สำหรับผู้ใส่ใจในการรักษาสุขภาพ ทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพจิต

การวางแผนการให้โภชนบำบัดในผู้ที่เป็นโรคอ้วน

1.  กำหนดพลังงานอาหารที่รับประทานให้เหมาะสม เพื่อให้ผู้ที่เป็นโรคอ้วนสามารถ ควบคุมนํ้าหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่ควรเป็น โดยลดนํ้าหนักตัวให้ได้ประมาณ 5-10% ของนํ้าหนักที่เป็นอยู่ในขั้นแรก และรักษานํ้าหนักที่ลดให้ได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งปรับวิถีการดำเนินชีวิตให้ถูกต้อง และเหมาะสมจะช่วยลดภาวะแทรกซ้อนของโรคอ้วนได้ การให้โภชนบำบัดในการรักษาโรคอ้วนใช้หลักการของ National Institute of Health ดังแสดงในตารางที่ 6

2.  กำหนดปริมาณโปรตีนประมาณ 10-20% ของพลังงานโดยเน้นแหล่งของโปรตีน จากเนื้อสัตว์ที่มีไขมันน้อย ปลาไก่ ถั่วเมล็ดแห้งและผลิตภัณฑ์จากถั่วเมล็ดแห้ง

3.  กำหนดปริมาณไขมันขนิดของไขมันและคอเลสเตอรอลให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลซึ่งขึ้นอยู่กับระดับไขมันในเลือดของแต่ละคน ผู้ที่มีความผิดปกติของระดับไขมันในเลือดควรควบคุมระดับไขมันในเลือด โดยใช้หลักการของ TLC Diet (Therapeutic Lifestyle Changes Diet) ร่วมด้วย

4.  กำหนดปริมาณคาร์โบไฮเดรดประมาณ 50% ของพลังงาน โดยใช้รายการอาหารและเปลี่ยนอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนร่วมในการวางแผนอาหาร

5.  ลดปริมาณโซเดียมในอาหารสำหรับผู้ที่มีปัญหาความดันโลหิตสูง ลดโซเดียมให้น้อยกว่า 2.4 กรัม หรือเท่ากับเกลือ 6 กรัม

6.  ติดตามประเมินการบริโภคไขมันในผู้ที่มีระดับไขมันในเลือดสูง

7.  กำหนดและดัดแปลงอาหารให้เหมาะสมกับอาหารในท้องถิ่นของผู้ที่เป็นโรคอ้วน ให้รับประทานเป็นประจำ

ตารางที่ 6 โภชนบำบัดสำหรับการลดนํ้าหนัก

สารอาหาร

ปริมาณที่ควรบริโภคต่อวัน

พลังงงาน, กิโลแคลอรี ลดลง ~500-1000 กิโลแคลอรีจากพลังงานปกติ
ไขมัน, % พลังงาน ≤30
ไขมันอิ่มตัว (SFA), % พลังงาน 8-10
ไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง (PUFA), % พลังงาน 10
ไขมันไม่อิ่มตัวหนึ่งตำแหน่ง (MUFA), % พลังงาน 15
คาร์โบโฮเดรต, % พลังงาน  ≥55
โปรตีน, % พลังงาน 15
คอเลสเตอรอล, มิลลิกรัม < 300
ใยอาหาร, กรัม 20-30
โซเดียม, กรัม < 2.4 หรือ เกลีอ 6 กรัม
แอลกอฮอล์ ผู้หญิง 1 drink, ผู้ชาย 2 drinks

ที่มา : Expert Panel on the Identification. Evaluation, and Treatment of Overweight and obesity in adults 1998

ผู้ที่มีความผิดปกติของระดับไขมันในเลือด ควรให้โภชนบำบัดตามหลักการของTherapeutic Lifestyle Change Diet (TLC diet) ดังแสดงในตารางที่ 7 ร่วมกับการลดปัจจัยเสี่ยง เช่น เพิ่มการออกกำลังกาย ลดนํ้าหนักตัว ลดความเครียด ลดการดื่มสุราและสูบบุหรี่ จะสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของไขมันในเลือดและโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศ และเป็นปัญหาที่มักพบในผู้ที่เป็นโรคอ้วนและโรคเบาหวาน

ตารางที่ 7 โภชนบำบัดในผู้ที่มีระดับไขมันในเลือดสูง

สารอาหาร

ปริมาณที่ควรบริโภคต่อวัน

ไขมัน, % พลังงาน 25-35
ไขมันอิ่มตัว (SFA), % พลังงาน < 7
ไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง (PUFA)), % พลังงาน 10
ไขมันไม่อิ่มตัวหนึ่งตำแหน่ง (MUFA)), % พลังงาน  ≥20
คาร์โบไฮเดรต, % พลังงาน 50-60
โปรตีน, % พลังงาน 15
ใยอาหาร, กรัม 20-30
คอเลสเตอรอล, มิลลิกรัม < 200
พลังงาน เพื่อรักษานํ้าหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่ควรเป็นเป็น

ที่มา : Expert Panel on Detection, Evaluation, and Treatment of High Blood Cholesterol in Adults, 2001,

