สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

ยาที่เกี่ยวกับเลือด

ปัญหาทางโลหิตวิทยา พบได้บ่อย เช่น ซีด, ดีซ่าน, ม้ามโต, ต่อมน้ำเหลืองโต, เลือดออกผิดปกติ เป็นต้น ปัญหาส่วนใหญ่อาจให้การรักษาโดยผู้รู้ แต่ปัญหาบางอย่างจำเป็นต้องได้รับการตรวจรักษาโดยโลหิตแพทย์ เพื่อให้ได้การวินิจฉัยที่แน่นอน และได้รับการรักษาที่ถูกต้อง การให้ยารักษาโดยไม่ถูกต้อง นอกจากทำให้สิ้นเปลือง และอาการของผู้ป่วยไม่ดีขึ้นแล้ว ยังอาจมีอันตรายจากผลข้างเคียงของยาที่ใช้นั้นได้
ยาที่เกี่ยวข้องกับโลหิตวิทยานั้น อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. ยาที่ใช้รักษาโรคระบบโลหิตวิทยา ชนิดต่างๆ
2. ยาที่อาจทำให้เกิดโรคระบบโลหิตวิทยาได้
ยาที่ใช้รักษาโรคระบบโลหิตวิทยานั้น อาจแบ่งได้ดังนี้
ก. ยาทั่วไป
เหล็ก   
1. การให้เหล็กเพื่อรักษาโลหิตจางจากการขาดเหล็กนั้น จำเป็นต้องรักษาสาเหตุด้วย เช่น ให้ยาขับพยาธิ ถ้ามีพยาธิปากขอ เป็นต้น
2. มีผู้เข้าใจว่าเหล็กเป็นยาบำรุงเลือด ซึ่งสามารถรักษาโรคโลหิตจางได้ทุกชนิด แท้ที่จริงได้ผลเฉพาะโลหิตจางจากการขาดเหล็กเท่านั้น โลหิตจางบางอย่าง เช่น ธาลัสซีเมีย มีปริมาณเหล็กในร่างกายมากอยู่ แล้ว เมื่อได้รับเหล็กเข้าไปอีกอาจมีอันตรายจากการสะสมของเหล็กได้ ดังนั้น ถ้าผู้ป่วยที่มีโลหิตจางได้รับเหล็กนานเกิน 1 เดือนแล้ว อาการไม่ดีขึ้นเลย ควรนึกถึงสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดโลหิตจาง ซึ่งไม่ใช่เกิดจากการขาดเหล็ก ควรส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาล
ประโยชน์ที่ใช้
ยาพวกนี้ ใช้รักษาโลหิตจางจากการขาดเหล็ก ซึ่งพบได้บ่อยที่สุดในประเทศไทย เกิดจากมีพยาธิปากขอ หรือมีการเสียเลือดจากทางเดินอาหาร เช่น แผลในกระเพาะ ริดสีดวงทวาร เป็นต้น ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย ทำงานไม่ไหว ซีด ลิ้นเลี่ยนและเล็บอ่อน
รูปของยา ขนาดและวิธีใช้
โดยทั่วไปมีทั้งชนิดฉีดและกินเช่นเดียวกับยาอื่นๆ
ชนิดกิน ได้แก่เกลือของเหลึกในรูปเฟอร์รัส (Ferrous) ซึ่งถูกดูดซึมได้ดีที่สำไส้เล็กส่วนต้น (Duodenum) มีหลายชนิด
เฟอร์รัส ซัลเฟต ชนิดเม็ดๆ ละ 300 มิลลิกรัม มีเหล็ก 60 มิลลิกรัม ชื่อการค้าเช่น เฟอร์-อิน-ซอล (Fer-ln-sol) ซอร์บิเฟอร์ (Sorbifer) เฟอร์รัสซัลเฟต (Ferrous sulfate)
กินครั้งละ 1-2 เม็ด วันละ 3 ครั้ง
