สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

โรคของวิเทรียสฮิวเมอร์

(Diseases of the Vitreous Humour)

กายวิภาคของวิเทรียส ฮิวเมอร

วิเทรียส (Vitreous humour หรือ vitreous body) มีลักษณะเป็นวุ้นใส ๆ (transparent gel) ซึ่งมีปริมาตรประมาณ 4.5 มิลลิลิตร แบ่งออกเบน 2 ส่วน คือ ส่วนกลาง ซึ่งมีลักษณะ เป็น gel แท้ๆ ประกอบด้วย collagen-like fibrous meshwork มี hyaluronic acid และน้ำ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ

อีกส่วนหนึ่ง คือ ส่วนรอบนอกซึ่งล้อมรอบส่วนกลาง (central portion) ส่วนนี้ ประกอบด้วย flat cells ขนาดใหญ่จำนวนเล็กน้อย และมี fibrous network ซึ่งแผ่กระจายเป็นรูป fan-like เข้าสู่ส่วนกลาง

ปกติวิเทรียสจะสัมผัสอยู่กับเรตินาโดยทั่ว ๆ ไป และจะสัมผัสกันแนบแน่นเฉพาะที่ขั้วประสาทตาและบริเวณออราเชอราตาจากเส้นเลือดบนขั้วประสาทตา และเรตินาจะมี diffusional exchange กับวิเทรียส นอกจากนี้น้ำเอเควียสจากช่องหลังม่านตาก็จะ diffuse เข้าสู่วิเทรียสไปยังประสาทตา

เมื่อเกิดการผิดปกติขึ้นแก่วิเทรียสเนื่องจากโรคหรืออายุมากขึ้น หรือจากอุบัติเหตุก็ตาม จะทำให้สมดุลของ water suspension ในวิเทรียสเสียไป วิเทรียสจะเหลวเปลี่ยนจาก gel เป็นของเหลว และอาจเกิดมี fibers หรือ membranes หรือเซลล์ขึ้นในวิเทรียส

Degeneration of Vitreous

1. Liquefaction (Syneresis)

อาจเกิดในคนสูงอายุ หรือจากอุบัติเหตุ หรือการอักเสบภายในลูกตา ทำให้เกิดการเสื่อมของวิเทรียส โดยวิเทรียสบางส่วนหรือทั้งหมดจะกลายเป็นของเหลว การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นจากตรงกลางวิเทรียส และมักจะดึงหรือหดตัวออกจากเรตินาบริเวณด้านบนและด้านหลัง ทำให้เกิด Vitreous detachment

การเกิด liquefaction จะทำให้เกิดมี membrane หรือ strands บาง ๆ ลอยอยู่ใน fluid vitreous เมื่อดูด้วยออพธัลโมสโคป หรือไบโอไมโครสโคป อาจพบว่ามีตะกอนลอยอยู่ ในวิเทรียสเมื่อคนไข้กลอกตาไปมา

2. Vitreous detachment

มักเกิดร่วมกับ synerasis ทำให้เกิดมี membrane ซึ่งมีลักษณะเป็นจุดๆ เล็กๆ เกิดขึ้นระหว่างวิเทรียสกับเรตินา อาจพบในวยกลางคน โดยผู้ป่วยจะสังเกตว่ามี vitreous floaters ขนาดค่อนข้างใหญ่เกิดขึ้นอย่างทันทีทันใดและลอยนิ่งๆ อยู่ในแนวของ fixation point บางรายอาจมองเห็นเป็นแสงคล้ายฟ้าแลบ (photopsia) เกิดขึ้น โดยเฉพาะในขณะหลับตาหรือ อยู่ในห้องมืด เวลาผู้ป่วยกลอกตาเร็ว ๆ จะเห็นคล้ายแสงฟ้าแลบ เนื่องจากวิเทรียสกระแทกบน เรตินา ถ้าตรวจด้วยไบโอไมโครสโคปจะพบ membrane และ floater อยู่ทางด้านหลังของวิเทรียสและด้านหน้าของเรตินา ต่อม่านนัยน์ตาอีกข้างหนึ่งอาจเกิดอาการนี้ขึ้นได้ภายในไม่กี่เดือน โรคนี้อาจค่อย ๆ หายไปได้เองโดยไมต้องรักษา

3. Vitreous shrinkage

เป็น destructive phenomenon เนื่องจากการหดตัวของวิเทรียส ซึ่งอาจทำให้เกิด การดึงต่อเรตินาบริเวณที่ติดอยู่กับวิเทรียส ถ้าการหดตัวเกิดขึ้นที่บริเวณมาคูลาจะทำให้มีอาการของ central flash of light และอาจทำให้เกิด macular cyst ถ้าการหดตัวเกิดขึ้นในบริเวณ ออรา เชอราตาอาจทำให้เรตินาขาดเป็นรู หรือเกิดการหลุดลอกของเรตินาในบริเวณนั้

4. Vitreous Opacities

อาจเกิดขึ้นได้ 2 อย่าง คือ

1 .Exogenous materials เช่น ตัวพยาธิ หรือสิ่งแปลกปลอมที่ปลิวทะลุเข้าไปในตา

2. Endogenous substances เช่น cellular elements ซึ่งเกิดจากเลือด หรือ ocular contents เช่น pigment, exudates, tumour cells, cholesterol หรือพวก calcium salt

