เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันถั่วเหลือง เพราะมีกรดไขมันชนิดทรานส์อยู่ ซึ่งหากบริโภคมากไปจะทำให้คอเลสเตอรอลชนิดเลวในเลือดเพิ่มขึ้น

โดยทั่วไปหากคำนวณปริมาณคอเรสเตอรอลในอาหารต่อวันออกมา เราไม่ควรทานเกิน 300 มิลลิกรัม และหากเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคหัวใจ ไม่ควรทานเกิน 200 มิลกรัมต่อวัน

เครื่องในสัตว์ เช่น ตับ ,ไข่แดง ,อาหารทะเล และผลิตภัณฑ์จากนม ล้วนแล้วแต่มีคอเรสเตอรอลสูง ซึ่งควรหลีกเลี่ยงเปลี่ยนไปทานเนื้อสัตว์ส่วนนอก , ผลิตภัณฑ์ทดแทนไข่ (Egg substitutes) และ หางนม

เมล็ดธัญพืชทุกชนิด ผลไม้และผักทั้งหมด สามารถช่วยลดคอเลสเตอรอล อาหารที่อุดมด้วยโอเมก้า 3 สามารถช่วยลดคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี ตัวอย่างอาหารเหล่านี้เช่น ปลาบางชนิด (ปลาแซลมอน ,แมคคาเรล ,แฮริ่ง ,ฯลฯ) ,วอลนัท , อัลมอนด์

3.    ออกกำลังกาย

ออกกำลังกายวันละ 30 นาที หรือตามระยะเวลาที่แพทย์แนะนำ การออกกำลังกายจะช่วยลดปริมาณคอเรสเตอรอลได้

อย่าบอกว่าไม่มีเวลา เพราะคุณสามารถสร้างโอกาสในการออกกำลังกายได้เสมอในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการเดินเล่นหลังอาหารเที่ยง ,ปั่นจักรยานมาทำงาน ,วิ่งตอนเช้าหรือเย็น แม้กระทั่งขณะดูทีวีอยู่ที่บ้าน คุณก็สามารถใช้เวลาดังกล่าวออกกำลังกายได้ด้วยเช่นกัน

4.    เลิกสูบบุหรี่

ทุกคนคงพอจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าบุหรี่มีโทษต่อร่างกาย ทำให้เกิดโรคหัวใจ สุขภาพเสื่อมโทรม ดังนั้นเมื่อคุณเลิกบุหรี่สุขภาพจะดีขึ้น ทำให้ระดับคลอเรสเตอรอลลดลง

5.    ลดปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์

การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากทำให้เกิดโรค ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจล้มเหลว และโรคหลอดเลือดสมอง ด้วยเหตุนี้ผู้หญิงทุกวัยและผู้ชายที่อายุเกิน 65 ปี ไม่ควรดื่มเกิน 1 แก้วต่อวัน สำหรับผู้ชายที่อายุต่ำกว่า 65 ปี ก็ควรจำกัดอยู่ที่ไม่เกิน 2 แก้วต่อวัน แต่ถ้าจะให้ดีจริง ๆ คือ งดดื่มไปเลย

ความบ่อยครั้งในการดื่มแอลกอฮออล์มีผลต่อปริมาณคอเรสเตอรอลในร่างกาย แม้ว่าการเชื่อมโยงดังกล่าวจะไม่ได้มากพอถึงขนาดต้องงดดื่มโดยเด็ดขาด แต่เมื่อคำนึงถึงสุขภาพโดยรวมแล้ว หากเป็นไปได้ ก็ควรงดดื่มหรือจำกัดปริมาณ

การเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ทั้ง 5 ข้อนี้ จะช่วยลดระดับคอเรสเตอรอลได้ ซึ่งแพทย์อาจเลือกแนะนำให้คุณปฏิบัติดังนี้ก่อนในขั้นแรก หากพบว่าปริมาณคอเรสเตอรอลของคุณยังอยู่ในระดับที่ควบคุมได้โดยไม่ใช้ยา แต่ในรายที่รุนแรงแล้วต้องทำควบคู่ไปทั้งใช้ยาและเปลี่ยนพฤติกรรม

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า