เฟอรัส กลูโคเนท (Ferrous gluconate) ชนิดเม็ดๆ ละ 300 มิลลิกรัม มีเหล็ก 36 มิลลิกรัม ชื่อการค้าเช่น เฟอร์กอน (Fergon), เฟอร์ราล (Ferral)
กินครั้งละ1-2 เม็ด วันละ 3 ครั้ง
เฟอร์รัส ฟูมาเรท (Ferrous Fumarate) ชนิดเม็ดๆ ละ 200 มิลลิกรัม มีเหล็ก 60 มิลลิกรัม ชื่อการค้าเช่น เฟอร์ซามาล (Fersamal)
โทเลอรอน (Toleron)
กินครั้งละ 1-2 เม็ด วันละ 3 ครั้ง
ชนิดฉีด มีชื่อในทางการค้าเช่น อิมเฟอรอน (Imferon) ประกอบด้วยเหล็ก 50 มิลลิกรัม ต่อมิลลิลิตร เจ็คโตเฟอร์ (Jectofer) ประกอบด้วยเหล็ก 50 มิลลิกรัม ต่อมิลลิลิตร
การให้ยาที่มีส่วนประกอบของเหล็ก ควรให้ก่อนอาหาร เพราะถูกดูดซึมได้ดีขณะท้องว่าง แต่ถ้ามีการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารมาก ก็อาจให้พร้อมอาหารหรือหลังอาหาร การให้เหล็กในผู้ป่วยทีมีโลหิตจางจากการขาดเหล็ก ผู้ป่วยนักมักมีอาการดีขึ้น หลังได้รับยานาน 2 วัน และระดับฮีโมโกลบินจะเพิ่มสูงขึ้น หลังได้รับเหล็กนาน 1 สัปดาห์ และภายหลังผู้ป่วยหายซีดแล้ว ควรให้เหล็กต่ออีกอย่างน้อย 3 เดือน
ส่วนใหญ่โลหิตจางจากการขาดเหล็กจะหายได้ โดยเหล็กชนิดรับประทาน แต่จะให้เหล็กชนิดฉีด เฉพาะในรายที่ไม่สามารถดูดซึมเหล็กได้ดี เช่น โรคระบบการดูดซึมเสีย(Malabsorption) ภายหลังการผ่าตัดกระเพาะอาหาร, การผ่าต่อกระเพาะอาหารกับลำไส้ส่วนกลาง (Gastrojejunostomy)
อาการที่ไม่พึงประสงค์ของเหล็กชนิดกิน
ทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร เช่น ปวดท้องคลื่นไส้ ท้องเดิน ซึ่งอาจแก้โดยเริ่มให้เหล็กรับประทานขนาดน้อยๆ ก่อน แล้วจึงเพิ่มมากขึ้นหรือเปลี่ยนเป็นใช้เกลือของเหล็กในรูปอื่น
โฟเลท (Folate)
โลหิตจางจากการขาดโฟเลท มักพบในคนสูงอายุ ที่ไม่รับประทานผักดิบ พบได้ไม่ค่อยบ่อยในเมืองไทย
อาจให้ในโลหิตจางฮีโมลัยติค (Hemolytic Ane¬mia) ซึ่งเม็ดเลือดแดงแตกเร็วกว่าปกติทำให้ไขกระดูกต้องสร้างเม็ดเลือดแดงมาแทนที่จำนวนมาก การให้โฟเลทซึ่งจำเป็นในการสร้างเม็ดเลือดแดงจะช่วยให้การสร้างเม็ดเลือดแดงได้ดีขึ้น
ฤทธิ์และอาการที่ไม่พึงประสงค์
พบน้อยมาก อาจมีอาการแพ้ได้ในผู้ป่วยบางราย
รูปของยา ขนาดและวิธีใช้
มีชนิดกิน เม็ดละ 5 มิลลิกรัม ใช้กินวันละ 1-2 เม็ด
อะนาโบลิค ฮอร์โมน (Anabolic hormone)
ยาพวกนี้ออกฤทธิ์กระตุ้นไขกระดูกให้สร้างเม็ดเลือดแดง ใช้รักษาโลหิตจางอะพลาสติค ซึ่งมีอาการซีด เลือดออกง่ายมีจ้ำเลือดตามตัว และมีการติดเชื้อง่ายกว่าปกติ บางรายเกิดหลังได้รับยาและสารเคมีบางชนิด เช่น คลอแรมเฟนิคอล, เฟนิลบิวตาโซน เป็นต้น