ตารางที่ 8 อาหารที่ควรรับประทานและควรหลีกเลี่ยงสำหรับผู้ที่เป็นโรคอ้วน

อาหารเพื่อสุขภาพที่ควรรับประทานบ่อย

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงหรือไม่รับประทานเป็นประจำ

หมวดข้าวแป้ง-ธัญพืชข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ วุ้นเสัน ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง Whole wheat,ข้าวโพดต้ม Mash potato, Bake potato ข้าวขาว ข้าวไม่ขัดสี ข้าวผัด ข้าวมัน ข้าวเหนียวมูล ขนมปังขาว French fries Potato chip, ข้าวโพดอบเนย
หมวดผักผักสด ผักที่ปรุงโดยใช้นํ้ามันน้อย ผักชุบแป้งทอด ผักดองหวาน-เค็ม
หมวดผลไม้ผลไม้สด ผลไม้กระป๋องที่มีนํ้าตาลน้อย ผลไม้กวน ผลไม้แช่อิ่ม ผลไม้ดอง กล้วยแขก ผลไม้หวานจัด ผลไม้กระป๋องที่มีนํ้าตาลมาก กล้วยทอด กล้วยบวดซี
หมวดเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ปลา ไก่ สันในหมู สันในไก่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน Low fat cheese. Skim cheese เนื้อสัตว์ปรุงโดยการต้ม นึ่ง ย่าง ลวก ยำ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วแดง และผลิตภัณฑ์เต้าหู้อ่อน เต้าหู้แข็ง เครื่องใน หนังหมู หนังไก่ เนื้อสัตว์ทอด หมูทอด ไก่ทอด Regular cheese ขาหมู ไส้กรอก เบคอน
หมวดไขมันนํ้ามันพืช นํ้ามันถั่วเหลือง นํ้ามันรำข้าว นํ้ามันข้าวโพด นํ้ามันดอกทานตะวัน นํ้ามันมะกอก นํ้ามันปาล์ม นํ้ามันหมู นํ้ามันไก่ หนังหมู หนังไก่ กะทิ เนย ครีมเทียม
หมวดนมนมขาดไขมัน นมพร่องไขมัน โยเกิร์ตรสธรรมชาติ นมสดธรรมดา นมหวานรสต่างๆ โยเกิร์ตรสผลไม้

การควบคุมอาหารสำหรับผู้เป็นโรคอ้วนให้ได้ผลดีนั้น ควรควบคุมอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง ควรมีวินัยในการบริโภคอาหาร รับประทานอาหารให้ตรงตามเวลา ไม่รับประทานจุกจิก ควบคุมปริมาณอาหารและสารอาหาร และที่สำคัญต้องลดอาหารประเภทไขมัน นํ้าตาล ของหวานให้น้อยลง หลีกเลี่ยงนํ้าอัดลม นํ้าหวาน เครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ รวมถึงการสูบบุหรี่ ซึ่งเป็นต้นเหตุร้ายของโรคแทรกซ้อนบริโภคอาหารประเภทโปรตีนที่เหมาะสม เช่น ปลา ถั่วเมล็ดแห้ง เพิ่มการรับประทานผักให้มากขึ้น และรับประทานผลไม้ที่ไม่หวานแต่พอควร ประกอบกับการออกกำลังกายอย่างสมํ่าเสมอ

การกำหนดแบบแผนการบริโภคอาหารสำหรับผู้ที่เป็นโรคอ้วน

การกำหนดแบบแผนการบริโภคอาหารสำหรับผู้ที่เป็นโรคอ้วนเป็นหน้าที่โดยตรงของ นักโภชนาการหรือนักกำหนดอาหาร ซึ่งต้องใช้รายการอาหารแลกเปลี่ยน ดังแสดงไว้ในตารางที่ 9 รายการอาหารแลกเปลี่ยนเป็นเครื่องมือและข้อมูลสำคัญที่ใช้ประกอบในการกำหนดและคำนวณ อาหารสำหรับผู้ที่ป็นโรคอ้วน โดยคำนึงถึงภาวะโภชนาการและบริโภคนิสัยองผู้ที่เป็นโรคอ้วน แต่ละบุคคลเป็นเกณฑ์สำคัญในการกำหนดแบบแผนอาหาร

ตารางที่ 9 คุณค่าอาหารในรายการอาหารแลกเปลี่ยนไทย

หมวดอาหาร ปริมาณ โปรตีนกรัม ไขมันกรัม คาร์โบไฮเดรตกรัม พลังงานกิโลแคลอรี
1. หมวดข้าว-แป้ง ½ – 1 ทัพพี 2 18 80
2. หมวดผัก
ประเภท ก ½ – 1 ถ้วยตวง
ประเภท ข ½ – 1 ถ้วยตวง 2 5 25
3.  หมวดผลไม้ ½ – 1 ถ้วยตวง 15 60
4.  หมวดเนื้อสัตว์
ก. เนื้อสัตว์ไขมันต่ำมาก 30 กรัม 7 0-1 35
ข. เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ 30 กรัม 7 3 55
ค. เนื้อสัตว์ไขมันปานกลาง 30 กรัม 7 5 75
ง. เนื้อสัตว์ไขมันสูง 30 กรัม 7 8 100
5. หมวดนม
นมธรรมดา 240 มล. 8 8 12 150
นมพร่องมันเนย 240 มล. 8 5 12 120
นมขาดมันเนย 240 มล. 8 0-3 12 90
6. หมวดไขมัน 1 ช้อนชา 5 45

ที่มา : สมาคมนักกำหนดอาหาร, 2545

สรุปสถานการณ์การกินอาหารและพฤติกรรมการกินที่ปรับเปลี่ยนไปของคนไทยเป็นสิ่งที่ควรมีการรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนคนไทยหันกลับไปมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสามารถให้ความรู้และคำแนะนำปรึกษาด้านโภชนาการ รวมทั้งติดตามประเมินผลการปรับ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร ซึ่งจะลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วนและโรคอ้วนลงพุง เมตาโบลิกซินโดรม และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในเรื่อง “เมืองไทยแข็งแรง”

,

↑ กลับสู่ส่วนบนของหน้า