อาการของโรคขึ้นอยู่กับตำแหน่งของตะกอน และจำนวนกับความทึบของตะกอนที่เกิดขึ้น ถ้าตะกอนมีมากก็อาจทำให้สายตามัวได้

1. Muscae volitantes

ประกอบด้วย fine aggregates ของพวกโปรตีนของวิเทรียส ซึ่งอาจพบได้ในคน ทั่วไป ผู้ป่วยจะมองเห็นตะกอนเป็นจุดๆ คล้ายตัวแมลง หรือเป็นเส้นๆ คล้ายใยแมงมุมลอยอยู่ตรงหน้า โดยเฉพาะเมื่อมองในที่สว่างๆ เช่น ท้องฟ้า หรือกระดาษ หรือกำแพงสีขาวๆ จุดตะกอน (floaters) ที่เห็นจะลอยไปมาอยู่ในลานสายตา แต่เมื่อผู้ป่วยพยายามจะเพ่งดูที่จุดเหล่านี้ตรง ๆ มันก็จะออกนอกลานสายตาไป โรคนี้อาจพบในคนที่มีสายตาผิดปกติ ดังนั้นจึงต้องแก้ด้วยแว่นสายตา

2. Vitreous haemorrhage

อาจพบเกิดจากอุบัติเหตุ การอักเสบ การเกิดเส้นเลือดใหม่ที่เกิดขึ้นในลูกตา จาก rupture ของ subhyaloid haemorrhage เช่น ใน hypertensive หรือ diabetic retinopathy หรือจาก subarachnoid haemorrhage นอกจากนี้อาจพบเป็นอาการระยะแรกของ retinal hole หรือเรตินาหลุดลอก อาการของเลือดออกในวิเทรียส คือ สายตามวลงอย่างรวดเร็วสุดแต่เลือดออกจะมากหรือน้อย ในรายที่มีเลือดออกมากๆอาจถึงตาบอดสนิท ในวัยหนุ่มสาวที่ออก มาอาจดูดซึมได้เร็วและสายตากลับดีอย่างเดิม แต่ในคนสูงอายุการดูดซึมจะไม่ดีเท่าคนหนุ่มสาว ในบางรายอาจมี fibroplastic organization ขึ้นที่ในวิเทรียส เช่น ในเลือดออกในวิเทรียส ที่เกิดจากโรคเบาหวาน ทำให้เกิด proliferative retinitis retinitis (proliferans) ตามมา ซึ่ง อาจทำให้เกิดเรตินาหลุดลอกต่อมาได้

3. Asteroid hyalosis

มักพบในคนอายุประมาณ 60 ปี และอาจไมมีอาการอย่างใด เมื่อตรวจด้วยออพธัล โมสโคปจะพบตะกอนเป็นสีขาว ๆ คล้ายครีม และถ้าดูด้วยไบโอไมโครสโคปจะเห็นมีลักษณะสะท้อนแสง อาจเกิดขึ้นบางส่วนหรือทั้งหมดของวิเทรียสก็ได้ และมักเป็นข้างเดียว ตะกอนประกอบด้วยพวก calcium-containing lipid ซึ่งเกิดจากการเสื่อมของ vitreous fibrils

4. Synchysis scintillans

คือลักษณะซึ่งวิเทรียสเกิด liquefaction และมีพวกผลึก (crystals) ของ cholesterol จำนวนมาก อาจพบในตาที่เคยเป็นโรคยูเวียอักเสบบ่อยๆ หรือมีเลือดออกในวิเทรียส และเกิด การเสื่อมขึ้นใน fluid vitreous body อาจพบข้างเดียวหรือสองข้างแล้วแต่โรคของนัยน์ตาที่เป็นมาก่อน ปกติพวกผลึกเหล่านี้จะตกตะกอนโดยความถ่วง แต่เมื่อผู้ป่วยกลอกตามันก็จะลอยขึ้นมาเต็มในลูกตาแลวค่อยๆ ตกตะกอนลงไปใหม่ ถ้าตรวจดูดวยออพธัลโมสโคปหรือไบโอ ไมโครสโคปจะเห็นเป็นผลึกสีขาว ๆ สะท้อนแสงคล้ายกากเพชรหรือปุยหิมะลอยอยู่ในวิเทรียส

หมายเหตุ โรคต่าง ๆ ของวิเทรียสเหล่านี้สวนมากไมมีการรักษา นอกจากบางโรคที่ อาจป้องกันไมให้เป็นมากขึ้น เช่น ในโรคที่มีเลือดออกในวิเทรียส จากการเกิดเส้นเลือดใหม่ (neovascularization) ภายในลูกตา อาจทำ Photocoagulation ที่เส้นเลือดเหล่านั้น เพื่อป้องกันเลือดออกใหม่ซ้ำ หรือในรายที่พบว่ามีเรตินาทะลุหรือฉีกขาด หรือการหลุดลอกของเรตินาก็ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อป้องกันไม่ให้สูญเสียสายตามากขึ้น

,

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า