ฤทธิ์และอาการที่ไม่พึงประสงค์
ที่อาจพบได้ คือ มีหนวดขึ้น เสียงห้าว ประจำเดือนหยุดในหญิง มีสิวขึ้นมาก อาจมีจุดหนองเกิดขึ้นที่เม็ดสิว มีนมโตขึ้นในผู้ชาย (Gynecomastia) และอาจมีอาการตัวเหลือง ตาเหลืองได้
ข้อควรระวัง
1. ผู้ป่วยที่อมยา เมธีล เทสโตสเตอโรน (Methyl testosterone) เมื่ออมแล้วอย่าถุยน้ำลายทิ้งต้องกลืนลงไป
2. การรักษาโลหิตจางอะพลาสติคด้วย เมธีล เทสโตสเตอโรน (Methyl testosterone) กว่าจะได้ผลต้องกินเวลานานอย่างน้อย 3 เดือน บางรายอาจใช้เวลานานกว่านี้
รูปของยา ขนาดและวิธีใช้
อะนาโบลิคออร์โมน ชนิดกิน เช่น เมธิล เทสโตสเตอโรน (Methyl testosterone) มีชื่อการค้าเช่น เทสโตวิรอน (Testoviron) ชนิดเม็ดๆ ละ 25 มิลลิกรัม
ใช้อมใต้ลิ้น วันละ 3 ครั้ง
ฟลูอ๊อกซีเมสเตอโรน (Fluoxymesterone) หรือ ชื่อทางการค้า เฮโลเทสติน (Halotestin) ขนาดเม็ดละ 5 มิลลิกรัม ออกาโบลิน (Organbolin) ขนาดเม็ดละ 2 มิลลิกรัม รับประทาน วันละ 2 ครั้ง
ข. ยาที่ต้องใช้ด้วยความระมัดระว้งเป็นพิเศษ
1.คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) ใช้ในการรักษาโรคได้หลายชนิด
2. ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulant) ใช้ในโรคที่มีก้อนเลือดอุดตันในหลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนเลือดเป็นไปไม่ได้ดี
ชนิดกิน ได้แก่ คัวมาดิน (Coumadin)
ชนิดฉีด ได้แก่ เฮพพาริน (Heparin)
การใช้ยาทั้งสองชนิดนี้ ต้องสั่งโดยแพทย์ และจะต้องตรวจเลือดเป็นระยะๆ เพื่อติดตามผลของยา การให้ยามากเกินไปหรือไม่ถูกต้อง อาจเป็น อันตรายกับผู้ป่วยถึงชีวิตได้
ฤทธิ์และอาการที่ไม่พึงประสงค์
ที่สำคัญที่สุดคือ การมีเลือดออก อาจมีเลือดออกน้อยหรือออกมากหรือมีเลือดออกในอวัยวะสำคัญ เช่น ในสมองทางเดินอาหาร เป็นต้น ถ้าผู้ป่วยได้รับยามากเกินไป
3. Antiplatelet aggregation ใช้ใน Throm¬boembolic disease เช่นเดียวกัน มีฤทธิ์ต่อต้านการจับกันของเกล็ดเลือด
แอสไพริน ขนาดเม็ดละ 300, 500 มิลลิกรัม วันละ 1,000 มิลลิกรัม
ยาชนิดอื่นๆ ได้แก่ ไดพัยริดาโมล (Dipyrida mole) ซัลฟินพัยราโซน (Sulfinpyrazone) เป็นต้น
4. ยากดอิมมูน เป็นยาที่ใช้รักษามะเร็งเม็ดเลอดขาว มะเร็งของต่อมน้ำเหลือง เป็นต้น ประกอบด้วยยาหลายชนิด เป็นยาอันตรายเพราะมักจะกดไขกระดูกทำให้ผู้ป่วยมีเลือดออกง่าย และมีการติดเชื้อได้บ่อย
