สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

โรคหืด (Asthma)

โรคหืด
ผู้ป่วยโรคหืดในเด็กประมาณครึ่งหนึ่งเริ่มหอบภายในอายุ 2 ปี อาการเริ่มต้นด้วยไอเรื้อรัง ไอมีเสมหะ ไอมากเวลากลางคืน ต่อมาจะเริ่มมีอาการหอบ หายใจลำบาก หายใจมีเสียงวี๊ด อาการเป็นๆ หายๆ เรื้อรัง อาจถูกกระตุ้นด้วยการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ อากาศเปลี่ยน หรือออกกำลังกายมากจนเกินไป อาการอาจจะหายไปได้เอง หรือหายหลังจากได้รับยาขยายหลอดลม

การวินิจฉัยโรค
1. มีประวัติหอบเป็นๆ หายๆ

2. ผู้ป่วยอาจมีประวัติโรคภูมิแพ้อื่นร่วมด้วย เช่น atopic dermatitis, allergic rhinitis

3. มักมีประวัติโรคภูมิแพ้ในครอบครัว

4. ตรวจร่างกาย ในรายที่มีอาการเรื้อรังอาจตรวจพบมีการเพิ่มของ anteroposterior diameter ของหน้าอก ขณะที่หอบผู้ป่วยจะหายใจลำบาก มี prolong expiratory phase และได้ยินเสียง wheezing ทั่วๆ ไป

5. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผู้ป่วยโรคหืด มักให้การวินิจฉัยได้จากการซักประวัติ และการตรวจร่างกาย ส่วนการตรวจทางห้องปฏิบัติการเป็นการช่วยสนับสนุนเท่านั้น

5.1 พบอีโอสิโนฟิลในเลือดขึ้นสูง

5.2 การตรวจเสมหะ อาจพบ Charcot-Leyden crystals หรือ Curschmann’s spirals หรืออีโอสิโนฟิลในเสมหะได้

5.3 Chest  x-ray ในรายเรื้อรังหรือขณะที่หอบ จะพบมี hyper¬inflation

5.4 การทดสอบหาสาเหตุ นอกจากการซักประวัติโดยละเอียดแล้ว การ หาสาเหตุอาจทำได้โดยการทำ skin test

การรักษา
1. ขณะมีอาการหอบ
1.1 Adrenalin 1 : 1000 ขนาด 0.01 มล./น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เข้าใต้ผิวหนังซ้ำได้อีก 2 ครั้งในขนาดเดิม ห่างกัน 15 นาที

1.2 ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นหลังจากฉีด Adrenalin ครั้งที่ 3 ในผู้ป่วยเด็ก ถือว่าผู้ป่วยอาการหนัก ให้รับไว้รักษาในโรงพยาบาลได้เลย

2. การรักษาระยะยาว
2.1 หลีกเลี่ยงจากสิ่งที่เป็นสาเหตุ

2.2 การใช้ยาขยายหลอดลม ที่นิยมใช้กันมี 2 กลุ่ม ซึ่งอาจเริ่มด้วยยา ขยายหลอดลมในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งก่อน หากได้ในขนาดเต็มที่แล้ว ยังควบคุมอาการไม่ได้ดี จึงค่อยเสริมยาในอีกกลุ่มหนึ่งเข้าไป ได้แก่
กลุ่ม xanthine-theophylline (aminophylline) ขนาด 4-6 มก./ น้ำหนักตัว 1 กก. ซ้ำได้ทุก 6 ชั่วโมง ถ้าเป็น short-acting theophylline ใช้ ขนาดตามตาราง
health-0041 - Copy

สำหรับ long-acting theophylline ให้ขนาด 16-24 มก./ กก./24 ชั่วโมง ซ้ำได้ทุก 12 ชั่วโมง

กลุม β2-adrenergic drug ได้แก่
Terbutaline (BricanylR) ขนาด 0.075 มก./น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ซ้ำได้ทุก 6-8 ชั่วโมง หรือ

Salbutamol (VentolinR) ขนาด
อายุ 6-14 ปี 2-6 มก. ทุก 6-8 ชั่วโมง
อายุ 2-6 ปี 0.1-0.2 มก./กก. (สูงสุด 4 มก. ทุก 6-8 ชั่วโมง)

นอกจากยาที่ใช้รับประทาน ยังมียาที่ใช้พ่นเข้าทางระบบทางเดิน หายใจโดยตรง (aerosol) ซึ่งจะใช้เฉพาะในเด็กโตที่ผู้ปกครองมีความรู้ และดูแลเอาใจใส่บุตรดีเท่านั้น ได้แก่ ยาในกลุ่ม β2-adrenergic drug เช่น terbutaline, salbutamol ดังที่กล่าวไปแล้ว และยาในกลุ่ม anticholinergic drug เช่น ipratropium bromide (AtroventR) เป็นต้น

2.3 ในรายที่มีอาการรุนแรงมาก ไม่สามารถควบคุมได้ด้วยยาขยาย
หลอดลมในขนาดที่ถูกต้อง อาจใช้ local corticosteroid ได้แก่ beclomethasone  dipropionate (BecotideR) ในขนาด 100 ไมโครกรัม วันละ 2-4 ครั้ง

2.4 ยาป้องกันการหอบ เช่น disodium cromoglycate และ ketotifen ใช้ในรายที่มีอาการรุนแรง ข้อเสียของยาคือ อาจใช้ไม่ได้ผลทุกราย, ราคาแพง และต้องใช้เป็นระยะเวลานานพอสมควร

ขนาดของยา disodium cromoglycate (IntalR)
สูดครั้งละ 1 cap (20 mg.) ทุก 6 ชั่วโมง

ขนาดของยา ketotifen (ZaditenR)
รับประทานครั้งละ 0.025 มก./กก. วันละ 2 ครั้ง

2.5 Expectorants แนะนำให้ดื่มน้ำมากๆ และอาจใช้ยาขับเสมหะ เช่น mixture Ammon carb et  senegae, mixture Stramonium compound เป็นต้น

3. Immunotherapy
ใช้ในรายที่มีอาการรุนแรง มีสาเหตุจากการแพ้แอนติเจนที่แน่นอน และไม่สามารถหลีกเลี่ยงแอนติเจนชนิดนั้นๆ ได้ เช่น ฝุ่นบ้าน, ตัวไรฝุ่น, เชื้อราในอากาศ เป็นต้น

ที่มา:อารียา  เทพชาตรี

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า