ยาที่ทำให้เกิดโรคในระบบโลหิตวิทยา
ยาต่อไปนี้เป็นรายชื่อที่อาจจะทำให้เกิดโรคต่อระบบโลหิตวิทยา ทั้งนี้เป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่า ยานั้นไม่สมควรใช้โดยไม่มีเหตุผลซึ่งอาจจะเกิดโทษได้เกือบทุกชนิด ถ้าไม่ระมัดระวัง หรือศึกษาให้รู้โทษและพิษของมัน
1. ยาที่อาจทำให้เกิดโลหิตจางอะพลาสติค ทำให้มีอาการซีด, เลือดออก ง่าย และมีการติดเชื้อได้บ่อย เม็ดเลือดต่ำทั้งเม็ดเลือดแดง, ขาว และเกล็ดเลือด ที่รู้จักกันเช่น
Acetazolamide
Arsenicals
Barbtturates
Chloramphenicol
Chlordiazepoxide
Meprobamate
Methicillin
Oxazolidones
Potassium perchlorate
Phenyl butazone
Pyrimethamine
Quinacrine
Quinidine, Quinine
Ristocetin
Stibophen
Streptomycin
Sulfamyl compounds
Sulfonamides
Sulfonylurea
Thiazides
Thiocyanate
Thiosemicarbazones Thiouracil
Tripelennamine
2. ยาที่อาจทำให้เกิด Agranulocytosis มีเม็ดเลือดขาวต่ำและมีการติดเชื้อได้บ่อย ได้แก่
Aminopyrines
Ampicillin
Barbiturates
Carbamazepine
Chloramphenicol
Cephalothin
Diazepam
Dapsone
Hydantoin
Indomethacin
INH
Meprobamate
Methicillin
Metronidazole
Nitrofurantoin
Novobiocin
PAS
Penicillamine
Phenacetin
Phenothiazines
Phenylbutazone
Procainamide
Quinine
Gistocetin
Sulfonamide
Sulfonylurea
Thiouracil
Tripelennamine
3. ยาที่อาจทำให้เกิด Thrombocytopenia มีเกล็ดเลือดต่ำ และมีเลือดออกง่าย ได้แก่
Acetaminophen
Acetazol amide
Aminopyrine
Aspirin
Bartiturates
Cephalothin
Carbamazepine
Cho rothiazide
Chlorpheniramine
Diazoxide
Digitalis
Ergot
Erythromycin
Estrogenic hormones
Hydantoin
Heparin
Meprobamate
Phenyl butazone
Sulfonamide
Sulfonylurea
Streptomycin
Tetracycline
4. ยาที่อาจทำให้เกิด Acute hemolysis ในผู้ป่วยภาวะพร่องเอ็นซัยม์ จี-6-พีดี ได้แก่
Aminopyrines
Aspirin
chloramphenicoi
Dapsone
DDS
INH, PAS
Phenacetin
Quinine
Quinidine
Nitrofurantoin
Sulfonamide
Vitamin K
5.  ยาที่อาจทำให้เกิด Immune Hemolytic anemia ได้ เช่น Stibophen, Penicillin, Cephalothin, aldomet เป็นต้น
ที่มา:ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์สุรพล  อิสระไกรศีล

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า